เนื้อหาวันที่ : 2007-02-26 17:16:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1111 views

รัฐฯ "พอเพียง" ดันรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง หนี้อื้อ! หลังหมดวาระ

รัฐบาลขิงแก่ ประกาศเดินหน้านำนโยบาย "เศรษฐกิจพอเพียง" เข็นลงทุกกระทรวง หวังเบียดระบอบ"ทักษิโณมิก" ให้สาบสูญ ตอกย้ำเอาใจคนกรุง ประกาศสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เร่งรัดตอกเสาเข็มในปีนี้ ประชาชนค้านไม่เอารถไฟฟ้า หลังถูกเวรคืนที่ดิน ชี้สร้างหนี้หลายแสนล้านก่อนหมดวาระลงอีกไม่กี่เดือน

รัฐบาลขิงแก่ ประกาศเดินหน้านโบบาย "เศรษฐกิจพอเพียง" ลงทุกกระทรวงหวังปลดล็อกเกียร์ว่างข้าราชการนำทัพขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ประกาศสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เร่งรัดตอกเสาเข็มในปีนี้  ประชาชนค้านไม่เอารถไฟฟ้า หลังถูกเวรคืนที่ดิน ชี้สร้างหนี้หลายแสนล้านก่อนหมดวาระลงอีกไม่กี่เดือน

.

คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง โดยสายแรกเป็นสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เริ่มประกวดราคาเดือนเมษายนนี้ และกำหนดแล้วเสร็จทั้ง 5 เส้นทางภายในปี 2555 รวมระยะทางทั้งหมดของรถไฟฟ้า 222 กิโลเมตร ขณะที่ผลการสำรวจประชาชนในแนวเส้นทางรถไฟฟ้า พบว่าร้อยละ 96 ต้องการให้ก่อสร้างโครงการ ร.ฟ.ท.ออกโรงแจงตอกย้ำความมั่นใจโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง(ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน)ไม่มีปัญหา เชื่อประชาชนที่เข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ก่อสร้างให้ความร่วมมือในการรื้อถอน  ส่วนกระทรวงการคลัง ชี้เงินกู้โครงการรถไฟฟ้าเข้าข่ายลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ได้ทันก่อนเปิดประมูลแน่

 .

พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เริ่มประกวดราคาเดือนเมษายน 2550 และเริ่มก่อสร้างเดือนตุลาคม 2550 กำหนดแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2553 สายสีม่วง บางใหญ่-บางซื่อ ประกวดราคาเดือนพฤษภาคม 2550 ก่อสร้างเดือนธันวาคม 2550 แล้วเสร็จปี 2554 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค เริ่มประกวดราคาเดือนกันยายน 2550 เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2551 กำหนดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2555

 .

ส่วนสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต เริ่มประกวดราคาเดือนตุลาคม 2550 เริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2551 กำหนดแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2555 และสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่ แบริ่ง-สมุทรปราการ เริ่มประกวดราคาเดือนธันวาคม 2550 เริ่มก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2551 กำหนดแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2554 และสายสีแดงช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก เริ่มประกวดราคาเดือนธันวาคม 2550 เริ่มก่อสร้างเดือนมิถุนายน 2551 กำหนดแล้วเสร็จ เดือนพฤศจิกายน 2555

 .

นาย ไมตรี ศรีนราวัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และ แผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดย สนข. จะมีการ รายงานความคืบหน้ากรอบเวลาโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ได้แก่ 1.โครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงิน( ช่วงหัว ลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง(ช่วงบาง ใหญ่-บางซื่อ) 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต-ตลิ่งชัน และช่วง บางซื่อ- มักกะสัน-หัวหมาก) 4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน(อ่อน นุช- สมุทรปราการ) 5.สายสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) ระยะทาง 118 กม. วง เงิน 165,402 ล้านบาท เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)โดยจะรายงานเรื่องการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชน และแผนการดำเนินการของโครงการ ทั้ง 5 สาย

 .

นาย ศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศ ไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร.ฟ.ท. ได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสี แดง( ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ซึ่งจะเริ่มประกวดราคาเดือน เมษายน 2550 (และช่วงบางซื่อ-รังสิต) รวมถึง การก่อสร้างสถานีรถไฟกลางบางซื่อ ที่จะประกวดราคาเดือนตุลาคม 2550 และเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2551 ทั้งนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดง ไม่มีปัญหาในการดำเนินการ และทุกอย่างคงจะเป็นไปตามกรอบระยะเวลาเดิมที่กระทรวงคมนาคมได้นำ เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ส่วนการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง (ที โออาร์) ก็ไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใดเพราะก่อนหน้านี้ รฟท.ได้ศึกษาและเตรียม ความพร้อมมาแล้วถือได้ว่าขณะนี้ทีโออาร์ในส่วนของโครงการดังกล่าวเกือบจะเสร็จ สมบูรณ์

 .

อย่างไรก็ตามเนื่องจากเส้นทางรถไฟสายสีแดงใน นั้น จำเป็นต้องก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้ากลางบางซื่อด้วย ซึ่งจะต้องจัดทำร่างทีโออาร์ต่างหาก แต่งบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างที่คาดว่าจะใช้ ประมาณ 10,000 ล้านบาท นั้นจะรวมอยู่ในงบประมาณเดียวกันกับที่ใช้ในการก่อสร้างรถไฟสาย สีแดงทั้งหมด  ซึ่ง ร.ฟ.ท.มีความพร้อมเป็นอย่างมากในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพราะได้มีการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์แม้ว่าจะมีปัญหา การรื้อถอนที่อยู่อาศัยของประชาชนที่บุกรุกที่ดินของ ร.ฟ.ท.บ้างแต่เท่าที่ได้รับ รายงานก็ไม่มีปัญหาเพราะประชาชนส่วนใหญ่พร้อมจะย้ายออกไป

 .

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวเจบิกเตรียมปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการรถไฟฟ้าของไทย จากร้อยละ 0.75 เป็นร้อยละ 1.5 นั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว และขั้นตอนการเจรจาก็ยังดำเนินอยู่ และเห็นว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าของไทยยังเข้าข่ายในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งลดการใช้พลังงาน ลดปัญหาจราจร ซึ่งเข้าข่ายในการขอกู้จากเจบิก ในการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 0.75 และในเดือนมีนาคมนี้ ผู้บริหารของเจบิกจะเดินทางมาประเมินโครงการรถไฟฟ้า และการเจรจายังดำเนินการไปตามขั้นตอน ก่อนที่จะเริ่มเปิดประมูลตามกรอบเวลา

 .

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-มักกะสัน-หัวหมาก (เชื่อมต่อหัวลำโพง) ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 53,000 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 52,581 ล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 29,160 ล้านบาท

 .

โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย)