เนื้อหาวันที่ : 2010-08-04 17:11:42 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 502 views

นีลเส็นเผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยหด ในไตรมาส 2

นีลเส็นเผยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยถดถอย ในไตรมาสที่2 ความเชื่อมั่นลด 3 จุดมาที่ระดับ 92 แต่ยังคงขึ้น 11 จุด จากจุดที่ต่ำที่สุดในไตรมาสที่ 1 ของปี่ที่แล้ว                    

.

การสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคทั่วโลกชิ้นล่าสุดจาก นีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทยลดลงเล็กน้อยจากระดับที่ 95 ในไตรมาสที่1 ของปี มาที่ 92 ในขณะที่ระดับความเชื่อมั่นลดลง 3 จุด แต่หากเทียบกับจุดต่ำสุดที่ ระดับ 81 ในไตรมาสที่1 ของปีที่แล้วก็ยังพบว่าเพิ่มขึ้นมามากถึง 11 จุด 

.

คุณแอรอน ครอส กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี ประเทศไทย กล่าวว่า “เราจะเห็นได้ชัดมากว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และไม่น่าแปลกใจเลยที่ ผู้บริโภคดูเสมือนจะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป    

.

เช่น การหาสิ่งบันเทิงนอกบ้าน แต่ในทางกลับกัน การใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เช่นสินค้าอุปโภค บริโภค ยังคงดำเนินไปตามปกติ ข้อมูลของนีลเส็นระบุว่า ยอดขายของสินค้าอุปโภค บริโภค ยังคงเติบโตได้ดีในเชิงปริมาณที่ 3.7 % .ในครึ่งปีแรก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ”

.

หากดูความเชื่อมั่นเฉลี่ยของผู้บริโภคทั่วโลก ในไตรมาสที่ 2 พบว่าเพิ่มขึ้นเพียงหนึ่งจุด มาที่ระดับ 93 เนื่องจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มมากขึ้นจากประเทศในแถบเอเชียได้มาชดเชย กับความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคชาวยุโรปเกี่ยวกับ วิกฤตทางการเงินและหนี้สิน หากดูจากสิบลำดับแรกทั่วโลกที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากที่สุดจะพบว่า หกในสิบอันดับแรกของโลกมาจาก ประเทศในแถบเอเชีย  

.

โดยลำดับแรกของโลกที่พบว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงที่สุดในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้คือ อินเดีย (129 ) อินโดนีเซีย และเวียดนาม ( 119 เท่ากัน ) โดยระดับความเชื่อมั่นของเวียดนามเพิ่มมากที่สุดถึง 18 จุด มาแตะที่ระดับ 119 (ตารางที่ 1 )

.

การสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคในรอบล่าสุดของนีลเส็นนี้ ถูดจัดทำระหว่างวันที่ 10 ถึง 26 พฤษภาคม2553 ท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งผลการสำรวจพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

.
ผู้บริโภคยังคงรู้สึกไม่สดใสกับหนทางข้างหน้า 

ในประเทศไทย ผู้บริโภคจำนวนเจ็ดสิบหกเปอร์เซ็นต์ คิดว่าเศรษฐกิจในประเทศของตนอยู่ในสภาวะถดถอย โดยเพิ่มขึ้นจากระดับที่เจ็ดสิบเอ็ด จากการสำรวจในไตรมาสแรกของปี และในกลุ่มคนที่คิดว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย นีลเส็นพบผู้บริโภคจำนวน ยี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์ เชื่อมั่นว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะสิ้นสุดภายในหนึ่งปี ในขณะที่ อีก สี่สิบสองเปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าภาวะนี้จะยืดยาวเกินหนึ่งปี 

.

ในด้านความคาดหวังในด้านการงาน การสำรวจพบว่าผู้บริโภคชาวไทยหกสิบสองเปอร์เซ็นต์ มีความคิดว่าโอกาสในด้านการงานของตนยังไม่ค่อยดีนัก ในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ เพิ่มขึ้นจาก ห้าสิบหกเปอร์เซ็นต์ใรไตรมาสที่ 1 ของปี

.

สัดส่วนของผู้บริโภคที่มีความมั่นใจกับสถานะทางการเงินของตนว่าดีและดีมากก็ลดลงจาก ห้าสิบสามเปอร์เซ็นต์จากไตรมาสที่ 1 มาที่ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ในไตรมาสที่สอง โดยผู้บริโภคเพียงสามสิบแปดเปอร์เซ็นต์เชื่อว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

.
ผู้บริโภคชาวไทยออมเงินมากลำดับที่สองของโลก

ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่สองของโลก ที่พบคนออมเงินมากที่สุดรองจากฮ่องกง โดยมีผู้บริโภคชาวไทยมากถึง เจ็ดสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ ที่ต้องการออมเงิน หลังจากการใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว 

.

ทางเลือกอื่นๆที่นิยมเป็นลำดับต่อมา คือ การท่องเที่ยว (48 %) การซื้อสินค้าเทคโนโลยี่ใหม่ๆ (28 %) การตกแต่งบ้าน และการชำระหนี้ บัตรเครดิต หรือการกู้ยืม (25% เท่ากัน) เป็นลำดับ  

.

นีลเส็นยังเผยผลสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการซื้อของและการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคชาวไทย โดยผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยมากถึง แปดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าพวกเขาเปลี่ยพฤติกรรมการใช้จ่ายของเขาเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยพยายามลดรายจ่ายดังต่อไปนี้

.

· ตัดการซื้อเสื้อผ้าใหม่ (56%)
· ประหยัดค่าไฟ (56%)
· ลดสิ่งบันเทิงนอกบ้าน (54%)
· ประหยัดค่าโทรศัพท์ (41%)

.

ปัญหาความมั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยกังวลมากที่สุดในอีก 6 เดือนข้างหน้า ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองยังคงติดอยู่ในใจผู้บริโภคชาวไทย โดยผู้บริโภคยี่สิบสามเปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าตนมีความกังวลมากในเรื่องนี้ ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลกเกี่ยวกับความกังวลในเรื่องของการเมือง อันดับรองลงมาคือ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ (17 %) ภาวะโลกร้อน (8%) และความมั่นคงทางด้านการงาน (7%) ตามลำดับ