เนื้อหาวันที่ : 2011-03-15 18:10:34 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1338 views

ไอดีซี ชี้คลาวด์ยังโตต่อเนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัว

ไอดีซี เผยการใช้บริการคลาวด์ในเอเชียแปซิฟิกใกล้อิ่มตัว ขณะที่แนวโน้มยังโตต่อเนื่องและถูกนำมาพูดในเชิงธุรกิจมากขึ้น

ไอดีซี เผยการใช้บริการคลาวด์ในเอเชียแปซิฟิกใกล้อิ่มตัว ขณะที่แนวโน้มยังโตต่อเนื่องและถูกนำมาพูดในเชิงธุรกิจมากขึ้น

จากข้อมูลของไอดีซี พบว่า การใช้บริการคลาวด์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้น ญี่ปุ่น กำลังเริ่มที่จะใกล้สู่ภาวะอิ่มตัว จากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วงปี 2552-2553 ที่ผ่านมานั้น ได้กระตุ้นความสนใจในบริการคลาวด์คอมพิวติ้งเป็นอย่างมากในฐานะที่ตอบโจทย์ในเรื่องของการนำเสนอบริการที่สอดคล้องทั้งการให้บริการในปัจจุบันและบริการใหม่ ๆ ของธุรกิจการให้ บริการคลาวด์ในส่วนที่เป็น โครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอที ซึ่งจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในปี 2554 นี้

และเมื่อมีการนำเสนอบริการคลาวด์ใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ผู้ใช้งานก็เริ่มจะมองการณ์ไกลขึ้นสำหรับการให้บริการพื้นฐานของ Software-as-a-Service (SaaS) และ Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เพื่อเป็นแหล่งของการให้บริการเชิงธุรกิจ ซึ่งจะช่วยทำให้องค์กรเสริมสร้าวความแข็งแกร่งของตนเองได้อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

จากรายงานล่าสุดของไอดีซี เรื่อง "Asia/Pacific (Excluding Japan) Cloud Services and Technologies 2011 Top 10 Predictions: Dealing with Mainstream Cloud" (Doc#AP6684401T) ไอดีซีได้ศึกษาแนวโน้มหลัก ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อคลาวด์คอมพิวติ้งกับระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ของภูมิภาคนี้ในปี 2554

ประเทศในภูมิภาคนี้ยังคงมีความแตกต่างกัน ในหลาย ๆ ด้านเมื่อเทียบกับภูมิภาค อื่น ๆ ทั่วโลก และ แผนงานสำหรับการประยุกต์ใช้งานคลาวด์ในอนาคตจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากงบประมาณที่จำกัด และ กฎหมายของแต่ละประเทศ แต่แนวโน้มที่สำคัญประการหนึ่ง

ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นแรงผลักดันมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ อีกส่วนหนึ่งมาจากความพร้อมของการให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องที่คนกลับมาสนใจอีกครั้ง เพื่อการปรับปรุงระบบไอทีในองค์กรต่าง ๆ ใช้ผลักดันการเสริมสร้างธุรกิจใหม่ ๆ และยังใช้เป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรได้

ความพร้อมของการให้บริการคลาวด์เป็นแรงส่งให้กับแนวโน้มดังกล่าวนี้ องค์กรส่วนมากจะมีโครงสร้างไอทีที่มีลักษณะเป็นลำดับชั้น ซึ่งบริการในรูปแบบของคลาวด์ก็จะเปิดให้บริการตามลำดับต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ Infrastructure Platforms และ Applications-as-a-Service แต่เมื่อการให้บริการคลาวด์เริ่มจะถึงภาวะอิ่มตัว ไอดีซี มองต่อไปในเรื่องของรูปแบบของการให้บริการคลาวด์ว่าจะมีความซับซ้อนขึ้น โดยจะมีการรวมเรื่อง ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ การให้คำปรึกษา การออกแบบ และ การบริหารจัดการเข้ามาด้วย

"ตอนจบของแนวโน้มนี้จะเป็นแผนงานด้านไอทีที่ผู้บริหารธุรกิจทั้งหลายสามารถบริหารจัดการ จัดซื้อจัดหาและใช้บริการต่าง ๆ ครบทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการทำงานและระบบที่พวกเขาต้องการเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเขาดำเนินไปได้ดีที่สุดและทันสมัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในแผนงานนี้จะไม่มีการคำนึงถึงคำว่า "เป็น" หรือ "ใช้เป็น" สำหรับไอที แต่จะเห็นเป็นแค่เพียงการบริการที่มีความสำคัญเท่านั้น" ก่ลาวโดย คริส มอริส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ด้านเทคโนโลยีคลาวด์และเซอร์วิส ประจำ ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก

ซึ่งสิ่งนี้กำลังหมายความว่า หน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของ ซีไอโอ จะขยายขอบเขตกว้างขึ้นไปจากเดิม ที่ทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในการตรวจสอบผู้ให้บริการในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการปฏิบัติตามข้อตกลง บทบาทของ ซีไอโอในอนาคตจะมุ่งเน้นเชิงธุรกิจมากขึ้น และจะเน้นเกี่ยวกับการบริหารสัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ ดังนั้นเรื่องเทคโนโลยีสำหรับซีไอโอนั้นกำลังจะมีความสำคัญน้อยลงทุกที” คริส กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตามในขณะที่เทคโนโลยีอาจจะไม่ได้เป็นจุดโฟกัสของแผนงานนี้ แต่เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างแท้จริงเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็น คลาวด์ส่วนตัว คลาวด์ประเภทไฮบริด หรือ คลาวด์สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบนแพลตฟอร์มของไอทีแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงนี้ที่มีผลต่อไอทีที่กำลังถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดบริการใด ๆ

"ซีไอโอทั้งหลายในวันนี้ควรจะมุ่งเน้นไปที่ทางเลือกของพวกเขาว่า ไอทีสามารถช่วยองค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างไร การประยุกต์ใช้ไอที แผนงานด้านไอที และ กลยุทธ์ด้านไอทีในวันนี้ควรจะมองว่าเป็นตัวจุดประกายในเรื่องใดได้บ้าง

เมื่อระบบไอทีขององค์กรต่าง ๆ ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองที่เคยเน้นหนักในเรื่องของเทคโนโลยีมาเป็นการบริหารในเชิงธุรกิจมากขึ้น ซีไอโอควรจะมุ่งไปที่การใช้ไอทีเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้แนวคิด [ไอทีแบบไร้เทคโนโลยี]" กล่าวโดย คลาวส์ มอร์เทนเซน หัวหน้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยเทคโนโลยีเกิดใหม่ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก