เนื้อหาวันที่ : 2010-07-21 14:26:48 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2280 views

ม.อ.แนะรัฐทำโซนนิ่งป่าพรุควรเคร็ง แก้ปัญหารุกพื้นที่ป่า

ม.อ.แนะรัฐเร่งจัดทำโซนนิ่งป่าพรุควนเคร็ง แก้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุ หลังปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุรุนแรงขึ้น หวั่นกระทบ ‘ควนขี้เสียน’ ถูกถอนขึ้นทะเบียนอนุสัญญาชุ่มน้ำนานาชาติ

ม.อ.แนะรัฐเร่งจัดทำโซนนิ่งป่าพรุควนเคร็ง แก้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุ หลังปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุรุนแรงขึ้น หวั่นกระทบ ‘ควนขี้เสียน’ ถูกถอนขึ้นทะเบียนอนุสัญญาชุ่มน้ำนานาชาติ

.

.

นักวิชาการ ม.อ. แนะรัฐเร่งกำหนดนโยบายจัดทำโซนนิ่งแบ่งเขตพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง แก้ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุ และพื้นที่ป่าในระยะยาว หลังปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุรุนแรงขึ้น จากการเผาป่าเพื่อนำพื้นที่มาเพาะปลูก หวั่นควนขี้เสียน (พื้นที่ชุ่มน้ำ) ที่อยู่ติดป่าพรุควนเคร็งถูกถอดจากอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ (Ramsar site) แถมกระทบเป็นลูกโซ่ ส่งผลทะเลสาบสงขลาวืดขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางและนิเวศวัฒนธรรมไปด้วย

.

รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เปิดเผยว่า จากกรณีปัญหากลุ่มเกษตรกรรุกล้ำพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง เพื่อนำพื้นที่มาทำการเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และปลูกยางพารา ประกอบกับการใช้น้ำในพื้นที่เกษตรที่ด้นน้ำ

.

ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่พรุลดลง และดินในพรุเป็นดินอินทรีย์ ซึ่งมีชั้นอินทรียวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดีอยู่บนผิวดินทำให้เกิดไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็งอย่างรุนแรง ที่ อ.ชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการเพาะปลูกที่ส่งผลต่อสภาพป่าพรุควนเคร็งที่รุนแรงมากขึ้น

.

.

ดังนั้น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเห็นว่า ภาครัฐควรจะเข้ามาเร่งแก้ไขปัญหา โดยกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับป่าพรุควนเคร็ง ว่าจะใช้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือจะใช้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม หรือเลือกแนวทางการจัดทำพื้นที่โซนนิ่ง ที่กำหนดให้พื้นที่ป่าพรุควนเคร็งบางส่วน ใช้สำหรับเกษตรกรรม บางส่วนรักษาพื้นที่ป่าพรุตามเดิม เพื่อรักษาระบบนิเวศวิทยาของป่าพรุที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์น้ำและสัตว์นานาชนิด และเป็นแหล่งบำบัดสารปนเปื้อนก่อนไหลลงสู่ควนขี้เสี้ยนและทะเลน้อยต่อไป

.

“ภาครัฐควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง ว่าจะใช้พื้นที่ดังกล่าว ให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเลือกพัฒนาให้เป็นพื้นที่การเกษตรกรรม ที่มีจัดทำโซนนิ่งที่ชัดเจน พร้อมกับจะต้องศึกษาระบบการระบายน้ำและงบดุลน้ำเพื่อทำทำนบกั้นน้ำ รักษาระดับน้ำในดินของป่าพรุให้อยู่ใกล้ผิวดินเกือบตลอดทั้งปี เพื่อป้องกันไฟไหม้พรุในโซนที่ต้องการอนุรักษ์ ให้มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี และเพื่อคงสภาพป่าพรุที่เป็นแหล่งระบบนิเวศน์ของพืช สัตว์ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำไว้ได้” รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิทย์กล่าว

.

นักวิชาการจากสถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ. กล่าวด้วยว่า หากภาครัฐยังไม่เร่งเข้ามากำหนดนโยบายที่ชัดเจนในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จนส่งผลกระทบทำให้ระบบนิเวศวิทยาของป่าพรุเสียหายอย่างรุนแรง อาจทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสียนถูกถอนออกจากการขึ้นทะเบียนอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ และส่งผลกระทบต่อทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลาที่อยู่บริเวณใกล้เคียง อาจทำให้ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางนิเวศและวัฒนธรรมได้อีกด้วย