เนื้อหาวันที่ : 2011-04-29 11:04:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1081 views

ทิศทางการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงภายหลังการจัดเวทีสัมมนาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ซึ่งได้มีการหารือถึงทิศทางการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน อันเ ป็นกลไกสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชน เพื่อเป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็ง

โดยที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวด้วยการ ๑) ดำเนินนโยบายกระตุ้นการเติบโตและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ผ่านการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๒ ในวงเงิน ๑.๑๖๗ แสนล้านบาท มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน และสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเร่งขยายการปล่อยสินเชื่อ

รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว โดยดำเนินมาตรการไทยเข้มแข็ง และ ๒) ดำเนินนโยบายการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างความเข้มแข็งของระบบการเงินภาคประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบ โครงการหมอหนี้ และโครงการสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ

          ซึ่งประกอบด้วยการจ่ายค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ และการจ่ายเงินเบี้ยความพิการให้กับคนพิการ รวมทั้ง จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพที่ครอบคลุมทั่วถึงแรงงานทุกคน เป็นต้น

          สำหรับบทบาทของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน (สพช.) ขึ้นเพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ

ซึ่ง สพช. ได้ดำเนินการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบระยะที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมการขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบระยะที่ ๒ ดำเนินการแก้ปัญหาหนี้สินภาคเกษตรกรภายใต้การทำงานของคณะทำงานพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของข้อเสนอของแนวร่วมเกษตรกรไทที่มีรองปลัดกระทรวงการคลัง นายสมชาย พูลสวัสดิ์ เป็นประธาน

โดยจัดทำข้อเสนอความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรอย่างครบวงจรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสรุปความชัดเจนของแผนงาน แผนเงิน และแหล่งเงินสนับสนุนโครงการหมอหนี้ รวมทั้งการติดตาม ประเมินโครงการสินเชื่อประชาวิ ัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อแท็กซี่ไทยเข้มแข็ง และสินเชื่อ สู้อาชีพไทยเข้มแข็ง

          ในระยะต่อไป สศค. จะมุ่งเน้นการสนับสนุนให้ประชาชนฐานรากเกิดวัฒนธรรมการออม การมีระบบสวัสดิการ และมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองมากขึ้น พัฒนาความตระหนักรู้ทางการเงิน (Financial literacy) และพัฒนากระบวนการทำงานที่จะส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนและระบบการเงินภาคประชาชน โดยต้องเกิดการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน รวมถึงการพัฒนาด้านเครือข่าย และการพัฒนาบนหลักการเชิงพื้นที่ (Area based development) โดยตระหนักว่าในแต่ละพื้นที่มีลักษณะที่ต้องการการพัฒนาเฉพาะตัว

ทั้งนี้ มีแผนงานโครงการสำคัญที่จะดำเนินการให้เกิ ผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่ ๑) การดำเนินการตามแผนแม่บทการเงินฐานรากให้มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรการเงินฐานราก การสร้างเครือข่ายขององค์กรการเงินฐานราก การพัฒนากรอบการกำกับดูแลระบบการเงินฐานรากที่เหมาะสม และบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          ๒) การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางการเงินพื้นฐาน โดยเฉพาะกับประชาชนในชุมชนฐานรากและที่เป็นแรงงานนอกระบบ ๓) การศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินที่ทั่วถึงขึ้น และการประกันรายย่อย (Micro insurance) ๔) การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลองค์กรการเงินฐานรากในพื้นที่นำร่อง และ ๕) ดำเนินการกำกับดูแลและสร้างบรรทัดฐานการดำเนินงานของผู้ประกอบการสินเชื่อ ส่วนบุคคลที่เป็นบุคคลธรรมดา และการติดตามทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว

          จากการดำเนินการข้างต้น ในระยะยาว สศค. มุ่งหวังว่าประเทศไทยจะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเงินระดับฐานรากที่ดีขึ้น (จากก รสำรวจของ Economist Intelligence Unit พบว่าระดับความพร้อมด้านการเงินระดับฐานรากของไทยอยู่ในอันดับที่ ๕๐ จาก ๕๔ ประเทศ) และท้ายที่สุดประชากรระดับ ฐานรากทั้งหมดจะได้มีโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนเพื่อการดำรงชีพ ระบบสวัสดิการสังคม ระบบการจัดหารายได้เสริมหรืออาชีพชดเชย และระบบการออม และมีภูมิค ุ้มกันจากหนี้สินภาคประชาชนและหนี้นอกระบบ