เนื้อหาวันที่ : 2010-11-08 11:04:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1481 views

สนพ. ดึงเอกชนผลิตก๊าซชีวภาพใช้แทนแอลพีจี

สนพ. ปกธงหนุนผลิตก๊าซชีวภาพ 300 แห่งทั่วประเทศ ดึงกลุ่มผู้ประกอบการร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร ตั้งเป้า 5 ปี ทดแทนแอลพีจีได้กว่า 16.3 ล้านบาท

.

สนพ. ปกธงหนุนผลิตก๊าซชีวภาพ 300 แห่งทั่วประเทศ ดึงกลุ่มผู้ประกอบการร่วมโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร ตั้งเป้า 5 ปี ทดแทนแอลพีจีได้กว่า 16.3 ล้านบาท

.

สนพ.ย้ำส่งเสริมผลิตก๊าซชีวภาพให้ได้ 300 แห่งทั่วประเทศ คาดผลิตก๊าซชีวภาพได้ 2 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ด้านโตโยต้า เผยเข้าร่วมโครงการส่งเสริม การผลิตก๊าซชีวภาพ ช่วยทดแทนก๊าซแอลพีจีในโรงอาหารได้ถึงปีละ 5,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนบาท

.

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกของการใช้พลังงาน ในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน โดยสนพ. ได้เร่งผลักดันให้มีการ ใช้ก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้น 

.

โดยมุ่งส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในกลุ่มผู้ประกอบการ 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาคปศุสัตว์ ประกอบด้วย ฟาร์มสุกรขนาดเล็ก ฟาร์มสุกรขนาดกลาง-ใหญ่ โรงฆ่าสัตว์ และโรงชำแหละแปรรูปไก่ ภาคอุตสาหกรรม

.

ประกอบด้วย โรงแป้งมัน โรงปาล์ม โรงเอทานอล โรงน้ำยางข้น โรงแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมอื่นๆ และ ภาคชุมชน ส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหารในโรงแรมและสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำก๊าซชีวภาพมาใช้งานแล้วรวม 480 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี คิดเป็นมูลค่า 2,775 ล้านบาทต่อปี และลดปริมาณการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 50 ล้านตัน

.

“กลุ่มสถานประกอบการ อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ เนื่องจากมีปริมาณของเสียจากเศษอาหาร ในแต่ละวันจำนวนมาก ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิง LPG ได้ โดยมีเป้าหมาย 300 แห่ง ในระยะเวลา 5 ปี (2551 – 2556) หรือสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ 2 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี           

.

ซึ่งนอกจากเป็นการช่วยลดปริมาณ ขยะแล้ว ผู้ประกอบการยังได้รับประโยชน์โดยตรงจากการประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านพลังงาน ทั้งยังช่วยประเทศชาติลดการนำเข้าพลังงาน และลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2,800 ตัน รวมถึงยังเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นเหม็น แมลงรบกวน ได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย” นายวีระพล กล่าว

.

นายชาญชัย ทรัพยากร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผู้บริหารโรงงานประกอบรถยนต์ โตโยต้าบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารเหลือทิ้ง โดยได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 1,203,000 ล้านบาท เพื่อสร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพ จากเศษอาหารเหลือทิ้งรวมมูลค่า 1,725,650 ล้านบาท

.

โดยระบบดังกล่าวสามารถรองรับขยะเศษอาหารได้ 500 กิโลกรัมต่อวัน ผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 75 ลบ.ม. ต่อวัน นำมาทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ภายในโรงอาหารได้ปีละ 5,016 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 100,326 บาทต่อปี นอกจากนั้นเศษกากที่เหลือทิ้งจากการผลิตก๊าซชีวภาพ ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยน้ำในปริมาณ 66,900 กิโลกรัมต่อปี คิดเป็นมูลค่า 200,700 บาท

.

“ปัจจุบัน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อใช้ทดแทนก๊าซหุงต้ม LPG ในโรงอาหารของโรงงานฯ, การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อนำมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ภายในโรงงาน และในอนาคตบริษัทฯ มีแผนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล อย่างไรก็ดี พลังงานทดแทนคือจุดเริ่มต้นขออนาคตด้านพลังงานที่มั่นคง อีกทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย” นายชาญชัยกล่าว

.

อนึ่ง จากการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพฯ ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการจำนวนมาก โดย โรงงานประกอบรถยนต์ โตโยต้า บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ก็เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน