เนื้อหาวันที่ : 2011-01-24 16:46:36 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 623 views

คลังเผยผลการดำเนินการาบริหารจัดการหนี้สาธารณะ

ผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนธันวาคม 2553 และรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2553

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนธันวาคม 2553 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ดังนี้

ผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ
1. การกู้เงินภาครัฐ
1.1 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐบาล
การกู้เงินในประเทศของรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2553
          ในเดือนธันวาคม 2553 กระทรวงการคลังได้เบิกเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 100,940.09 ล้านบาท และกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 17,000 ล้านบาท
 
 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ทำการกู้เงินรวม 165,961.04 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
1. การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 53,020.95 ล้านบาท
 2. การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 112,940.09 ล้านบาท 

1.2 ผลการกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
          การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนธันวาคม 2553 ในเดือนธันวาคม 2553 รัฐวิสาหกิจได้กู้เงินในประเทศรวมกันทั้งสิ้น 4,684.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2,597.45 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีจำนวนรวม 7,421.25 ล้านบาท
 
2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ
2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาล
          การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในเดือนธันวาคม 2553 ในเดือนธันวาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรที่ออกภายใต้ พ.ร.ก. ช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ระยะที่สอง (FIDF 3) โดยการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรออมทรัพย์โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 8,000 ล้านบาท
โดยนำเงินที่ได้ชำระคืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF 1 และ FIDF 3) ต่อไป ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้จำนวนดังกล่าวจะไม่ปรากฏในตารางที่ 3 เนื่องจากจะเป็นการนับซ้ำกับ การปรับโครงสร้างหนี้ที่ได้รายงานไปแล้วในเดือนสิงหาคม 2553
 
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
          ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2554 กระทรวงการคลังดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 8,000 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างเงินกู้ชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ FIDF 3 จำนวน 2,000 ล้านบาท และโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 6,000 ล้านบาท
 
2.2 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในเดือนธันวาคม 2553
          ในเดือนธันวาคม 2553 รัฐวิสาหกิจได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศรวมกันเป็นเงิน 1,573 ล้านบาท ลดลง จากเดือนก่อนหน้า 1,110.77 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจในช่วง 3 เดือน ที่ผ่านมา มีจำนวนรวม 7,686.77 ล้านบาท
 
3. การชำระหนี้ภาครัฐ
          ในเดือนธันวาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 13,950.07 ล้านบาท ดังนี้
          - ชำระหนี้ในประเทศ 13,851.82 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 3,423 ล้านบาท และดอกเบี้ย 10,428.82 ล้านบาท
          - ชำระหนี้ต่างประเทศ 80.29 ล้านบาท โดยเป็นการชำระต้นเงิน 64.16 ล้านบาท ดอกเบี้ย 14.92 ล้านบาท และค่าธรรมเนียม 1.21 ล้านบาท
 
ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมรวม 26,328.22 ล้านบาท 1,060,120.57 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 171,084.44 ล้านบาท และ หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 30,611.16 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะลดลงสุทธิ 35,153.35 ล้านบาท
โดยหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง 12,255.27 ล้านบาท 4,267.45 ล้านบาท และ 31,481.04 ล้านบาท ตามลำดับ โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 12,850.41 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้น ไม่มีหนี้คงค้าง รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 6 โดยรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะ มีดังนี้

1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง
1.1 หนี้ในประเทศ
          หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 12,850.41 ล้านบาท โดยที่สำคัญเกิดจาก
          - การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 20,020.95 ล้านบาท 
          - การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 พ.ศ. 2545 (FIDF 3) โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล 12,000 ล้านบาทโดยนำเงินที่ได้ไปชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นของ FIDF 3 จำนวน 4,011.81 ล้านบาท และส่วนที่เหลือจะนำไปชำระคืนเงินทดรองจ่ายจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (Premium FIDF1 และ FIDF 3) ต่อไป
          - การเบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 6,000 ล้านบาท

1.2 หนี้ต่างประเทศ
          หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลงจากเดือนก่อน 1,583.73 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 67.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
          - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 65.70 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินยูโรได้มีการไถ่ถอนประมาณ 0.94 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 1.25 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายประมาณ 25.48 ล้านเยน หรือคิดเป็น 0.29 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 0.71 ล้านเหรียญสหรัฐ
 
2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน
2.1 หนี้ในประเทศ
2.1.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 2,886.02 ล้านบาท โดยเกิดจาก
          - องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ได้ไถ่ถอนพันธบัตรรวม 2,000 ล้านบาท 
          - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 886.02 ล้านบาท
2.1.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้น 3,042.30 ล้านบาท โดยเกิดจาก
          - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ไถ่ถอนพันธบัตร 90 ล้านบาท 
          - รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันมีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่า ชำระคืนต้นเงินกู้ 224.20 ล้านบาท 
          - บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำการยกเลิกสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินเหรียญสหรัฐ จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแปลงกลับมาเป็นสกุลเงินบาท 3,356.50 ล้านบาท

2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 6,031.59 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 244.77 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
          - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 225.90 ล้านเหรียญสหรัฐ 
          - สกุลเงินเยนได้มีการเบิกจ่ายน้อยกว่าการไถ่ถอนประมาณ 1,367.12 ล้านเยน หรือคิดเป็น 16.67 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 2.20 ล้านเหรียญสหรัฐ
          โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ
 
          ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
 
2.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลงจากเดือนก่อน 6,379.96 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 249.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
          - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 128.56 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินยูโรได้มีการไถ่ถอนประมาณ 8.81 ล้านยูโร หรือคิดเป็น 11.56 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - สกุลเงินเยนได้มีการไถ่ถอนประมาณ 769.45 ล้านเยน หรือคิดเป็น 9.15 ล้านเหรียญสหรัฐ
          - บริษัท ปตท. (จำกัด) มหาชน ได้ทำการยกเลิกสัญญาแลกเปลี่ยนสกุลเงินเหรียญสหรัฐ จำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแปลงกลับมาเป็นสกุลเงินบาท 3,356.50 ล้านบาท
          โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ
 
          ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาล ไม่ค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
 
3. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 
3.1 หนี้ในประเทศ
          หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลง 4,044.49 ล้านบาท โดยเกิดจาก
          - ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 1,000 ล้านบาท
          - รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการชำระคืนต้นเงินกู้ 3,044.49 ล้านบาท

3.2 หนี้ต่างประเทศ
          หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ลดลงจากเดือนก่อน 222.96 ล้านบาท และเมื่อคิดในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 9.27 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก
          - ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.98 ล้านเหรียญสหรัฐ 
          - สกุลเงินเหรียญสหรัฐได้มีการไถ่ถอนประมาณ 1.29 ล้านเหรียญสหรัฐ
          โดยรายละเอียดหนี้ต่างประเทศรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ในสกุลเงินต่างๆ
 
          ทั้งนี้ หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำแนกเป็นสกุลเงินต่างๆ
 
4. หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 
          หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลง 31,481.04 ล้านบาท เนื่องจากการไถ่ถอนพันธบัตรในส่วนที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันจำนวน 31,000 ล้านบาท และการลดลงของหนี้สินหมุนเวียน

          หนี้สาธารณะ จำนวน 4,166,321.98 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 351,167.56 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.43 และหนี้ในประเทศ 3,815,154.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.57 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 4,048,819.51 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.18 และหนี้ระยะสั้น 117,502.47 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.82 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง