เนื้อหาวันที่ : 2010-11-01 09:14:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1435 views

กรีนพีซเรียกร้องอินโดนีเซียหยุดถ่านหิน

กรีนพีซเดินหน้าเรียกร้องรัฐบาลอินโดนีเซียเลิกแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน พร้อมหันหน้าใช้พลังงานสะอาด เผยชาวอินโดนีเซียกำลังรับเคราะห์จากการใช้เชื้อเพลิงสกปรกที่สุดในโลก

.

กรีนพีซเดินหน้าเรียกร้องรัฐบาลอินโดนีเซียเลิกแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน พร้อมหันหน้าใช้พลังงานสะอาด เผยชาวอินโดนีเซียกำลังรับเคราะห์จากการใช้เชื้อเพลิงสกปรกที่สุดในโลก

.

กรีนพีซเดินหน้าเรียกร้องต่อรัฐบาลอินโดนีเซียให้ยกเลิกแผนการที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้น และ เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน การเรียกร้องครั้งนี้มีขึ้นระหว่างการเปิดตัวรายงานฉบับล่าสุดที่มีชื่อว่า   Batubara mematikan – บทเรียนราคาแพงของถ่านหินราคาถูก ชาวอินโดนีเซียกำลังรับเคราะห์กรรมจากการใช้เชื้อเพลิงสกปรกที่สุดของโลกชนิดนี้อย่างไร

.

นอกจากนี้ชาวประมงจากหมู่บ้าน Waruduwur และ นักเคลื่อนไหวกรีนพีซยังได้แสดงออกในเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องโดยใช้ผงถ่นหินสีดำทาตัว และคลี่ป้ายผ้าที่มีข้อความว่า "ถ่านหินมรณะ" บนเรือประมงที่ลอยลำอยู่หน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เมือง Cirebon

.

“มลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหินทำลายวิถีชีวิตของผู้คน ชะลอผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อการจับปลา และ กำลังคร่าชีวิตผู้คนอย่างช้าๆ ถ่านหินคือต้นเหตุแห่งหายนะภัยของชุมชนที่ตั้งอยู่รอบๆเหมือง รวมถึงชุมชนที่อยู่ใต้เงื้อมเงาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน การเผาไหม้ถ่านหินยังเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ

.

ปัจจุบันอินโดนีเซียเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยที่สุดของโลก” นายอารีฟ ฟิยันโต ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

.

ในรายงานยังแสดงให้เห็นถึงการที่เหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆอีกด้วย เรื่องราวเหล่านี้เปิดโปงถึงมหันตภัยต่อเนื่องที่เกิดจากการใช้ถ่านหินเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลภาวะ การทำลายวิถีชีวิตผู้คน การเคลื่อนย้ายชุมชน

.

ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและระบบประสาท ฝนกรด หมอกควันพิษ และ ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในการดั้นด้นค้นหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าราคาถูกนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียและภาค อุตสาหกรรมได้เพิกเฉยต่อความจริงที่กำลังเกิดขึ้น

.

ถ่านหินอาจจะดูเหมือนเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ดูจะเหมาะสมที่สุดเพราะมีจำนวนมหาศาล แต่ทว่าขั้นตอนตั้งแต่การเริ่มต้นทำเหมือง การเผาไหม้ ไปจนถึงการจัดการของเสีย และ ในบางกรณีการฟื้นฟูพื้นที่ เหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าถ่านหินได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของมนุษย์ และโครงสร้างทางสังคมของชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเหมือง พืชพันธุ์ และพื้นที่กำจัดของเสีย

.

การเผาไหม้ถ่านหินนอกจากจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลแล้วมันยังทำลายระบบนิเวศและทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อน อีกทั้งยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น มีเทน ซัลเฟอร์ไดออกไซด์  และไนโตรเจนออกไซด์ รวมทั้งสารพิษอีกหลายตัว เช่น สารหนู และสารปรอท ที่ขัดขวางพัฒนาการทางจิตใจและร่างกายของมนุษย์

.

อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตถ่านหินใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก และเป็นผู้ส่งออกอันดับสอง  หลักฐานชัดเจนของผลกระทบร้ายแรงที่เกิดจากการใช้ถ่านหินมีให้เห็นในจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ การทำเหมืองถ่านหินส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของประชาชนและในเมืองอย่าง Kalimantan กับ Samarinda  ซึ่งมีพื้นที่สัมปทานทำเหมืองทั้งหมดร้อยละ 70  ของพื้นที่ทั้งหมด

.

เหมืองถ่านหินตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้าน และ ของเสียจากการทำเหมืองถ่านหินทำให้ทะเลสาบปนเปื้อนสารพิษ  ในเมืองเชอริบอน (Cirebon) และ Cilacap โรงไฟฟ้าถ่านหินได้ทำลายวิถีการดำรงชีวิตของชุมชน และ คุกคามสุขภาพของผู้คน

.

ปัจจุบันอินโดนีเซียมีแผนการที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินอีกประมาณร้อยละ 34.4 ภายในปี 2568 แผนการนี้มีเป้าหมายเพื่อลดการใช้น้ำมันและเปลี่ยนมาใช้ถ่านหินและแก๊สแทน    โดยตั้งเป้าจากพลังงานถ่านหินไว้ที่ 1 หมื่นเมกะวัตต์ แม้ว่าแผนการที่วางไว้นั้นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินจำนวน 35 โรงให้แล้วเสร็จภายในปี 2552  โดย 10 แห่งจะตั้งอยู่บนเกาะชวา และที่เหลือจะกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่แผนการดังกล่าวก็ยังเดินหน้าไปไม่ถึงร้อยละ 60

.

“มันยังไม่สายเกินไป อินโดนีเซียไม่จำเป็นต้องมีถ่านหินเพิ่มมากกว่านี้อีกแล้ว สิ่งที่ประเทศต้องการคือการปฏิวัติพลังงาน พลังงานหมุนเวียนเมื่อรวมเข้ากับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสามารถที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้  ดังที่ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอินโดนีเซียลง  อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และ ความร้อนใต้พิภพมหาศาลที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการพลังงานของประเทศได้ 

.

หากรัฐบาลอินโดนีเซียยอมยกเลิกแผนการใช้พลังงานสกปรกนี้ พวกเขาจะสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานพื้นฐานผ่านแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้เหล่านี้ถึงกว่าร้อยละ 40  ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยหยุดยั้งกระบวนการทำลายมนุษย์และสังคมเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและผลกระทบอันร้ายแรงจากภาวะโลกร้อน นอกจากนี้มันจะเป็นก้าวสำคัญของการร่วมสร้างอนาคตให้กับลูกหลานของเราอีกด้วย” นายอารีฟกล่าวสรุป

.
ที่มา : กรีนพีซ