เนื้อหาวันที่ : 2007-04-03 10:42:31 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1075 views

สศอ.คลอดแผนพัฒนา ภาคอุตฯ อัดงบฯ752 ล้าน ยกเครื่อง 13 อุตฯ

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเตรียม เสนอแผนแม่บทเพิ่มประสิทธิภาพ-ผลิตภาพอุตสาหกรรม ขออนุมัติงบฯจาก ครม."ขมิ้นอ่อน" 752 ล้านบาท ติวเข้ม 13 อุตสาหกรรม เน้นปฏิบัติการ 5 ด้านหลัก บุคลากร-จัดการภายในโรงงาน-ปรับปรุงเครื่องจักร-ลอจิสติก-สร้างเครือข่ายธุรกิจ หวังช่วยเอสเอ็มอีพัฒนาธุรกิจ

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเตรียม เสนอแผนแม่บทเพิ่มประสิทธิภาพ-ผลิตภาพอุตสาหกรรม ขออนุมัติงบฯจาก ครม. 752 ล้านบาท ครอบคลุม 13 อุตสาหกรรม เน้นปฏิบัติการ 5 ด้านหลัก บุคลากร-จัดการภายในโรงงาน-ปรับปรุงเครื่องจักร-ลอจิสติก-สร้างเครือข่ายธุรกิจ หวังช่วย SMEs พัฒนาธุรกิจ

.

นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" เกี่ยวกับแผนแม่บทเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมว่า ขณะนี้ได้ข้อสรุปเบื้องต้นของการทำแผนแล้ว โดยการดำเนินการครอบคลุมทั้งสิ้น 13 อุตสาห กรรม ใช้งบประมาณในการดำเนินการประมาณ 752 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้ทันภายในวันที่ 12 เมษายน 2550 ตามกรอบเวลาของการเสนอ งบประมาณประจำปี 2551 ของหน่วยงานราชการ

.

ทั้งนี้ งบประมาณดังกล่าว แบ่งการดำเนินการออกเป็น 13 อุตสาหกรรม ประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหาร 117 ล้านบาท, ยานยนต์และชิ้นส่วน 105.43 ล้านบาท, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอ นิกส์ 136.32 ล้านบาท, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 74.3 ล้านบาท,

.

เหล็กและเหล็กกล้า 69.5 ล้านบาท, เครื่องจักรกล 10 ล้านบาท, ยา 42.8 ล้านบาท, พลาสติก 14.3 ล้านบาท, เครื่องหนังและรองเท้า 36.4 ล้านบาท, เซรามิก 21.1 ล้านบาท, ซอฟต์แวร์ 14.2 ล้านบาท, อู่ต่อเรือ/ซ่อมเรือ 12.5 ล้านบาท และสิ่งพิมพ์ 5 ล้านบาท รวมถึงโครงการสำหรับบริหารงานเชื่อมโยงกับทุกอุตสาหกรรมอีกประมาณ 65 ล้านบาท โดยแต่ละอุตสาหกรรมจะมีโครงการย่อยในการดำเนินการแตกต่างกันออกไป (ดังตาราง)

.

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของทั้ง 13 อุตสาหกรรม จะเน้นหลักการ 5 ด้าน ได้แก่ 1)การพัฒนาบุคลากรในโรงงาน มีการต่อยอดความรู้ความสามารถที่มีอยู่ 2)พัฒนาเรื่องของระบบการจัดการภายในโรงงาน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้มากขึ้น

.

3)ปรับปรุงเครื่องจักรภายในโรงงานให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ต้นทุนต่ำลง 4)การจัดระบบลอจิสติกให้มีประสิทธิภาพลดต้นทุน การผลิต และ 5)การส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

.

แผนปฏิบัติการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมเราจะนำหลักการ 5 ด้านมาใช้ อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร ก็จะเน้นให้ผู้ประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐานต่างๆ, จัดทำหลักสูตรนักวิเคราะห์อาหารมืออาชีพ, อุตสาหกรรมยานยนต์ พัฒนาบริหารการผลิตโดยใช้แผนอย่างบริษัทโตโยต้า, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาบุคลากร ระบบลอจิสติก, อุตสาหกรรมสิ่งทอ พัฒนาระบบมาตรฐาน ปรับปรุงเครื่องจักรการผลิต, อุตสาหกรรมเหล็ก ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต วัตถุดิบ เครือข่ายการผลิต เป็นต้น

.

สำหรับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพอุตสาหกรรมนี้ ผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะ เข้าร่วมโครงการเพื่อจะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้ดีขึ้น ก็สามารถแจ้งเจตจำนงมาที่สำนักงานได้ โดยผ่านทางสมาคมหรือสถาบันต่างๆ ที่ผู้ประกอบการเป็นสมาชิกอยู่ หรือแจ้งมาที่สำนักงานได้โดยตรงก็ได้

.

"การดำเนินงานในส่วนนี้เราทำงานร่วมกับภาคเอกชนอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีสมาคม มีสถาบันกันอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีการชักชวนสมาชิกเข้ามาร่วมโครงการ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)" นางอรรชกากล่าว

.

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ