เนื้อหาวันที่ : 2010-11-19 09:59:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 640 views

"องกรณ์" ชี้ FTA ไทย-เปรู ช่วยเพิ่มมูลค่าทางการค้าของสองฝ่าย

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยกับเปรูได้ลงนามพิธีสาร เพิ่มเติมฉบับที่ 3 ภายใต้พิธีสารระหว่างไทยกับเปรู เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของทั้งสองฝ่ายให้มีการขยายตัวมากขึ้น 

.

โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ความตกลงนี้ได้ภายในต้นปี 2554 ขณะเดียวกันการลงนามพิธีสารดังกล่าว ทำให้พิธีสารอีก 3 ฉบับที่ได้ลงนามไปก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2548-2552 ไทยจะได้รับประโยชน์จากการที่เปรูยกเลิกภาษีสินค้าทันที รวม 3,985 รายการ หรือร้อยละ 54.2 ของรายการสินค้าทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าสูงถึงร้อยละ 77.17 ของการนำเข้าเฉลี่ยจากไทยในปี 2549-2552 หรือประมาณ 132.24 ล้านเหรียญสหรัฐ 

.

ขณะที่ไทยจะยกเลิกภาษีทันทีให้กับการนำเข้าสินค้าจากเปรู จำนวน 3,844 รายการ หรือร้อยละ 46.3 ของรายการทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 92.16 ของการนำเข้าเฉลี่ยจากเปรูในปี 2549-2552 หรือมูลค่าประมาณ 70.78 ล้านเหรียญสหรัฐ

.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวอีกว่า สินค้าส่งออกของไทยที่จะได้ประโยชน์ทันทีจากการลดภาษีเป็น 0 ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนด้านการนำเข้า เปรูเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร และสินแร่ต่างๆ ได้แก่ สินแร่สังกะสี สินแร่ดีบุก รัตนชาติ ป่าไม้ สินค้าประมง เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดีของผู้นำเข้าไทย ที่จะสามารถนำเข้าวัตถุดิบจากเปรูได้ในราคาถูกลง

.

อย่างไรก็ตาม พิธีสารฉบับนี้ ยังไม่รวมการเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวของไทย รวมทั้งสินค้าปลาป่น ซึ่งเป็นความกังวลของอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 12.8 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมปลาป่นไปแล้วตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ HACCP ของโรงงานผลิตปลาป่น

.

ซึ่งในส่วนของโครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP ได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จ โดยมีโรงงานปลาป่นเข้าร่วม 40 โรงงาน ทำให้คุณภาพปลาป่นของไทยดีขึ้น ซึ่งเชื่อว่าหากในอนาคตไทยจำเป็นต้องเปิดตลาดปลาป่นให้กับเปรู ผู้ประกอบการไทยน่าจะแข่งขันได้อย่างแน่นอน

.
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย