เนื้อหาวันที่ : 2011-02-03 16:22:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2197 views

แอร์บัสคาดอีก 20 ปี ความต้องการเครื่องบินพุ่งแตะ 2.6 หมื่นลำ

แอร์บัสคาดการณ์ ความต้องการเครื่องบินกว่า 26,000 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมกลับคืนสู่สภาวะปกติ พร้อมทั้งความต้องการเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แอร์บัสคาดการณ์ ความต้องการเครื่องบินกว่า 26,000 ลำในอีก 20 ปีข้างหน้า การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ภาคอุตสาหกรรมกลับคืนสู่สภาวะปกติ พร้อมทั้งความต้องการเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แอร์บัส โกลบอล มาร์เก็ต ฟอร์คาสต์ (GMF) รายงานว่าในช่วงพ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2572 ความต้องการเครื่องบินโดยสาร และเครื่องบินขนส่งสินค้าจะมีมากกกว่า 26,000 ลำ ซึ่งมีมูลค่าถึง 3.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ความต้องการนี้เกิดจากเครื่องบินรุ่นเก่าที่ต้องปลดระวางและแทนที่ด้วยเครื่องบินรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดกว่าในตลาดที่มีการเติบโตอย่างเต็มที่ รวมไปถึงตลาดใหม่ที่กำลังเติมโต สายการบินต้นทุนต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชีย พร้อมทั้งตลาดการค้าเสรี และเส้นทางปัจจุบันที่มีประสิทธิภาพในการเติบโตเป็นอย่างมาก

รายงาน GMF ของปีพ.ศ. 2553 คาดว่าจะมีการส่งมอบเครื่องบินโดยสารใหม่ถึง 900 ลำ หรือ4.8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2552 ที่ 4.7เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเครื่องบินส่วนใหญ่เป็นเครื่องบินแบบทางเดินเดี่ยวที่รวมถึงเครื่องบินแอร์บัสตระกูล เอ 320

จากความต้องการเครื่องบินโดยสาร และเครื่องบินขนส่งสินค้ากว่า 26,000 ลำ จำนวนประมาณ 25,000 ลำเป็นความต้องการเครื่องบินแบบโดยสาร ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 2.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากจำนวน 25,000 ลำนี้ 10,000 ลำจะข้ามาแทนที่เครื่องบินเก่าที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยกว่า และอีก 15,000 ลำ สำหรับการรองรับการเติบโต ปัจจุบันนี้มีเครื่องบินโดยสารมากกว่า 14,000 ลำ และเครื่องบินโดยสารทั่วโลกจะมีตัวเลขที่สูงขึ้นถึง 29,000 ลำในพ.ศ. 2572

“การฟื้นตัวนั้นเป็นไปได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงการกลับคืนสู่สภาพเดิมจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำลง และความต้องการที่จะโดยสารทางเครื่องบิน” มร.จอห์น เลฮีย์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการลูกค้าสัมพันธ์กล่าว “ในส่วนของเครื่องบินแบบทางเดินเดียวนั้นมีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก และเครื่องบินเอ 320 นีโอได้ตอบสนองความต้องการในอนาคตด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด

ในขณะเดียวกันยังคงคุณสมบัติความเหมือนกันในระบบบังคับการบินของเครื่องบินแอร์บัส ตระกูลเครื่องบินทั้งหมดของเรานั้นอยู่ในสามารพตอบสนองความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตยั่งยืนในทศวรรษหน้า

อัตราการโดยสารทางอากาศ การเดินทางภายในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกจากผลรวมรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อกิโลเมตร (Revenue Passenger Kilometres – RPKs) (ประมาณ 11.3 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยการเดินทางภายในประเทศจีน (ประมาณ 8.4 เปอร์เซ็นต์) การเดินทางภายในทวีปยุโรป (ประมาณ 7.2 เปอร์เซ็นต์) และเส้นทางจากสหรัฐฯ สู่ยุโรปตะวันตก (ประมาณ 5.9 เปอร์เซ็นต์)

ทางด้านอัตราการเติบโตของการโดยสารทางอากาศนั้น ตลาดที่กำลังเติบโตนั้นเป็นผู้นำด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การเติบโตของการเดินทางภายในประเทศอินเดีย (ประมาณ 9.2 เปอร์เซ็นต์) ถือรวดเร็วที่สุดในตลาดชั้นนำ และเติบโตเร็วที่สุดในอันดับที่ 3 จากตลาดทั้งหมด ตามหลังการโดยสารทางอากาศระหว่างตะวันออกกลางและอเมริกาใต้ และโดยสารทางอากาศระหว่างอาฟริกาเหนือและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี 7 อันดับจาก 20 อันดับที่มีการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดนั้นคือเส้นทางที่เชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีนกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

“สายการบินต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมไปถึงประเทศจีนและอินเดีย จะทำการรับ-ส่งผู้โดยสารมากกว่าหนึ่งในสาม (ประมาณ 33 เปอร์เซ็นต์) ของการโดยสารทางอากาศ เมื่อถึงพ.ศ. 2572 ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกลายเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยยุโรป (ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์) และอเมริกาเหนือ (ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์)” มร. คริส อีเมอร์สัน หัวหน้าวางกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ และการพยากรณ์การตลาดกล่าว

ด้วยเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้สายการบินได้รับประโยชน์ของเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ในการรองรับการเติบโตของการโดยสารทางอากาศ ลดความหนาแน่นภายในสนามบินให้มากที่สุด ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธภาพในการรักษาสิ่งแวดล้อม

การบินขนส่งสินค้ามีอัตราฟื้นตัวรวดเร็วขึ้นกว่าการเติบโตของการบินโดยสาร (ประมาณ 5.9 เปอร์เซ็นต์) โดยในพ.ศ. 2553 ส่วนการบินขนส่งมีการคาดหวังที่จะกลับขึ้นมาสู่ 18 เปอร์เซ็นต์ ก่อนที่ระดับการเติบโตจะคงที่ในปลายพ.ศ. 2554 เมื่อรวมกับการเปลี่ยนฝูงบินใหม่ ทำให้คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการเครื่องบินขนส่งประมาณ 2,980 ลำ โดยแบ่งเป็นเครื่องบินใหม่ 870 ลำ มูลค่า 211 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และอีก 2,110 ลำ เป็นการเปลี่ยนเครื่องบินโดยสารมาเป็นเครื่องบินขนสินค้า

ความต้องเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่มาก (VLA: Very Large Aircraft) สำหรับเครื่องบินโดยสาร และเครื่องบินขนส่งเหมือนกับเครื่องบิน เอ 380 นั้นมากกว่า 1,700 ลำ และมูลค่ามากกว่า 570 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่า และ 7 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเครื่อง) และเครื่องบินประมาณ 1,320 ลำ จะทำการเชื่อมต่อกับบรรดาเมืองใหญ่หรือที่เรียกว่า Mega cities

ในส่วนของเครื่องบินทางเดินคู่ (รองรับผู้โดยสารได้ 250 ถึง 400 ที่นั่ง) ทั้งแบบโดยสารและแบบขนส่งสินค้า กว่า 6,240 ลำ จะถูกทำการจัดส่งในอีก 20 ปีข้างหน้า รวมมูลค่ากว่า 1,340 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่า และ 24 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวาเครื่อง)

โดยแบ่งเป็นเครื่องบินทางเดินคู่ขนาดเล็ก (บรรจุที่นั่งผู้โดยสาร 250 ถึง 300 ที่นั่ง) ประมาณ 4,330 ลำ และเครื่องบินทางเดินคู่ขนาดกลาง (บรรจุที่นั่งผู้โดยสาร 350 ถึง 400 ที่นั่ง) ประมาณ 1,910 ลำ ซึ่งเครื่องบินตระกูล เอ 330/เอ 340 นั้นรองรับความต้องการนี้ และจากปีพ.ศ. 2556 เครื่องบินตระกูลเอ 350 เอ็กซ์ดับบลิวบีจะสามารถรองรับตลาดเครื่องบินทางเดินคู่ได้ทั้งหมด

ในกลุ่มของเครื่องบินทางเดินเดี่ยวเกือบ 17,900 ลำ มีมูลค่า 1,274 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (40 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่า และ 69 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเครื่องบิน) จะถูกส่งมอบในอีก 20 ปีข้างหน้า มากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ครั้งก่อนเนื่องมากจากความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในเครื่องบินแบบทางเดินเดี่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สายการบินต้นทุนต่ำ และการเพิ่มเที่ยวบินอย่างเสรี