เนื้อหาวันที่ : 2011-04-27 17:14:39 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2066 views

การค้าชายแดนระทึกจับตาสถานการณ์หวั่นกระทบวงกว้าง

สภาอุตสาหกรรมฯ ติดตามสถานการณ์การปะทะตามชายแดนไทย-กัมพูชา เผยการขนส่งหยุดชะงัก นักท่องเที่ยวแห่ยกเลิกทัวร์ เพราะไม่มั่นใจความปลอดภัย ขณะที่ก.พลังงาน ยันไม่งดจ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง

          สภาอุตสาหกรรมฯ ติดตามสถานการณ์การปะทะตามชายแดนไทย-กัมพูชา เผยการขนส่งหยุดชะงัก นักท่องเที่ยวแห่ยกเลิกทัวร์ เพราะไม่มั่นใจความปลอดภัย ขณะที่ก.พลังงาน ยันไม่งดจ่ายกระแสไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง

          ประเทศไทยและกัมพูชา มีชายแดนติดต่อกันตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และจังหวัดตราด รวมเป็นระยะทาง 803 กิโลเมตร ซึ่งการที่ไทยมีชายแดนติดต่อกัมพูชาตั้งแต่ ตะวันออกเฉียงเหนือถึงชายฝั่งตะวันออก ทำให้มีจุดผ่านแดนทั้งที่เป็นถาวรและช่องผ่านด่านชั่วคราว อยู่หลายจุดตั้งแต่ ผ่านแดนถาวรช่องจอม อ.กาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งข้ามไปที่เมืองสำโรง จ.อุดรมีชัย ของกัมพูชา

เดิมประเทศไทยมี โครงการจะสร้างถนนที่สามารถเชื่อมไปถึง อัลลองเวง และจาก เมืองสำโรง จะมีเส้นทางหมายเลข 68 เชื่อมกับเส้นทาง หมายเลข 6 โดยเส้นทางหมายเลข 6 สามารถเชื่อมโยงไปยัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ของไทย โดยผ่าน จ.บันเตียเมียน เจย จนถึงปอยเปต ฝั่งตรงข้ามคือ อ.อรัญประเทศ โดยเส้นทางหมายเลข 6 เป็นเส้นทางที่เชื่อมโยง กัมปงจามและเข้าสู่พนมเปญ ด่านช่องสะงำ จ.สุรินทร์ ข้ามไปคือ จ.อุดรมีเมียเจีย มีถนนหมายเลข 69 เข้าไปเชื่อมโยงถนนหมายเลข 6 และไปสู่ อ.อรัญประเทศ ของไทย

          จุดผ่านแดนถาวรอรัญประเทศ-ปอยเปต จ.สระแก้ว เป็นด่านชายแดนไทย-กัมพูชาที่ใหญ่ที่สุด มีสินค้า กว่าร้อยละ 60 ผ่านด่านนี้ ซึ่งเดิมไทยและกัมพูชามีแผนที่จะพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ต.บ้านไร่ และเขตเศรษฐกิจพิเศษโอเนียงในประเทศกัมพูชา โดยจุดผ่านแดนอรัญประเทศจะใช้เส้นทางหมายเลข 5 หากจะไปนครวัด ก็ผ่านบันเตียเมียเจีย ไปสู่เมืองเสียบเรียบหากจะไปพนมเปญก็ใช้ถนนหมายเลข 5 ผ่านพระตะปอง-โพธิสัตว์ กัมปองชนัง และนครพนมเปญ จากพนมเปญ สามารถใช้เส้นทางเอเชียสาย A1 เข้าสวายเรียงข้าม พรมแดนเวียดนามที่ด้านหมกบ่าย สู่นครโฮจิมินต์

          จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก-จามเยียม เป็นด่านศุลกากรในจังหวัดตราด โดยสามารถใช้เส้นทาง หมายเลข 48 เข้าไปสู่เกาะกง ผ่านเมืองแสรอำเปิล –สีหนุวิลล์ กัมปอด ข้ามไป เวียดนามที่เมืองฮาเตียงซึ่งเป็น บริเวณที่เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เชื่อมโยงเกอนเหล่ย และโฮจิมินต์
 
ด้านการค้า
          การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ผ่านมาขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นในปี 2552 ติดลบร้อยละ 22.16 ในปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 54.18 คิดเป็นมูลค่า 2,556.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่า 79,800 ล้านบาท เป็นมูลค่า การส่งออก 72,602 ล้านบาท และเป็นการนำเข้า 6,639 ล้านบาท ไทยได้ดุลการค้า 65,937 ล้านบาท ซึ่งสินค้า ส่งออกที่สำคัญของไทยคือ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำตาลทราย ปูนซิเมนต์ สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ทางการเกษตร สินแร่ และไม้ซุงไม้แปรรูป

ด้านการลงทุน
          ในปี 2553 ไทยมีโครงการการลงทุนผ่านสำนักงาน Combodia Board หรือ CIB ในกัมพูชาทั้งสิ้น ประมาณ 31 ล้านบาท โดยที่นักลงทุนไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่ลำดับที่ 15 ของกัมพูชา โดยมี ไต้หวัน จีน เกาหลี ฮ่องกง เวียดนาม และมาเลเซีย เป็นนักลงทุนหลายใหญ่ ในปี 2553 การลงทุนภาพรวมของกัมพูชาซึ่งได้รับการส่งเสริม การลงทุนจาก CIB คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 5,356.8 ล้านบาท

          อย่างไรก็ดี ในช่วง 1 ส.ค. 2537 ถึง 30 มิ.ย. 2552 ไทยมีโครงการลงทุนในกัมพูชา 81 โครงการคิดเป็น มูลค่าการลงทุน 226.59 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7,024.2 ล้านบาท เป็นการลงทุนในธุรกิจโรงแรมถึง 9 โครงการ มูลค่า 4,290.4 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเสียมเรียบ รองลงมาเป็นการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่า 2,346.7 ล้านบาท อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 221 ล้านบาท

          สำหรับการลงทุนของเครือซิเมนต์ไทย มีการก่อสร้างโรงงานซีเมนต์ ที่ จ.กัมปอต โรงงานผลิตซิเมนต์ บล็อก การปลูกยูคาลิปตัส และการผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ในด้านการให้บริการโทรคมนาคม โดยบริษัท กัมโบเดีย ชินวัตร หรือ เอ็มโฟน ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้านวิทยุโทรทัศน์เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มกันตนาในนาม บริษัทไมก้ามีเดีย ในการบริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 5

ประเด็นผลกระทบจากการสู้รบ
          จากการสู้รบตามแนวชายแดน ที่บริเวณช่องจอม หากการรบไม่ขยายตัวไปมากกว่าที่เป็นอยู่ก็จะไม่กระทบเพียงการค้าชายแดนที่ช่องจอมและช่องสะงำ ส่วนด่านอรัญประเทศและที่จุดผ่านแดนหาดเล็กยังไม่มี รายงานว่ากระทบหรือมีการปิดด่าน การค้าชายแดนไทยทั้งระบบในปี 2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 777,375 ล้านบาทคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 23.7

ปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 850,000 ล้านบาท โดยมีมาเลเซียเป็นคุ่ค้าอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 64.05 อันดับ 1 พม่าสัดส่วนร้อยละ 17.76 อันดับ 3 สปป.ลาว ร้อยละ 11.05 และกัมพูชาอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 7.09

          ขณะนี้ยังคงเร็วไปที่จะบอกว่ากรณีไทย-กัมพูชาจะมีผลกระทบการส่งออกของ ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกได้ ไม่ต่ำกว่า 80,000 ล้านบาท เฉพาะการค้าชายแดนก็ประมาณ 51,000 ล้านบาท อีกทั้งธุรกิจของไทยที่ลงทุนใน กัมพูชาประมาณกว่า 100 โรงงานจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงไร

สรุปสถานการณ์และผลกระทบเศรษฐกิจไทย-กัมพูชาล่าสุด
          1. ผลกระทบยังจำกัดอยู่ที่บริเวณชายแดน จ.สุรินทร์ ทั้งช่องสะงำ และช่องจอม ส่วนด่านอรัญประเทศ และด่านคลองลึกยังคงเปิดตามปกติ

          2. การขนส่งที่ไปชายแดนส่วนใหญ่ชะลอการส่งมอบสินค้า เพราะไม่มั่นใจความปลอดภัยหากจะมีการซื้อ ขายกันก็จะนัดการส่งมอบสินค้า ณ ชายแดน

          3. ในด้านการงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กัมพูชา กระทรวงพลังงานยังไม่มีนโยบายในการงดจ่ายกระแสไฟฟ้า เพราะจะมีผลกระทบอย่างมากซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับทั้ง 2 ประเทศ (วันที่ 26 เมษายน 2554)

          4. ในด้านการส่งออกน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งกัมพูชาพึ่งพิงประเทศไทยในอัตราสูง ในปี 2553 เป็นมูลค่า 2,259 ล้าน บาท สำหรับในปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 3,500 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานยังไม่มีนโยบายการ งดส่งมอบหากไม่มีคำสั่งจากหน่วยงานด้านความมั่นคง (วันที่ 26 เมษายน 2554)

          5. ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไทยที่จะเดินทางไปนครวัด มีการยกเลิกการเดินทางเกือบทั้งหมด ยกแว้น การเดินทางไปซื้อสินค้าที่ชายแดน ซึ่งหากสถานะการณ์สู้รบยังไม่ยุติในเร็ววันจะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทยปีนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว ประมาณ 15 ล้านคน

          6. สถานการณ์ทั่วไปในกรุงพนมเปญยังเป็นปกติ การยั่วยุผ่าน SMS และสื่อต่างๆ ยังไม่มากเหมือนที่ เกิดขึ้นในปี 2549

ที่มา : สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย