เนื้อหาวันที่ : 2010-12-22 16:01:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1329 views

ไฟร์ฟลาย ชี้คนไทยใช้ Social Media เพื่อแสดงตน

ผลวิจัยทั่วโลกเผยพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ต้องการการยอมรับและการเห็นด้วย แนะ 10 กฎการมีส่วนร่วม


ผลวิจัยทั่วโลกเผยพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ต้องการการยอมรับและการเห็นด้วย แนะ 10 กฎการมีส่วนร่วม


ผลวิจัยทั่วโลกเปิดเผยพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย ชี้ให้เห็นทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย กฎ 10 ประการของการมีส่วนร่วมสำหรับแบรนด์ในสื่อสังคมออนไลน์
 
บริษัท ไฟร์ฟลาย มิลวาร์ด บราวน์ จำกัด (Firefly Millward Brown) ผู้ให้บริการวิจัยการตลาดเปิดเผยผลการวิจัยจากการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative study) ซึ่งมีขึ้นทั่วโลกเป็นครั้งแรกว่าผู้บริโภคมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อ แบรนด์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างไร


ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 15 ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาซึ่งมีการศึกษาในหัวข้อดังกล่าว  ในขณะที่ทัศนคติและพฤติกรรมต่าง ๆของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความเป็นสากลทั่วโลก  รายงานของไฟร์ฟลายพบคุณลักษณะอันโดดเด่นซึ่งแสดงให้เห็นความแตกต่างของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทยจากผู้ใช้ฯ ในประเทศอื่น


รายงานภายใต้หัวข้อ “ภาษาแห่งความรักในสื่อสังคมออนไลน์ (The Language of Love in Social Media)” พบว่าผู้บริโภคชาวไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความรู้สึกของการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  สำหรับคนไทย สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการแสดงตัวตนภายในกลุ่ม และพวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อตอบสนองความต้องการในการได้รับการยอมรับและการเห็นด้วย  สิ่งนี้มีความแตกต่างกับประเทศอื่นซึ่งสื่อสังคมออนไลน์ถูกนำมาใช้ในการโปรโมทตนเองหรือเพื่อแสดงบุคลิกลักษณะเฉพาะ


ผลการวิจัยที่สำคัญ
ทั่วทั้ง 15 ประเทศ การวิจัยของฟลายไฟร์แสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในแต่ละประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นธรรมชาติที่คล้ายคลึงกันอย่างแท้จริงของสื่อสังคมออนไลน์


หนึ่งในผลการวิจัยที่สำคัญคือผู้บริโภคทุกที่ทั่วโลกไม่ต้องการให้บริษัททำตัวเหมือนบริษัท  พวกเขาต้องการให้บริษัทเป็นเหมือนกับเพื่อนของพวกเขา  การทำเช่นนี้ ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคในสื่อสังคมออนไลน์


นายศรีราม ซามาลา ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเชิงคุณภาพ ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไฟร์ฟลาย (Sreeram Samala, Firefly’s Head of Qualitative in South East Asia)   กล่าวว่า “ผู้บริโภคไม่ชอบแบรนด์และบริษัทที่พูดถึงแต่ตนเองในสื่อสังคมออนไลน์และปรารถนาให้แบรนด์ต่าง ๆ มีความโปร่งใสมากขึ้น


“ผลการวิจัยของไฟร์ฟลายพบว่าผู้บริโภคต้องการบทสนทนาซึ่งแบรนด์ต่าง ๆ ฟังสิ่งที่พวกเขาพูดมากกว่าพยายามส่งข้อมูลออกมาโดยไม่คำนึงว่าผู้บริโภค คิด รู้สึกและต้องการอะไร  พวกเขาไม่ชอบเล่ห์กลในการขายสินค้าและต้องการให้บริษัทต่าง ๆ มีความซื่อสัตย์ รวมทั้งเปิดใจรับทั้งข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขา  หลายคนที่ไฟร์ฟลายได้สัมภาษณ์กล่าวว่าพวกเขาต้องการแบรนด์ที่มี “ความเป็นมนุษย์”


“ผู้บริโภคชาวไทยเปิดเผยถึงความรู้สึกมีส่วนร่วมต่อชุมชนและพวกเขารู้สึกว่าสื่อสังคมออนไลน์เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เป็นสมาชิกของกลุ่ม  ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเป็นตัวผลักดันพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเมื่อพวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์  สิ่งที่ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ชาวไทยมีความกลัวมากที่สุดคือนักการตลาดเปลี่ยนสื่อสังคมออนไลน์จากชุมชนมาเป็นตลาด”


“ผู้บริโภคชาวไทยแสดงให้เห็นความต้องการอย่างมากในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ดังนั้น เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มของพวกเขา การเลือกแบรนด์กลายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก”


“ผู้บริโภคชาวไทยยังต้องการมีส่วนร่วมภายในกลุ่มและต้องการแสดงตัวตนของตนเอง  ดังนั้น พวกเขาจึงเห็นว่าสื่ออย่างเฟซบุ๊ก (Facebook)  เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม ที่จะให้พวกเขาได้แบ่งปันความคิดเห็นและคำวิพากษ์วิจารณ์  ซึ่งตรงข้ามกับทวิตเตอร์  จำนวนคำที่จำกัดถูกมองว่ามีความเหมาะสมน้อยกว่าที่จะเป็นสื่อทางเลือกสำหรับสื่อข้อมูลข่าวสารและแบ่งปันความคิดเห็นและความรู้สึกของพวกเขา” นายศรีรามกล่าว


จากผลการวิจัยของไฟร์ฟลาย บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยกำลังพยายามหาคำตอบว่าสื่อสังคมออนไลน์มีประสิทธิภาพหรือไม่ และพวกเขาไม่เข้าใจกฎของการมีส่วนร่วม


มีความสับสนว่าใครควรรับผิดชอบ และมีความรู้สึกว่าพวกเขาขาดข้อมูลที่ชัดเจนที่จะนำมาแบ่งปัน  ดังนั้น หลายบริษัทจึงเอาตัวออกห่างจากสื่อสังคมออนไลน์หรือกระโดดเข้ามาโดยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงผลกระทบที่สังคมนี้จะมีต่อ  แบรนด์ของพวกเขา


“บริษัทในประเทศไทยไม่มีทีมงานและทรัพยากรที่จะจัดการกับแบรนด์ของพวกเขาในสื่อสังคมออนไลน์  พวกเขาพยายามตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์เนื่องจากพวกเขาไม่มีวิธีการในการวัดประสิทธิภาพและผลตอบแทนจากการลงทุนของข้อเสนอดังกล่าว” นายศรีรามให้ความเห็น


การวิจัยมีขึ้นอย่างไร
ผลการวิจัยทั่วโลกประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับองค์กรต่าง ๆ เช่นเดียวกับผู้บริโภคหลายร้อยคนทั่วโลกซึ่งมีอายุระหว่าง 18 ถึง 50 ปี  ในประเทศไทย เราศึกษาข้อมูลในเชิงลึกกับผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จำนวน 30 คนซึ่งถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ “กลุ่มผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับปานกลาง” (ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปริมาณที่น้อยกว่า) และ “กลุ่มผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มาก” (ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปริมาณที่มากกว่า)


ด้วยวิธีการวิจัยทางด้านการตลาดที่แปลกใหม่และมีความคิดสร้างสรรค์  ไฟร์ฟลายเลือกที่จะศึกษาพฤติกรรมของสื่อสังคมออนไลน์จากภายในสื่อสังคมออนไลน์  การวิจัยมีขึ้นโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่บริษัทสร้างขึ้น วิธีการอันสร้างสรรค์นี้ทำให้ไฟร์ฟลายสามารถนำเสนอบริษัทและแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยมุมมองอันสูงค่าในวิธีการที่พวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


กฎแห่งการมีส่วนร่วม
การศึกษาดังกล่าวนำเสนอมุมมองที่ชัดเจนว่าบริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อได้รับความภักดีจากผู้บริโภคในสื่อสังคมออนไลน์ เช่นเดียวกับสิ่งที่พวกเขาควรหลีกเลี่ยง


จากการวิจัย  ไฟร์ฟลายขอแนะนำกฎ 10 ประการในการมีส่วนร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์
1. ไม่สร้างโฮมเพจใหม่ด้วยข้อมูลเดิมในสื่อสังคมออนไลน์   ผู้บริโภคต้องการเห็นสิ่งที่ใหม่ สด หรือแตกต่างจาก แบรนด์ ไม่ใช่การนำข้อมูลเดิมที่พวกเขาได้รับจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแบรนด์มาปรับปรุงใหม่  พวกเขาต้องการให้สื่อสังคมออนไลน์เป็นฟอรั่มซึ่งประสบการณ์จากแบรนด์จะถูกพูดถึงอย่างเปิดเผยและมีการอ้างอิงด้วย  มันเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับฟีดแบ็คที่ซื่อสัตย์ ไม่ใช่การพูดคุยที่ถูกควบคุมโดยแบรนด์


2. ฟังก่อนแล้วค่อยพูด สร้างบทสนทนา  จนถึงปัจจุบัน หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้บริโภคหรือที่ผู้บริโภคคาดหวังจากแบรนด์ก็คือพวกเขามักจะพูดถึงแทนที่จะพูดกับพวกเขา  พวกเขาต้องการบทสนทนาซึ่งแบรนด์จะรับฟังสิ่งที่พวกเขาพูด  ซึ่งเป็นวิธีการสร้างพันธมิตรเพื่อสร้างแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่


3. สร้างความไว้วางใจโดยการเปิดเผยและซื่อสัตย์  ความโปร่งใสเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างความไว้วางใจ  อย่างไรก็ตาม  ผู้บริโภคมองว่าแบรนด์ต่าง ๆ มักอยู่เบื้องหลังนโยบายและขั้นตอนต่าง ๆ มากกว่าการยอมรับความรู้สึกหรือความผิดพลาดของตนเอง  เพื่อให้มีค่าพอที่จะได้รับความไว้วางใจ  หากแบรนด์ต้องการมีชื่อเสียงและได้รับความนิยม พวกเขาควรได้รับความไว้วางใจ


4. ทำให้แบรนด์ของคุณมีหน้ามีตา แบรนด์ต่าง ๆ มักประสบปัญหาในสื่อสังคมออนไลน์เพราะมันไม่มีใครตอบคำถามให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นหน้าเป็นตาสำหรับแบรนด์  สิ่งนี้ทำให้ผู้บริโภคหลายคนไม่มีส่วนร่วมกับบริษัทต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์


5. นำเสนอสิ่งที่มีคุณค่า  ผู้บริโภคมักตอบสนองต่อแบรนด์ที่นำเสนอสิ่งที่เป็นความจริงและจับต้องได้  โดยไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน  ในขณะที่ส่วนลดและคูปองเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความไม่น่าเชื่อถือ  ข้อมูลที่มีคุณค่าและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะหรือข้อมูลภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการเป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับผู้บริโภค


6. มีส่วนร่วม  ผู้บริโภคต้องการเห็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความสนใจ ความปรารถนาและความต้องการของ         พวกเขา  ในสื่อสังคมออนไลน์   ผู้บริโภคจะวิพากษ์วิจารณ์หรือติเตียนข้อมูลที่ดูเหมือนว่าไม่เกี่ยวข้องกับพวกเขาและรู้สึกว่ามันกำลังรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของพวกเขา


7. พูดคุยเหมือนกับเพื่อน ไม่ใช่ในฐานะนิติบุคคล  ผู้บริโภคต้องการแบรนด์ที่สื่อสารด้วยภาษาธรรมดา ๆ ที่เข้าใจได้ง่ายเหมือนกับพูดคุยสนทนากัน  พวกเขาไม่ต้องการการพูดคุยทางด้านเทคนิคหรือการชักจูงให้ซื้อสินค้า


8. เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมได้  เพื่อดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ  แบรนด์ต่าง ๆ จะต้องยินยอมที่จะปล่อยการควบคุมที่พวกเขามีอยู่ในมือมาเป็นเวลานานให้กับผุ้บริโภคบ้างและแบรนด์ควรจะรู้สึกผ่อนคลายกับความจริงที่ว่าพวกเขาไม่สามารถบังคับข้อมูลได้เพียงฝ่ายเดียวอีกแล้ว  แบรนด์ที่เปิดรับข้อมูลจากผู้บริโภคและโปรโมทมันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในการจัดการกับบทสนทนา


9. เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคค้นพบคุณและมาหาคุณ  สิ่งที่แตกต่างจากแคมเปญสื่อทั่ว ๆ ไป คือผู้บริโภคไม่ต้องการรู้สึกว่าแบรนด์กำลัง “ตะโกน” ส่งข้อมูลมายังพวกเขา  พวกเขารู้สึกว่าแบรนด์จะใช้การโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์ที่ “คุกคาม” และ “รบกวน” พวกเขา – ดังนั้นจึงไม่ควรใช้โฆษณาที่เป็นเมล์ขยะหรือมีเนื้อหาที่คุกคาม


10. เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคคุยกับคุณ  แบรนด์มักได้รับคำชมมากกว่าเมื่อให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายริเริ่มและสนับสนุนแบรนด์  อย่างเช่นแคมเปญของโตโยต้าที่เพิ่งออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้คนพูดถึงเรื่องราวของพวกเขาในเฟซบุ๊คและได้ถูกคัดเลือกให้ปรากฏในโฆษณาโทรทัศน์ 


 เป็นตัวอย่างที่ดีที่แบรนด์ไม่ได้พยายามที่จะขายสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่กำลังสร้างความสัมพันธ์โดยการสนับสนุนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในบทสนทนา  ตัวอย่างอีกอันหนึ่งคือเลย์  บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคช่วยคิดรสชาติใหม่ ๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ค