เนื้อหาวันที่ : 2010-11-08 09:11:50 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 479 views

ภาวะเศรษฐกิรายสัปดาห์ 1- 5 พ.ย. 2553

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,266.70 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 15.06 พันล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 42.7 ของ GDP  ทั้งนี้  การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 23.89 พันล้านบาท 

.

ในขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน  หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟู  ลดลงสุทธิ 8.57 พันล้านบาท  0.26 พันล้านบาท  และ 4.13 พันล้านบาท ตามลำดับ  ซึ่งสะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคงจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP

.

สินเชื่อเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ ในขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า  

.

บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อเริ่มชัดเจนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้านเงินฝากสถาบันการเงินเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อเดือน จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ทำให้ภาคครัวเรือนมีเงินออมมากขึ้น ประกอบกับการระดมเงินฝากของสถาบันการเงินที่สูงขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในระยะต่อไป

.

ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ  1.5 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปี หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะหดตัวร้อยละ -7.1 จากเดือนก่อนหน้า  ทำให้ไตรมาสที่ 3 ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี 

.

ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ก.ย. 53 ที่ขยายตัวชะลอลงมากเป็นผลมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้างที่ชะลอลง ซึ่งมาจากเหล็กเส้นกลมที่ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี รวมถึงเหล็กเส้นข้ออ้อย ลวดเหล็ก และท่อเหล็กกล้าที่หดตัวร้อยละ -6.6 -11.3 และ -12.8 ต่อปี ตามลำดับ สะท้อนถึงการชะลอตัวของการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์

.

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนก.ย.53 เกินดุลที่ 2,767 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากการเกินดุลการค้าในระดับที่สูงที่ 3,243 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลที่ประมาณ 476 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  โดยดุลการค้าที่เกินดุลในระดับที่สูงมาจากมูลค่าการส่งออกที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ 17,995 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

.

โดยเฉพาะการส่งออกในหมวดสินค้ายานยนต์ ยางพารา ผลิตพันธ์ปิโตรเลียม และเครื่องใช้ไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงจากการนำเข้าน้ำมันดิบและทองที่ลดลงได้ส่งผลให้ดุลการค้าปรับตัวขึ้นไปในระดับที่สูงด้วยเช่นกัน

.

ทั้งนี้ ดุลบริการ เงินโอน และรายได้ที่ขาดดุลมาจากรายจ่ายผลประโยชน์การลงทุนที่ยังคงสามารถอ่านเอกสารโดยละเอียดได้จากเอกสารประกอบอยู่ในระดับที่สูงแม้ว่ารายรับจากการท่องเที่ยวและรายรับจากผลประโยชน์การลงทุนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว

.
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง