เนื้อหาวันที่ : 2011-03-25 10:09:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1272 views

กลุ่มแร่ไครโซไทล์ยกงานวิจัยโต้ยกเลิกใช้แร่ใยหิน

ศูนย์ไครโซไทล์โต้กลุ่มแพทย์ที่เคลื่อนไหวยกเลิกใช้ใยหิน ชี้ประเทศที่มีปัญหาใช้ใยหินคนละกลุ่มกับประเทศไทย ยันไม่เคยพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากใยหินแม้แต่รายเดียว

ศูนย์ไครโซไทล์โต้กลุ่มแพทย์ที่เคลื่อนไหวยกเลิกใช้ใยหิน ชี้ประเทศที่มีปัญหาใช้ใยหินคนละกลุ่มกับประเทศไทย ยันไม่เคยพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากใยหินแม้แต่รายเดียว

ศูนย์ไครโซไทล์โต้กลุ่มแพทย์ที่เคลื่อนไหวยกเลิกใช้ใยหิน ชี้การนำแร่กลุ่มอันตรายและไม่อันตรายมาพูดรวมกันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นักวิจัยจากสวิสเซอร์แลนด์เผยกลุ่มประเทศยุโรปใช้แร่กลุ่มแอมฟิโบล ซึ่งเป็นกลุ่มอันตราย แต่ไทยใช้ไครโซไทล์ซึ่งผ่านการวิจัยแล้วว่าแตกหักได้ง่ายและสามารถถูกกำจัดออกจากร่างกายได้แม้จะอัดเกินขนาดมาตรฐานถึง 5,000 เท่า

ตามที่มีข่าวกลุ่มแพทย์กลุ่มหนึ่งออกมาแถลงข่าวเรียกร้องให้มีการยกเลิกการใช้แร่ใยหินในประเทศไทยนั้น ศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้ออกมาแสดงทัศนะในเรื่องนี้

นายมานพ เจริญจิตต์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ กล่าวว่า การออกมาแสดงบทบาทของแพทย์กลุ่มดังกล่าว น่าจะเป็นเพราะทางสถาบันไครโซไทล์และศูนย์ข้อมูลไครโซไทล์ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง ‘ทัศนะทางวิทยาศาสตร์เรื่องแร่ไครโซไทล์:

หลักฐานล่าสุดและกรณีศึกษาระเบียบการควบคุมที่ดีในต่างประเทศ’ และได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือจาก ดร. เดวิด เบอร์นสตีน นักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ที่มีผลงานการศึกษาวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และการแพทย์ทั่วโลกมากมายกว่า 70 เรื่อง โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับแร่ไครโซไทล์ และ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สมชัย บวรกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดิน ศึกษาโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดมานานกว่า 30 ปี ได้

ดร.เดวิด เบอร์นสตีน ได้ให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ผลการศึกษาที่อ้างว่าไครโซไทล์เป็นอันตรายนั้นมีวิธีการศึกษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น รายงานการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยแพร่เมื่อปี 2008 นั้น เป็นการอ้างอิงข้อมูลปี 2005 ซึ่งพูดถึงใยหิน หรือ Asbestos รวมทั้งหมด ไม่ได้แยกเป็นกลุ่มแร่ที่ไม่มีอันตราย (ไครโซไทล์) กับกลุ่มอันาตราย (แอมฟิโบล) ทั้งๆ ที่เมื่อปี 2007 สมัชชาสุขภาพของ WHO ได้มีข้อสรุปว่าให้นำงานวิจัยที่แยกชนิดของใยหินมาเป็นปัจจัยในการพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ ผลการศึกษาที่บอกว่าแร่ไครโซไทล์เป็นอันตราย ก็เป็นการศึกษาที่ใส่ไครโซไทล์เข้าไปในร่างกายหนูทดลองมากเกินจริง (โอเวอร์โหลด) คือ 1 ล้านเส้นใยต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งไม่มีทางที่ร่างกายหนูจะรับได้

ทั้งนี้ หากศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยที่ถูกต้อง คือ ใส่แร่ไครโซไทล์เข้าไปในร่างกายสัตว์ที่ถูกทดสอบด้วยปริมาณที่เกินกว่าค่ามาตรฐานถึง 5,000 เท่า ก็ยังไม่มีผลกระทบ เนื่องจากไครโซไทล์เป็นเส้นใยที่แตกหักง่าย และมีองค์ประกอบทางเคมีที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้ง่าย

ส่วนที่อ้างว่าประเทศที่พัฒนาแล้วหรือแม้แต่ประเทศญี่ปุ่นได้ห้ามใช้ใยหินนั้น ดร.เดวิด เบอร์นสตีน กล่าวว่า กลุ่มประเทศยุโรปเป็นผู้ใช้ใยหินกลุ่มแอมฟิโบลที่เป็นอันตรายมานานมาก คนที่อ้างว่าป่วยจากใยหินก็ป่วยเพราะแอมฟิโบลนี่นเอง ไม่ใช่แร่ไครโซไทล์ แม้แต่ประเทศฝรั่งเศสก็เพิ่งเลิกใช้ใยหินอันตรายเมื่อปี 1996 นี่เอง

สำหรับที่อ้างว่าพบผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดรายแรกที่อ้างว่าเกิดจากสารใยหินนั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า ไม่สามารถยืนยันได้ เพราะผู้ป่วยคนนี้สูบบุหรี่ต่อเนื่องมาหลายสิบปี และอายุมากถึง 75 ปี ไม่มีการตรวจเนื้อเยื่อที่พบใยหิน

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สมชัย บวรกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดิน ศึกษาโรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอดมานานกว่า 30 ปี ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า สาเหตุที่ไม่สนับสนุนให้ยกเลิกใยหิน เพราะไม่เคยพบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากใยหินในประเทศไทยแม้แต่รายเดียว และเชื่อว่าสามารถควบคุมการใช้แร่ไครโซไทล์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ เปรียบเทียบไม่ได้เลยกับการปล่อยให้มีบุหรี่และสุราที่สุดแสนอันตราย ที่ส่งผลให้มีประชากรไทยเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนนับหมื่นคนในแต่ละปี