เนื้อหาวันที่ : 2011-05-03 10:44:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 782 views

ภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ 25 - 29 เม.ย. 2554

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มี.ค. 54 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 170.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 54เบิกจ่ายได้ทั้งสินจำนวน 560.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.1

ทั้งนี้ในเดือน มี.ค. 54 การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีเบิกจ่ายได้จำนวน157.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 7.6 จากกรอบวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 141.4พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.8 และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน15.6 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 61.7

ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน มี.ค. 54 ได้แก่ เงินอุดหนุนกระทรวงศึกษาธิการจำนวน 23.3พันล้านบาท รายจ่ายงบชำระหนี้ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 22.1 พันล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 9.9 พันล้านบาท และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 6.5 พันล้านบาท

นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 22 เม.ย. 54 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้นจำนวน 274.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 78.5ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 54พบว่า ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.9 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -42.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ขาดดุลจำนวน -79.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 24.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจำนวน -55.4 พันล้านบาท

ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 54 งบประมาณขาดดุลจำนวน -171.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -88.5 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้)จำนวน -259.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมี.ค. 54 มีจำนวน 114.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงบทบาทของนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 24.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดพืชผลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว ยางพารา และอ้อยโรงงาน เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้ว ที่ผลผลิตภาคการเกษตรส่วนใหญ่ ประสบปัญหาโรคระบาดและภัยแล้ง

ประกอบกับราคาสินค้าที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ค่อนข้างทรงตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน ตามการขยายตัวของผลผลิตข้าวและยางพาราเป็นสำคัญ

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 54 ขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.1ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยางพาราและพืชน้ำ มัน (มันสำ ปะหลังและปาล์มน้ำ มัน) เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นในขณะที่อุปทานค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบปัญหาสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน

ทั้งนี้ ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ในไตรมาสที่ 1 ปี 54 ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ25.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวปีก่อน และส่งผลให้รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (Real Farm Income) ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะในภาคชนบท.

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง