เนื้อหาวันที่ : 2010-11-19 09:38:21 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1346 views

รัฐ-เอกชน ผนึกกำลัง ใช้วิทย์ยกระดับอุตฯ การพิมพ์ไทย

วว.จับมือสมาคมการพิมพ์ไทย ยกระดับมาตรฐานการพิมพ์ทั้งระบบ เสริมเขี้ยวเล็กอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยแข่งขันในตลาดโลก

.

วว.จับมือสมาคมการพิมพ์ไทย ยกระดับมาตรฐานการพิมพ์ทั้งระบบ เสริมเขี้ยวเล็กอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทยแข่งขันในตลาดโลก

.

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์กับ นายพรชัย รัตนชัยกานนท์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย โดยมีระยะเวลาความร่วมมือโครงการ 1 ปี

.

ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันสู่ตลาดโลกของภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ เพิ่มขีดความสามารถห้องปฏิบัติการด้านการทดสอบ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลวิชาการของทั้งสองฝ่าย และยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยทั้งระบบให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553 ณ ห้องประชุม กวท. วว. บางเขน

.

“...เป็นที่น่าภาคภูมิใจว่า ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์ด้านธุรกิจการพิมพ์เกิดขึ้นแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โครงการความร่วมมือซึ่งจะร่วมมือกันในวันนี้ จึงเป็นความเพียรพยายามของภาครัฐและเอกชน

.

เพื่อร่วมมือกันพัฒนาผลงานและเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานของทั้งสองหน่วยงานทางด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์ ซึ่งจะสามารถยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั้งระบบให้ทัดเทียมกับต่างประเทศได้ อันจะนำมาซึ่งรายได้ของประเทศที่สูงตามมาด้วย” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

.

นางเกษมศรี หอมชื่น กล่าวต่อว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสากรรมการพิมพ์สาขาต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และมีขอบข่ายกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากการรวมตัวกันในหมู่ผู้ประกอบการด้านการพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการพิมพ์มรด้านต่างๆ ทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น     

.

การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์จึงมีความเหมาะสม สมาคมการพิมพ์ไทยมีความถนัดด้านวัตถุดิบและการจัดทำรูปแบบสิ่งพิมพ์ แต่มาตรฐานของโลกในปัจจบุนต้องการมากกว่านั้น เช่น คุณภาพของสีที่ใช้พิมพ์ คุณภาพวัสดุที่ใช้พิมพ์ว่ามีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมไหม สามารถรีไซเคิลได้หรือไม่

.

สมาคมการพิมพ์ไทยมีความถนัดด้านวัตถุดิบและการจัดทำรูปแบบสิ่งพิมพ์ แต่มาตรฐานของโลกในปัจจบุนต้องการมากกว่านั้น เช่น คุณภาพของสีที่ใช้พิมพ์ คุณภาพวัสดุที่ใช้พิมพ์ว่ามีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมไหม สามารถรีไซเคิลได้หรือไม่

.

โดย วว. มีความพร้อมให้บริการด้านการทดสอบ/วิเคราะห์/วิจัย โดยเฉพาะการตรวจสอบความเข้มแข็งของบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานสีตามกฎระเบียบสารเคมีใหม่แห่งสหภาพยุโรป (Registration, Evaluation, Authorisation and Restriction of Chemical หรือ REACH) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศผู้ใช้สารเคมีในห่วงโซ่อุปทาน สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบจะถูกส่งไปขายในประเทศต่างๆ ต้องถูกควบคุมด้วยกฎระเบียบดังกล่าว 

.

นอกจากนี้ วว. ยังให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO การแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย และด้วยบทบาทหน้าที่ ศักยภาพ และความพร้อมของทั้งสองหน่วยงาน เชื่อมั่นว่าจะนำมาซึ่งการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการพิมพ์ให้เข้มแข็งได้

.

นายพรชัย รัตนชัยกานนท์ นายกสมาคมการพิมพ์ไทย กล่าวว่า สมาคมการพิมพ์ไทยจะริเริ่มจัดตั้งห้องปฏิบัติการการพิมพ์เป็นของตัวเอง โดยจะใช้ศักยภาพของ วว. เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการ ซึ่งจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์ของประเทศ ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติทั้งนี้ห้องปฏิบัติการการพิมพ์จะช่วยให้สามารถพัฒนาคุณภาพเรื่องหมึกพิมพ์ กระดาษพิมพ์

.

รวมทั้งมาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิมพ์ ซึ่ง วว. มีความพร้อมด้านเครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะนำมาซึ่งการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออกของอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทย

.

นายเกรียงไกร เธียรนุกูล คณะกรรมการบริหาร วว. กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมการพิมพ์ไทยมีความก้าวหน้าในกลุ่มผู้ส่งออกสิ่งพิมพ์นอกประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2552 จำนวน 50,000 ล้านบาท โดยสิ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์คงอยู่ก็คือ เรื่องของคุณภาพ และการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

.

ทั้งนี้ วว. มีความแข็งแกร่งด้านการบรรจุภัณฑ์ และการวิเคราะห์/ทดสอบ/สอบเทียบและด้านมาตรฐานต่างๆ ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้อุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ เป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำ บำบัดของเสียจากโรงงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ครบวงจรและช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ของประเทศต่อไป          

.

ขอบเขตความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว หน่วยงานทั้งสองจะร่วมจัดทำแนวทางข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรม แผนการดำเนินงาน เพื่อให้แผนการดำเนินงานเกิดความสอดคล้องระหว่างองค์กรทั้งสอง พร้อมทั้งจะให้การสนับสนุนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่จะสามารถเปิดเผยได้ ตลอดจนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่กลุ่มเป้าหมาย

.

ทั้งนี้ วว. จะดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบตัวอย่าง ที่ได้รับจากสมาคมการพิมพ์ไทย ตามขีดความสามารถของ วว. และตามวิธีมาตรฐานสากลที่เหมาะสม ตลอดจนรับผิดชอบในการออกใบรายงานผลตามมาตรฐานของ วว. พร้อมนี้ วว. จะให้คำปรึกษาแก่สมาคมการพิมพ์ไทย เกี่ยวกับการจัดทำระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 โดยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา วว.