เนื้อหาวันที่ : 2007-03-16 09:25:29 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1097 views

รัฐบาล เจอ เจบิค ปรับเงื่อนไขให้กู้รถไฟฟ้าเพิ่มดอกเบี้ยเท่าตัว

ก.คมนาคมโบ้ยให้ "ฉลองภพ" เจ้ากระทรวงคลัง แจง ครม. เอง กรณีปรับลดแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าจาก 5 สาย เหลือ 1–2 สาย ชี้ไม่ควรออกมาพูดทำให้สังคมเกิดความสับสน ส่วนธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว

กระทรวงคมนาคมโบ้ยให้ "ฉลองภพ" เจ้ากระทรวงคลัง แจง ครม. เอง กรณีปรับลดแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าจาก 5 สาย เหลือ 1 2 สาย ชี้ไม่ควรออกมาพูดเพราะทำให้สังคมเกิดความสับสน ส่วนธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค) ขอปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว

ธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิค)  ขอปรับเงื่อนไขดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สายเท่าตัว จาก 0.75 % เป็น 1.5 % ต่อปี อ้างเป็นโครงการที่ไม่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ประเมินเงินกู้รอบสุดท้ายเดือนมีนาคมนี้ ขณะที่คลังยอมรับเงื่อนไขแม้ดอกเบี้ยเพิ่ม แต่อัตรายังต่ำเมื่อเทียบกับเงินกู้จากสถาบันการเงินอื่นสามารถเลือกผู้รับเหมาและผู้จัดซื้อเครื่องมือจากประเทศอื่นได้

รายงานข่าว  เปิดเผยว่า เจบิค ได้แจ้งมายังกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการปล่อยกู้ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าจำนวน  3  สาย  คือ สายสีแดง  สายสีม่วง  และสีน้ำเงิน  ซึ่งกระทรวงการคลังได้ยื่นขอกู้ก่อนหน้านี้  โดยเปลี่ยนแปลงในส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่จัดเก็บ  กล่าวคือ  จะจัดเก็บไว้ในอัตรา  1.5% ต่อปี จากเดิม 0.75 %  โดยให้เหตุผลว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่รัฐบาลมีแผนการจะก่อสร้างนั้นไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว

เจบิค ได้แจ้งเราด้วยวาจาว่า  คงไม่สามารถให้อัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้อีก  เนื่องจากขณะนี้  เจบิค ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการการปล่อยเงินกู้สำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับทุกประเทศที่มีการปล่อยเงินกู้ในโครงการดังกล่าวหมดแล้ว  โดยเห็นว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน  ไม่ได้เป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ได้ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมเช่นโครงการอื่น  จึงไดแจ้งเพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของเงินกู้ดังกล่าว   แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าว

แม้อัตราดอกเบี้ยที่เจบิคคิดในอัตรา  1.5 % ต่อปี  จะสูงกว่าเดิมถึง  1  เท่า  แต่ก็ยังถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอื่น  โดยธนาคารพัฒนาเอเชียและธนาคารโลก  จะคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการเงินกู้ประเภทนี้   ในอัตรา  5 -  6 %  ต่อปี  ดังนั้นหากเจบิคจะคิดอัตราดอกเบี้ยในระดับดังกล่าว   จึงถือว่าเป็นอัตราที่รับได้

นอกจากนี้  อัตราดอกเบี้ยในระดับ 1.5 % ต่อปี  เป็นเงื่อนไขที่ทางการไทยสามารถเลือกผู้ก่อสร้างโครงการ  จัดซื้อเครื่องมือและว่าจ้างแรงงานที่เป็นของประเทศอื่น ๆ ได้  ขณะที่เงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยที่ 0.75 %  ต่อปี  เป็นเงื่อนไขที่ไทยต้องใช่ผู้ก่อสร้างโครงการ  เครื่องมือเครื่องจักร  และการจ้างแรงงานที่มาจ้างประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น 

สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินกู้และดอกเบี้ยนั้น  ทางเจบิคจะคิดอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ที่เริ่มเบิกเงินเพื่อใช้ในโครงการ  โดยหากเบิกจ่ายไปเท่าไรก็จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยในวงเงินที่เบิกจ่ายและระหว่างที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย   ก็จะไม่คิดค่าธรรมเนียม  ขณะที่สถานบันการเงินอื่น  แม้จะมีการเซ็นสัญญาเงินกู้ไปแล้ว  แต่หากว่ายังไม่มีการเบิกเงินกู้ก็จะถูกคิดค่าธรรมเนียมจากวงเงินกู้ทั้งหมด

ขณะเดียวกัน  โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินดังกล่าว  ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า  จะไม่สามารถเบิกเงินกู้ได้ทันทีที่มีการเซ็นสัญญา  เนื่องจากรัฐบาลต้องใช้เวลาในการเวนคืนที่ดินบริเวณที่จะมีการก่อสร้าง  ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ  2  ปี  ซึ่งจะทำให้โครงการที่มีแผนก่อสร้างต้องเลื่อนออกไปตามระยะเวลาเวนคืนที่ดิน  สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินต้นเท่านั้น  ทางเจบิคได้ยกเว้นให้เป็นเวลา  7  ปี   อัตราดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละปีก็ไม่สูงมากนักหรอก  เพราะเราจะแบ่งการเบิกจ่ายเป็นงวด ๆ และชำระก็จะไม่เป็นภาระกับงบประมาณ  เพราะตามแผนเราจะนำกำไรจากผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องมชำระหนี้คืนโดยโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน  เป็นโครงการที่สร้างรายได้  ฉะนั้นเมื่อมีรายได้  ก็จะนำมาชำระคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย  ทั้งนี้    ระยะเวลาการกู้เงินทั้งหมดคือ  25  ปี  โดยวงเงินที่จะขอกู้เบื้องต้นสำหรับก่อสร้างในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินจำนวน  3  สาย  จะอยู่ที่  3  หมื่นล้านบาท  แบ่งเป็นสายละ  1  หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้  ขณะนี้  รัฐบาลได้กำหนดระยะเวลาในการเปิดให้นักลงทุนเข้าประมูล  เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า  5  สาย  เรียบร้อยแล้ว  โดยรถไฟฟ้าสายแรก  5  สาย  จะสามารถประกวดราคาได้เดือนมีนาคมปีนี้  โดยรถไฟฟ้าสายแรก  คือ  รถไฟฟ้าสายสีแดง  คือ  เส้นทาง  รังสิต บางซื่อ ตลิ่งชัน  ระยะทาง 41  กิโลเมตร  วงเงินค่าก่อสร้างที่ตั้งไว้  53,985  ล้านบาท  โดยช่วงบางซื่อ  -  ตลิ่งชัน  จะเริ่มประกวดราคาในเดือนมีนาคมนี้  และช่วงบางซื่อ รังสิต   จะเริ่มประกวดราคาในเดือนพฤษภาคมนี้  สำหรับสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง  จะเริ่มประกวดราคาในเดือนพฤษภาคมนี้

โดยสารสีน้ำเงิน  เป็นช่วงเป็นส่วนต่อขยายบางซื่อ ท่าพระ บางแค  และหัวลำโพง ท่าพระ รวมระยะทาง  27  กิโลเมตร  วงเงินก่อสร้างที่ตั้งไว้  52 ,851 ล้านบาท  และสายสีม่วง  เป็นช่วงบางใหญ่ บางซื่อ ระยะทาง  23  กิโลเมตร  วงเงินก่อสร้างที่ตั้งไว้  29,160  ล้านบาท ส่วนสายสีเขียว  ซึ่งมีสองเส้นทาง  คือ  เขียวเข้ม   ช่วงรังสิต สะพานใหม่  ระยะทาง  13 กิโลเมตร  วงเงิน   14,737  ล้านบาท  และเขียวอ่อนช่วงสะพานแบริ่ง  ( อ่อนนุช ) สมุทรปราการ  ระยะทาง  13  กิโลเมตร  วงเงิน  14 , 939  ล้านบาท  จะเริ่มประกวดราคาในเดือนตุลาคมนี้  ในแง่รูปแบบการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าทั้งห้าสายดังกล่าว  รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนสร้างโครงการทั้งหมดส่วนการบริการเดินรถ  จะว่าจ้างให้เอกชนที่มีประสบการเข้ามาเสนอตัวให้บริการ  จะไม่เป็นลักษณะการให้สัปทานเดินรถไฟฟ้ามหานคร หรือ รฟม. ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย