เนื้อหาวันที่ : 2010-10-27 10:42:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5252 views

ซีพีเอฟโชว์ฟาร์มรักษ์สิ่งแวดล้อม

ซีพีเอฟโชว์ฟาร์มหมูอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปล่อย CO2 ได้กว่า 1.7 แสนตัน / ปี พร้อมยกรีสอร์ทมาไว้ในฟาร์ม ปลูกป่าในพื่นที่ว่างรอบเล้าหมูมากกว่า 17 ปี

.

ซีพีเอฟโชว์ฟาร์มหมูอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดปล่อย CO2 ได้กว่า 1.7 แสนตัน / ปี พร้อมยกรีสอร์ทมาไว้ในฟาร์ม ปลูกป่าในพื่นที่ว่างรอบเล้าหมูมากกว่า 17 ปี

.

นายสัตวแพทย์ ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ (Damnoen Chaturavittawong D.V.M.)รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส (Senior Vice President ) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ (Charoen Pokphand Foods Public Co.,Ltd.- CPF) เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ฟาร์มสุกรของซีพีเอฟได้ร่วมรักษ์โลก                     

.

โดยดำเนินโครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสุกร หรือ ไบโอแก๊ส เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ซึ่งนอกจากจะลดการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซมีเทนที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนออกสู่ชั้นบรรยากาศด้วย

.

“ภาวะวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นหลายพื้นที่ในขณะนี้ สะท้อนว่าสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังต้องการการเยียวยาอย่างเร่งด่วน ซึ่งซีพีเอฟตระหนักดีถึงปัญหานี้ จึงได้พัฒนากระบวนการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี

.

ล่าสุดพบว่า ระบบไบโอแก๊สของฟาร์มสุกรซีพีเอฟ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่โลกเฉลี่ยได้มากถึง กว่า 170,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี หรือ เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ถึง 851,800 ต้นทีเดียว” น.สพ.ดำเนิน กล่าว

.

ขณะเดียวกัน ฟาร์มสุกรของซีพีเอฟ ยังขยายผลการลดโลกร้อนด้วย ‘‘โครงการปลูกต้นไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ฟาร์ม’’ ตั้งแต่ปี 2535 หรือ กว่า 17 ปี โดยการปลูกไม้ยืนต้น อาทิ ต้นสัก ต้นประดู่ และระยะหลังประมาณ 3 ปีมานี้ได้ทำการปลูกต้นยางพารา และต้นปาล์มเพิ่มเติม                     

.

นอกจากนี้ ยังผลักดันให้ทุกๆฟาร์มจัดทำ โครงการสวนหย่อมในฟาร์ม ที่ไม่เพียงเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในฟาร์มให้สวยงาม ชวนมอง แต่ถือเป็นการปฏิวัติภาพลักษณ์ฟาร์มสุกรที่หลายคนอาจติดภาพความสกปรกมาตั้งแต่อดีต ให้กลายเป็นการยกรีสอร์ทมาไว้ในฟาร์มสุกร การปลูกต้นไม้ใหญ่และการทำสวนหย่อมนี้ ถือเป็นหนึ่งในหลักการลดโลกร้อนด้วย

.

นอกจากนี้ เพื่อให้ฟาร์มสุกรอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างฟาร์มได้อย่างมีความสุข ซีพีเอฟจึงพัฒนา ‘‘ระบบฟอกอากาศท้ายโรงเรือน’’ เพื่อช่วยลดกลิ่นจากโรงเรือนสุกร โดยพัฒนารูปแบบระบบฟอกอากาศมาจากประเทศเยอรมันนี ซึ่งระบบนี้จะถูกพัฒนาเพื่อใช้ในฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรต่อไป

.