เนื้อหาวันที่ : 2010-10-29 14:13:15 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1987 views

คลอด "หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน" รับมือราคาผันผวน

ปตท. ผนึกบริษัทในเครือฯ เปิดตัว "หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน" ระดมสมองรับมือราคาน้ำมันผันผวน คาดปี 54 ราคาน้ำมันพุ่งสูง

.

ปตท. ผนึกบริษัทในเครือฯ เปิดตัว "หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน" ระดมสมองรับมือราคาน้ำมันผันผวน คาดปี 54 ราคาน้ำมันพุ่งสูง

.

ปตท. และบริษัทในเครือฯ เปิดตัว "หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน" (Petroleum Outlook Team) ระดมสมองรับมือราคาน้ำมันเพื่อใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ชี้ราคาน้ำมันปี 2554 ยังผันผวนต่อเนื่อง 75 – 90 เหรียญสหรัฐฯ / บาร์เรล พร้อมจัดสัมมนาใหญ่เชิญกูรูด้านเศรษฐกิจและพลังงานวิเคราะห์สถานการณ์ 4 พฤศจิกายนนี้

.

ดร.ปรัชญา ภิญญาวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลายและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. และกลุ่มบริษัทในเครือฯ ซึ่งประกอบด้วยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 

.

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันจัดตั้ง “หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมัน” หรือ Petroleum Outlook Team ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานของ Oil Supply Chain Integration Management (OIM) เพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ตลาดน้ำมัน แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประมวลผล ประเมินราคาและสถานการณ์ และคาดการณ์ราคาน้ำมันขึ้น เพื่อใช้วางแผนทางธุรกิจปิโตรเลียม ทั้งในระยะสั้นและ

.

ระยะยาวระหว่างหน่วยงานทั้งหมด รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นฐานข้อมูลเผยแพร่สู่สาธารณชนและองค์กรอื่นๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการบริหารจัดการทางธุรกิจต่อเนื่อง โดยมีการนำเสนอผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และเว็บไซต์ www.pttplc.com และในอนาคต หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่ม ปตท. มีโครงการที่จะพัฒนาไปสู่การจัดตั้งเป็นสถาบันด้านการวิเคราะห์พลังงานของประเทศต่อไป

.

พร้อมกันนี้ ยังได้ริเริ่มจัดสัมมนา “การวิเคราะห์สถานการณ์ปิโตรเลียมประจำปี ครั้งที่ 1” (1st PTT Group Annual Petroleum Outlook) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเปิดตัวหน่วยงานดังกล่าว พร้อมกับเป็นช่องทางในการนำเสนอผลงานและบทวิเคราะห์ต่างๆ ซึ่งจากนี้ไป จะมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

.

สำหรับกิจกรรมในปีแรกนี้ ได้จัดสัมมนาในหัวข้อ “ถอดรหัสราคาน้ำมัน ปี 2554” หรือ “2011 Decrypting The Oil Trend” ซึ่งประกอบด้วยการนำเสนอการวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ตลาดน้ำมัน ปี 2554 โดยหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่ม ปตท. และการเสวนาโดยกูรูด้านเศรษฐกิจและพลังงานของประเทศ ได้แก่ ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน 

.

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อระดมสมองและแลกเปลี่ยนมุมมองสำหรับจัดเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบและความผันผวนของราคาน้ำมัน

.

สำหรับทิศทางราคาน้ำมันในปี 2554 หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่ม ปตท. คาดว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2554 จะปรับเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องและไม่น่าจะกลับมาสู่ภาวะถดถอยอีก หลังจากรัฐบาลต่างๆ มีการออกมาตรการทั้งด้านการเงินและการคลัง เพื่อสร้างเสถียรภาพและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน 

.

โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นนั้นกว่าครึ่งมาจากภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย สวนทางกับความต้องการใช้น้ำมันของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่อาจจะกลับไปหดตัวอีกครั้ง

.

อย่างไรก็ตาม แม้อุปสงค์น้ำมันโลกจะปรับเพิ่มขึ้น แต่อุปทานก็มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มนอกโอเปกและก๊าซธรรมชาติของกลุ่มโอเปกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กลุ่มโอเปกยังจำเป็นต้องควบคุมกำลังการผลิตให้ใกล้เคียงกับปริมาณที่ผลิตได้ในปัจจุบัน เพื่อสร้างสมดุลทางด้านการตลาด 

.

นอกจากนั้น ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน ภูมิศาสตร์การเมืองระหว่างประเทศ กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ รวมถึงฤดูกาลที่ผันแปร ก็ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในปี 2554 จะมีความผันผวนยิ่งขึ้น

.

จากปัจจัยข้างต้น ทีมวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันกลุ่ม ปตท. ได้คาดการณ์ว่า น้ำมันดิบดูไบจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคา 75 – 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลแต่อาจจะมีโอกาสแตะระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในระยะสั้นๆ หากมีปัจจัยอื่นที่ไม่คาดคิดหรือเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่าที่คาดไว้ เช่น ภัยธรรมชาติ สงครามในตะวันออกกลาง เป็นต้น เข้ามาเกี่ยวข้อง