เนื้อหาวันที่ : 2011-06-15 13:27:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4160 views

แก๊สซิฟิเคชัน อีกทางเลือกใหม่ด้านพลังงาน

ระบบแก๊สซิฟิเคชันกระบวนการที่ควรค่าแก่การรู้จัก เปลี่ยนชีวมวล ของเสียอินทรีย์ ถ่านหิน วัสดุคาร์บอนเป็นพลังงานไฟฟ้าและผลิตภัณฑฺปิโตรเลียม

          ระบบแก๊สซิฟิเคชันกระบวนการที่ควรค่าแก่การรู้จัก เปลี่ยนชีวมวล ของเสียอินทรีย์ ถ่านหิน วัสดุคาร์บอนเป็นพลังงานไฟฟ้าและผลิตภัณฑฺปิโตรเลียม
 
           ระบบแก๊สซิฟิเคชันเป็นกระบวนการที่ควรค่าแก่การรู้จัก เนื่องจากใช้ในการเปลี่ยนชีวมวล ของเสียอินทรีย์ ถ่านหิน หรือวัสดุที่มีคาร์บอนให้เป็น synthesis gas หรือซินแก๊ส (syngas) ซึ่งแก๊สชนิดนี้ สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งกระแสไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

          แก๊สซิฟิเคชันเป็นวิธีผลิตพลังงานปริมาณมากที่ใช้วัตถุดิบในการป้อนหลากหลาย ชนิดของพลังงานที่ผลิตมีความยืดหยุ่น อาทิ กระแสไฟฟ้า เชื้อเพลิง หรือไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณสูง นอกจากนี้ยังมีผลพลอยได้จากแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์ที่ได้จากการแยกแก๊สด้วย

          ทั่วโลก มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชันอยู่กว่า 250 หน่วย โดยเฉพาะที่สำคัญ คือการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งให้ผลิตผลมากกว่าที่ได้จากโรงไฟฟ้าปกติอย่างมหาศาล และในด้านสิ่งแวดล้อมนั้น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากกระบวนการสามารถแยกออกจากแก๊สชนิดอื่นๆ ได้ด้วยต้นทุนปฏิบัติการที่ต่ำ

ปัจจุบันการใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมจากกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน จะหมายรวมถึง
          - การผลิตกระแสไฟฟ้าปริมาณมหาศาลโดยระบบ Integrated Gasification Combined Cycle (IGCC) ที่มีกำลังการผลิตเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หน่วย IGCC มีการปฏิบัติการในภูมิภาคเอเชีย (จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์) สหรัฐอเมริกา และยุโรป (สาธารณรัฐเช็ก เยอรมนี อิตาลี เนเธอแลนด์ และสเปน )

          - Gas To Liquids (GTL) การเปลี่ยนแก๊สธรรมชาติซึ่งมีปริมาณมากล้นให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว กระบวนการนี้ได้ใช้แล้วในแอฟริกาใต้และการ์ต้า

          - การใช้ชีวมวลและของเสียอินทรีย์ในการผลิตเชื้อเพลิงรุ่นที่สอง หรือกระแสไฟฟ้า ในฐานะพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ได้ผลิตโดยดวงอาทิตย์และลม และกำลังเป็นที่สนใจของผู้เชี่ยวชาญพลังงานมากขึ้นทุกขณะ

          - Coal To Liquids (CTL) การทดแทนแก๊สธรรมชาติและเคมีภัณฑ์ที่ได้จากถ่านหิน หรือถ่านหินผสมชีวมวล โดยส่วนใหญ่อยู่ในจีน แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา

          สถานการณ์ด้านระบบแก๊สซิฟิเคชันปัจจุบันนอกจากมีโรงแก๊สซิฟิเคชันบนพื้นดินแล้ว นักเทคโนโลยียังได้พัฒนาโรงผลิตแก๊สซิฟิเคชันใต้ดิน (Underground Coal Gasification, UCG) โดยทำการเติมแก๊สออกซิเจนลงไปในถ่านหินพื่อผลิตซินแก๊ส ข้อดีของ UCG คือสามารถปฏิบัติงานในเหมืองที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการลงทุนที่จำกัด ซึ่งการสร้าง UCG ได้มีการปฏิบัติการในอาเซอร์ไบจานและออสเตรเลียแล้ว

          จากสถานการณ์การเมืองของกลุ่มประเทศอาหรับ และสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ ส่งผลให้ภาคธุรกิจพลังงานเริ่มให้ความสนใจกับแก๊สซิฟิเคชันมากขึ้น

          เอเชียแปซิฟิคเป็นภูมิภาคที่มีความตื่นตัวและแอคทีฟที่สุดในการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยมีหน่วยปฏิบัติการถึง 140 หน่วย และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 10 หน่วย ทั้งนี้ มีหลายหน่วยวิจัยที่มีสมรรถนะใกล้เคียงระดับอุตสาหกรรม ด้วยความพร้อมดังกล่าว ล่าสุด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนานาชาติด้านแก๊สซิฟิเคชัน - Gasification Asia Pacific 2011 หรือ GAP 2011 ขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน 2554 โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมบรรยายให้ความรู้

          มร. Serge Périneau ประธานจัดงานแก๊สซิฟิเคชันเอเชียแปซิฟิคกล่าวว่า “เรามีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่งาน GAP 2011 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยท่านจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน ที่มีประสิทธิภาพและสะอาดบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถมีส่วนช่วยในการบรรเทาปัญหาความขาดแคลนพลังงานในปัจจุบัน”

          งาน GAP 2011 ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่เทคนิค ตามด้วยการประชุมอย่างเต็มรูปแบบ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้นำองค์กรและสถาบัน รวมถึงบริษัทต่างๆ ในการนำเสนอถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของหน่วยปฏิบัติการแก๊สซิฟิเคชันในปัจจุบันและอนาคต อย่างที่ทราบกันดีว่า ความก้าวหน้าในอนาคตเป็นผลมาจากการแบ่งปันประสบการณ์ และความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จ และบ่อยครั้งเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

หมายเหตุ : GAP 2011 ได้รับการสนับสนุนโดยสภาที่ปรึกษาด้านพลังงานโลก (World Energy Council), สมาคมพลังงานถ่านหินโลก (World Coal Association) , สมาคม CTL โลก (World CTL) และสถาบัน NCICS ของจีน

ศึกษาข้อมูลสำคัญและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.gap-gasification.com