เนื้อหาวันที่ : 2007-03-23 17:28:36 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1878 views

“พันธวณิช” ชี้ e-procurement สร้างผลกำไรให้องค์กรสูงถึง 15%

ปัจจุบันผู้ประกอบการเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก อาทิเช่น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การจะอยู่รอดด้วยสภาพทำกำไรที่เหมาะสม องค์กรต่างๆ ควรลดต้นทุนดำเนินงาน ผ่านระบบจัดซื้อจัดหาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท พันธวณิช จำกัด เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาในหัวข้อ ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจว่าด้วยประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล ร่วมสนับสนุนโดย สมาคมบริหารงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย บริษัท เนชั่น กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมี ฯพณฯ ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา

a

นายไตร กาญจนดุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พันธวณิช จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก อาทิเช่น ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย ดังนั้น การจะอยู่รอดด้วยสภาพทำกำไรที่เหมาะสม องค์กรต่างๆ ควรปรับปรุงต้นทุนการดำเนินงาน ผ่านระบบจัดซื้อจัดหาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ e-procurement ซึ่งล่าสุดประเทศไทยยังมีความนิยมไม่มาก เนื่องจากขาดความเข้าใจและไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง

a

ในขณะที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ล้วนใช้ระบบ e-procurement ในการจัดซื้อจัดหาเพื่อลดต้นทุนดำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท โตโยต้า จำกัด ซึ่งปัจจุบันแซงหน้าบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง GM ไปแล้ว เพราะโตโยต้า ไม่หยุดที่จะลดความสูญเสียในองค์กรเลย

a
นาย วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หนึ่งในลูกค้าของพันธวณิช กล่าวเสริมว่า ตั้งแต่ใช้ระบบ e-procurement ในการจัดซื้อจัดหา พบว่าลดต้นทุนได้ระหว่าง 5-15 เปอร์เซ็นต์ และเป็นการสนับสนุนนโยบายธรรมภิบาลขององค์กรได้อีกด้วย
a

ในภาวะเศรษฐกิจเช่นทุกวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการหันมามองปัจจัยภายในองค์กร โดยลดความสูญเสียให้ได้ รวมถึงเพิ่มผลผลิตอย่างจริงจัง เนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมไทยโตได้เพราะเงินทุน หรือปัจจัยด้านทรัพยากร แต่เมื่อมาพิจารณาถึงผลผลิตของทั้งประเทศแล้วค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะไม่มีการใช้ทรัพยากรเพิ่ม แต่เพิ่มผลผลิตด้วยการจัดการภายในประเทศให้เข้มแข็งทุกด้าน ทั้งคุณภาพบุคลากร การลดต้นทุนภายในองค์กร ประสิทธิภาพการทำงาน บริหารความเสี่ยง และการรู้จักประหยัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้องค์กรเข้มแข็งและสามารถเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจได้ทุกรูปแบบ