เนื้อหาวันที่ : 2007-02-26 11:23:34 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1825 views

3 รัฐวิสาหกิจ ผนึกกำลังเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

กฟผ. กปน. และ กฟน. ประสานความร่วมมือติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ที่สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ลงทุน 20 ล้านบาท คาดคืนทุนภายใน 2 ปี ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 11 ล้านบาท

.

สำนักข่าวไทยรายงานข่าว  กฟผ. กปน. และ กฟน. ประสานความร่วมมือติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก (Micro Hydro Turbine Generator) ที่สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว ลงทุน 20 ล้านบาท  คาดคืนทุนภายใน 2 ปี ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าปีละ 11 ล้านบาท

.

นายบัญญัติ  จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เป็นประธานในพิธีเปิดการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเครื่องแรกของการประปานครหลวง ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน คือ การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง โดยได้กล่าวชมแนวคิดที่จะใช้พลังงานน้ำในระบบท่อมาผลิตกระแสไฟฟ้า แล้วนำกลับมาใช้ในกิจการ เพื่อลดต้นทุนในการให้บริการของ กปน. และยังช่วยให้ กฟผ.ชะลอการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า ช่วยลดการนำเข้าน้ำมันและเครื่องจักรได้อีกทางหนึ่ง

.

นายไกรสีห์  กรรณสูต ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. เป็นผู้ออกแบบและติดตั้งเครื่อง Micro Hydro Turbine Generator  เพื่อนำพลังงานของน้ำที่คงเหลือในระบบสูบส่งน้ำประปามาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 11 ล้านบาทโครงการดังกล่าวถือเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการสนองตอบนโยบายของภาครัฐที่มีมาตรการให้ทุกหน่วยราชการและองค์กรรัฐวิสาหกิจลดการใช้พลังงาน

.

กฟผ.มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งแห่งความสำเร็จ ในโครงการนำร่องสามประสาน ซึ่ง กฟผ. ได้ใช้ประสบการณ์ในการผลิตไฟฟ้าตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา  ในการออกแบบผลิตและติดตั้ง Micro Hydro Turbine Generator ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ Generator แบบ Induction Generator สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 150 กิโลวัตต์ ต่อยูนิต รวมทั้งสิ้น 450 กิโลวัตต์  ผวก.กล่าว

..

.

นายวิทิต  อาวุชานนท์  ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า กปน. ให้ความสำคัญกับนโยบายการประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก มีการศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดภาระต้นทุน เนื่องจากในการผลิตน้ำประปา ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเครื่องจักรขนาดใหญ่จำนวนมาก กปน.จึงได้ร่วมมือกับ กฟผ. และ กฟน.  ดำเนินการติดตั้ง Micro Hydro Turbine Generator ที่สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าวเป็นโครงการนำร่อง โดยใช้วงเงินลงทุนจำนวน 20 ล้านบาท ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะเข้าสู่ระบบรวมหลังมาตรวัดไฟฟ้า ทำให้สามารถประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น จะทำให้ระบบไฟฟ้าของสถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว มีความมั่นคงสูงหากประสบปัญหาไฟฟ้าดับ หรือกรณีหยุดซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า ก็สามารถจ่ายไฟฟ้าทดแทนได้ประมาณ ร้อยละ 50 ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้อยู่ และคาดว่าหากเดินเครื่องครบ 3 เครื่อง จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 11 ล้านบาท นั่นคือ กปน. จะคุ้มทุนในเวลาไม่เกิน 2 ปี และอุปกรณ์ชุดนี้มีอายุใช้งาน 25 ปี คิดเป็นเงินที่ กปน. สามารถประหยัด ค่าไฟฟ้าได้ 260 ล้านบาท ตลอดอายุอุปกรณ์ 

.

ด้านนายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ( กฟน. ) กล่าวว่า การติดตั้ง Micro Hydro Turbine Generator ให้สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าวในครั้งนี้ จะช่วยให้  กปน. สามารถลดค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้เป็นอย่างมาก  โดยที่ กฟน.จะรับผิดชอบในการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยให้สัมพันธ์กับขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ของ กฟผ. เพื่อจ่ายเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของ กปน.  ซึ่งจะช่วยให้ กปน.บริหารจัดการค่าไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นตัวอย่างในการนำพลังงานที่เหลือใช้ ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการประหยัดพลังงาน ที่มีมาตรการให้ทุกหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจลดใช้พลังงานลงได้เป็นอย่างดี

.

หลังจากโครงการนี้สำเร็จ ทาง กปน.มีแผนที่จะนำไปติดตั้งใช้งานต่อที่สถานีสูบจ่ายน้ำคลองเตยและเพชรเกษมต่อไปกทช.ยืนยันทีโอทีมีสิทธิลงทุนมือถือ 3 จี ผ่านคลื่น 1900 กรุงเทพฯ 25 ก.พ. - กทช. ยืนยันทีโอทีมีสิทธิลงทุนโครงการ 3 จี ได้ โดยใช้คลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ให้บริการไทยโมบาย แต่ไม่ยอมทำเอง กลับเรียกร้องให้ กทช.ประกาศหลักเกณฑ์ลงทุน ขณะที่ไทยโมบายเจอวิกฤติ ลูกค้าลดลงเรื่อยๆ หลังโครงข่ายไม่ครอบคลุม และขาดโปรโมชั่นจูงใจ