เนื้อหาวันที่ : 2011-04-18 09:13:33 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 817 views

คลังเร่งเครื่องดันมาตรการช่วย SME

คลังเตรียมออกสารพัดมาตรการทั้งทางการเงินและการคลังเพื่อช่วยเหลือเสริมความแข็งแกร่ง SME หลังครม.เปิดไฟเขียว

นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2554 ว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการคลังนำเอามาตรทางการเงินและการคลัง หลากหลายมาตรการ เข้ามาเพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่ง ให้แก่ผู้ประกอบการ SME ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับมาตรการต่างๆนั้นรวมถึง การให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่

1) นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และผู้ได้รับผลกระทบจาก อุทกภัย 2) การขยายวงเงินสินเชื่อการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ไทยเพิ่มเติมอีก 2,000 ล้านบาท และ 3) การค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ในระยะที่ 3 รวม 36,000 ล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังชี้ว่า “ผู้ประกอบการ SMEs นั้นถือได้ว่ามีความสำคัญต่อการผลักดันเศรษฐกิจของไทยโดยต่อเนื่อง ดังนั้น ทางกระทรวงจึงได้นำเอามาตรการต่างๆทั้ง การให้สิทธิทางภาษีเพิ่มเติม, การ ขยายวงเงินสินเชื่อ รวมถึง การขยายการค้ำประกันโดย บสย. เข้ามาเสริมสร้างความแข็งแกร่งรวมถึงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระยะหลังๆนี้ด้วย”

สำหรับ มาตรการที่จะช่วยเหลือการเติบโตของ ผู้ประกอบการในระดับ SME นั้น ทางกระทรวงได้ตัดสินใจเพิ่มสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 25 สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเดิมในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ สามารถยกระดับเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และจูงใจให้มีบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มากขึ้น

 สำหรับการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจขายตรง รวมทั้งผู้ที่ต้องการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย นั้นทางกระทรวงจะมีการเพิ่มวงเงินสินเชื่อ เพื่อเป็นเงินลงทุนและเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการ SMEs เป็นเงินอีก 2,000 ล้านบาท อีกด้วย

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างการเข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กระทรวงการคลังยังได้เดินหน้าเพิ่มการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ 3 เป็นจำนวนเงิน 36,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีผลให้วงเงินสินใหม่เพิ่มขึ้นอีก 108,000 ล้านบาท โดยมีการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบดังกล่าวจะช่วยจำกัดความสูญเสียของ บสย. เอาไว้ด้วยโดยละเอียด