เนื้อหาวันที่ : 2010-08-16 16:51:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1956 views

ตลาดรถยนต์คึกคักยอดขายเดือนก.ค. ยังพุ่งต่อเนื่อง 52.2%

โตโยต้า เผย ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 65,672 คัน เพิ่มขึ้น 52.2% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 สะท้อนเศรษฐกิจของประเทศมีทิศทางดีขึ้น

.

โตโยต้า เผย ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 65,672 คัน เพิ่มขึ้น 52.2% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 สะท้อนเศรษฐกิจของประเทศมีทิศทางดีขึ้น

.

นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2553 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 65,672 คัน เพิ่มขึ้น 52.2% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 28,780 คัน เพิ่มขึ้น 64.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 36,892 คัน เพิ่มขึ้น 44.0% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 31,115 คัน เพิ่มขึ้น 39.8%

.
ประเด็นสำคัญ 

1.) ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 65,672 คัน เพิ่มขึ้น 52.2% เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงเศรษฐกิจของประเทศที่มีทิศทางดีขึ้น โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 28,780 คัน เพิ่มขึ้น 64.1% เป็นผลมาจากความนิยมต่อเนื่องในตลาดรถยนต์นั่งขนาดเล็ก    

.

ส่งผลให้อัตราการเติบโตของตลาดรถยนต์นั่งโดยเฉลี่ยของปี2553 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 60 ด้านตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มีปริมาณการขาย 36,892 คัน เพิ่มขึ้น 44.0% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประกอบกับการส่งเสริมการขายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

.

2.) ตลาดรถยนต์สะสม 7 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 422,364 คัน เพิ่มขึ้น 53.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 60.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 49.3% เป็นผลมาจากความต่อเนื่องของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่สร้างสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจส่งผลให้รายได้ภาคครัวเรือนดีขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่เหมาะสม และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี

.

3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน สิงหาคม ยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากความนิยมต่อเนื่องในรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์รุ่นใหม่ที่แนะนำมาตั้งแต่ต้นปี ประกอบกับการจัดกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่องของบริษัทรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนรายได้ภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวได้ดีตามการขยายตัวของการผลิตทั้งภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม

.

4.) ด้วยปัจจัยต่างๆที่ส่งผลดีต่อตลาดรถยนต์รวมในประเทศในปีนี้ ส่งผลให้บริษัทรถยนต์ได้ปรับเป้าหมายของตลาดรถยนต์รวมในประเทศในปีนี้ โดยคาดว่าจะสูงถึง 750,000 คัน กอปรกับแนวโน้วภาวะเศรษฐกิจในหลายๆประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้การส่งออกรถยนต์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากความต้องการรถจากลูกค้าในทวีปหลัก ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

.
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2553
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 65,672 คัน เพิ่มขึ้น 52.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 26,206 คัน เพิ่มขึ้น 42.5% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,701 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 17.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,265 คัน เพิ่มขึ้น 42.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.6% 
.

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 28,780 คัน เพิ่มขึ้น 64.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,703 คัน เพิ่มขึ้น 41.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 9,155 คัน เพิ่มขึ้น 34.6% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,497 คัน เพิ่มขึ้น 272.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.2% 

.

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 31,115 คัน เพิ่มขึ้น 39.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 13,837 คัน เพิ่มขึ้น 41.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,789 คัน เพิ่มขึ้น 29.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,532 คัน เพิ่มขึ้น 162.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,231 คัน
โตโยต้า 1,689 คัน- มิตซูบิชิ 852 คัน - อีซูซุ 588 คัน - ฟอร์ด 102 คัน 

.

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,884 คัน เพิ่มขึ้น 37.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,148 คัน เพิ่มขึ้น 42.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,201 คัน เพิ่มขึ้น 29.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,680 คัน เพิ่มขึ้น 154.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.0% 

.
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,892 คัน เพิ่มขึ้น 44.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,503 คัน เพิ่มขึ้น 42.9% ส่วนแบ่งตลาด 42.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,701 คัน เพิ่มขึ้น 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,532 คัน เพิ่มขึ้น 162.9% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
.
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2553
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 422,364 คัน เพิ่มขึ้น 53.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 170,951 คัน เพิ่มขึ้น 50.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 82,253 คัน เพิ่มขึ้น 42.4% ส่วนแบ่งตลาด 19.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 62,047 คัน เพิ่มขึ้น 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 14.7% 
.
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 182,055 คัน เพิ่มขึ้น 60.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 73,235 คัน เพิ่มขึ้น 49.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 56,617 คัน เพิ่มขึ้น 27.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 16,907 คัน เพิ่มขึ้น 527.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.3% 
.
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 204,508 คัน เพิ่มขึ้น 46.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 86,833 คัน เพิ่มขึ้น 48.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 76,637 คัน เพิ่มขึ้น 41.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,350 คัน เพิ่มขึ้น 109.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 21,343 คัน
โตโยต้า 11,016 คัน - มิตซูบิชิ 5,929 คัน - อีซูซุ 3,867 คัน - ฟอร์ด 531 คัน
.
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 183,165 คัน เพิ่มขึ้น 45.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 75,817 คัน เพิ่มขึ้น 50.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 72,770 คัน เพิ่มขึ้น 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 12,461 คัน เพิ่มขึ้น 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.8% 
.

5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 240,309 คัน เพิ่มขึ้น 49.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 97,716 คัน เพิ่มขึ้น 51.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 82,253 คัน เพิ่มขึ้น 42.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 15,351 คัน เพิ่มขึ้น 109.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%