ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยปิดฉากไตรมาสสามของปี เติบโตสูงถึง 123% ส่งสัญญาณคึกคักรับเศรษฐกิจฟื้น ยอดจดทะเบียนสะสม 9 เดือนกว่า 1.4 ล้านคัน
. |
ตลาดรถจักรยานยนต์ไทยปิดฉากไตรมาสสามของปี เติบโตสูงถึง 123% ส่งสัญญาณคึกคักรับเศรษฐกิจฟื้น ยอดจดทะเบียนสะสม 9 เดือนกว่า 1.4 ล้านคัน |
. |
ฮอนด้า สกู๊ปปี้ ไอ แรง ครองแชมป์ความนิยมสูงสุดเดือนปิดไตรมาสสาม ค่ายฮอนด้า เสริมทัพความยิ่งใหญ่ ขย่มตลาดสองล้อเป็นผู้นำตลาดหัวฉีดรายแรก หวังกวาดความนิยมครบทุกเซกเมนต์ |
. |
ภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ไทยปิดฉากไตรมาสสามของปี เติบโตสูงถึง 123% ส่งสัญญาณคึกคักรับเศรษฐกิจหน้าขายปลายปี ด้วยยอดจดทะเบียนสะสม 9 เดือนแรกของปีที่ 1,404,626 คัน โดยฮอนด้าเจ้าเดียวโตขึ้นถึง 127% เมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า ด้วยยอดจดทะเบียนสะสม 954,901 คัน เทียบเท่าสัดส่วน 68% จากสัดส่วนปีที่แล้วที่ 66% ขณะที่ตลาด เอ.ที กวาดไปสูงที่สุดนำโด่งทุกเซกเมนต์ที่ 136% หรือเทียบเท่า 716,848 คัน |
. |
ล่าสุดส่ง 2 รุ่นสนองตอบความต้องการความร้อนแรงสไตล์สปอร์ตอย่าง CBR150R และ CBR250R หลังจากปีที่ผ่านมาส่งรถจักรยานยนต์ระดับโลก PCX สร้างกระแสความคึกคักในตลาด คาดกระตุ้นตลาดในปีนี้ให้คึกคักขยายกลุ่มผู้ใช้ให้กว้างขึ้น โดย CBR150R จะเริ่มวางตลาดทั่วประเทศในวันที่ 10 พฤศจิกายนนี้ พร้อมเชิญให้ไปพบกับ CBR150, CBR250 และ PCX ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่งาน Motor Expo เมืองทองธานี |
. |
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยถึงสภาพตลาดรถจักรยานยนต์ว่า “เหตุผลส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ตลาดรถจักรยานยนต์ในเมืองไทยเติบโตขึ้นนี้ สาเหตุหลักคงมาจากการที่บรรดาค่ายผู้ผลิตต่างโหมกระตุ้น และสร้างความตื่นตัวให้กับตลาด โดยเฉพาะค่ายฮอนด้าเอง |
. |
ด้วยในฐานะของผู้นำตลาด ฮอนด้าได้เตรียมส่งความหลากหลายของสินค้า ในทุกโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นในประเภทรถครอบครัว รถเอ.ที และล่าสุดกับรถสปอร์ต เพื่อเติมเต็มในทุกส่วนของความต้องการของผู้บริโภค และเติมเต็มให้เหนือยิ่งกว่า ด้วยการตอบสนองในส่วนที่เหนือความต้องการเพื่อมุ่งเปิดเซกเมนต์ใหม่ๆ ขยายตลาดรถจักรยานยนต์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น” |
. |
ด้านตัวเลขสะสม 9 เดือนแรกของปีของตลาดรถจักรยายนต์เมืองไทย มียอดจำหน่ายรวมที่ 1,404,626 คัน แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบ เอ.ที 716,848 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 51%, แบบครอบครัวที่ 643,927 คัน หรือเทียบเท่าสัดส่วนตลาด 46%, แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ตมีจำนวน 18,718 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 1%, แบบสปอร์ต 6,998 คัน และแบบออฟโรดรวมประเภทอื่นๆ 18,135 คัน |
. |
หากแบ่งแยกตามประเภทของผู้ผลิต ฮอนด้ามียอดจดทะเบียนที่ 954,901 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 68%, ยามาฮ่า 366,499 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 26%, ซูซูกิ 51,070 คัน อัตราครองตลาด 4%, อื่นๆ ได้แก่ คาวาซากิ 16,634 คัน อัตราครองตลาด 1% , เจอาร์ดี 237 คัน, แพล็ตตินั่ม 565 คัน, ไทเกอร์ 1,577 คัน และอื่นๆ 13,143 คัน |
. |
สำหรับรายงานตัวเลขตลาดรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเดือนกันยายน 2553 มียอดจำหน่ายรวมที่ 152,366 คัน แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์แบบเอ.ที 78,617 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 52% ซึ่งขึ้นนำรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวที่มียอดจดทะเบียนที่ 70,788 คัน หรือเทียบเท่าสัดส่วนตลาด 46% สำหรับรถจักรยานยนต์ในแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ตมีจำนวน 631 คัน, แบบสปอร์ต 421 คัน และแบบออฟโรดรวมประเภทอื่นๆ 1,909 คัน |
. |
ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิตในเดือนกันยายน รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 102,672 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 67%, ยามาฮ่า 40,716 คัน อัตราครองตลาด 27%, ซูซูกิ 5,480 คัน อัตราครองตลาด 4%, อื่นๆ ได้แก่ คาวาซากิ 1,642 คัน , เจอาร์ดี 11 คัน, แพล็ตตินั่ม 87 คัน, ไทเกอร์ 177 คัน และอื่นๆ 1,581 คัน |
. |