เนื้อหาวันที่ : 2007-02-26 11:30:57 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1368 views

ปตท.แจง พ.ร.ฎ.แยกอำนาจเวนคืนท่อก๊าซฯ ไม่กระทบธุรกิจ

ปตท.แจง พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ มีผลบังคับที่แยกการกำกับดูแลท่อก๊าซฯ ออกมา ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ไม่มีผลต่อการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด

สำนักข่าวไทยรายงานข่าว ปตท.แจง พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ มีผลบังคับที่แยกการกำกับดูแลท่อก๊าซฯ ออกมา ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ไม่มีผลต่อการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด

.

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่าจากพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 และมีผลใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด 30  วัน นับแต่วันประกาศดังกล่าว หรือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป ทาง ปตท.ขอชี้แจงถึงเนื้อหาที่สำคัญ คือ การกำหนดให้ยกเลิกบทบัญญัติบางมาตราแห่งพระราชกฤษฎีกากำหนด อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 (พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 1) ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542

.

โดย พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 2) กำหนดให้ ปตท. ไม่มีอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ตามบทมาตราต่าง ๆ ในพระราชบัญญัติการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย  ดังนี้ (1) มาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ปตท. ซึ่งเป็นอำนาจในการสำรวจ พัฒนาและผลิตปิโตรเลียมตามที่ได้รับอนุมัติหรือได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรี โดยให้มีสิทธิประโยชน์และหน้าที่เสมือนเป็นผู้รับสัมปทานตามกฎหมาย ว่าด้วยการปิโตรเลียม มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ปตท. ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษในการที่ทรัพย์สินของ ปตท.ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี  

.

ทั้งนี้ ให้อำนาจ สิทธิ และประโยชน์อื่น ๆ ที่กำหนดให้เป็นของ ปตท. ตาม พ.ร.บ.ปตท. เช่น การกำหนดเขตระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ การวาง ระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อไปใต้ เหนือ หรือข้ามที่ดินของบุคคลใด ๆ ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ปตท. ไปเป็นของคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ซึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธาน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3  คน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงาน นโยบายและแผนพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ

.

สำหรับเหตุผลในการตรา พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 2) นี้ เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจได้เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 1) โดยเห็นว่า ปตท. มีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมได้อย่างเท่าเทียมกันกับผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเลียมอื่น  การออกขอเรียนว่า พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 2) นี้ มิได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ปตท.แต่อย่างใด หาก ปตท.มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการต่าง ๆ เช่น การขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ปตท. จะดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการปฏิบัติ ซึ่งคณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ที่ตั้งขึ้นจะเป็นผู้กำหนดต่อไป.