เนื้อหาวันที่ : 2010-07-13 11:47:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1842 views

ปฏิวัติพลังงาน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กรีนพีซ ชี้ระบบพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2593 ช่วยพลิกหายนะและถอยห่างจากพลังงานสกปรกอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลและนิวเคลียร์

กรีนพีซ ชี้ระบบพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2593 ช่วยพลิกหายนะและถอยห่างจากพลังงานสกปรกอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลและนิวเคลียร์

.

.

รายงานล่าสุดของกรีนพีซระบุระบบพลังงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2593 ซึ่งจะช่วยพลิกหายนะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและถอยห่างจากพลังงานสกปรกอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานนิวเคลียร์ กรีนพีซเปิดเผยรายงาน “การปฏิวัติพลังงาน” ก่อนหน้าเวทีพลังงานสะอาดแห่งเอเชีย (Asia Clean Energy Forum) ครั้งที่ 5 ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

.

รายงาน “ปฏิวัติพลังงาน อนาคตพลังงานที่ยั่งยืน” (1) ฉบับล่าสุดได้แสดงให้เห็นว่าภายในปี 2593 ร้อยละ 94 (2) ของพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย (3) สามารถมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ และจะส่งผลให้เกิดการขยายตลาดงานด้านพลังงานถึง 700,000 งาน หรือมีงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ภายในปี 2563 ซึ่งมากกว่าแผนพลังงานที่ดำเนินไปตามปกติขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ

.

การลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงลดต้นทุนภายนอกที่มาพร้อมกับถ่านหิน และพลังงานนิวเคลียร์ อย่างเช่นความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพ พลังงานหมุนเวียนยังมีงานรองรับมากกว่าอุตสาหกรรมนิวเคลียร์และถ่านหิน” นายเสวน เทสเก ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านพลังงาน และผู้ร่วมเรียบเรียงรายงาน กรีนพีซสากลกล่าว

.

“ภายในปี 2563 จะมีงานรองรับมากถึง 400,000 งานในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากแผนปฏิวัติพลังงานคำนึงถึงงานสำหรับผู้คนมากกว่าอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล”

.

แผนการดำเนินงานความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action for Energy Cooperation หรือ APAEC) พ.ศ. 2553-2568 มีเป้าหมายที่จะเพิ่มศักยภาพการติดตั้งพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานเพียงร้อยละ 15 ในขณะที่แหล่งถ่านหินที่ใช้ในการผลิตขั้นปฐมภูมิจะเพิ่มราว 5 เท่าจนถึงปี 2573 ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าและติดอยู่กับราคาตลาดโลกที่ผันผวน (4)

.

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทางออกที่ดีกว่านั่นคือการพัฒนาแผนปฏิวัติพลังงานบนพื้นฐานการปล่อยคาร์บอนต่ำ ที่จะทำให้ทั่วทั้งภูมิภาคได้รับผลประโยชน์มหาศาล ภายใต้แผนปฏิวัติพลังงานนี้ ภาคการจัดสรรพลังงานไฟฟ้าจะพัฒนาให้มีสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

.

ภายใต้แผนปฏิวัติพลังงาน หนทางพัฒนาทางการตลาดและอัตราการเติบโตประจำปีจะทำให้ส่วนแบ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงถึงร้อยละ 59 ภายในปี 2573 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 94 ภายในปี 2593 ความสามารถในการติดตั้งพลังงานหมุนเวียนจะสูงถึง 363 กิกะวัตต์ ในปี 2573 และเพิ่มเป็น 1037 กิกะวัตต์ภายในปี 2593 ซึ่งสูงกว่าแผนการพลังงานที่เป็นไปตามปกติขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศถึงร้อยละ 68

.

“การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ส่งผลให้โลกของเราต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและตกอยู่ในวังวนของความไม่ยั่งยืนที่เร่งเร้าให้ทำให้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศกำลังพัฒนาอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าวโดยการหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนโดยทันที” นายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว

.

“รัฐบาลต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องตระหนักเสมอว่าอนาคตที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ได้ หากมีการวางรากฐานการลงทุนให้แก่คนและชุมชนท้องถิ่น ผู้ซึ่งสามารถติดตั้งและดูแลแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ และการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุน อย่างธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) สามารถทำได้โดยยุติการให้เงินทุนแก่พลังงานสกปรกอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิล แล้วจัดสรรงบประมาณให้แก่การพัฒนาเพื่อการปฏิวัติพลังงานแทน

.

พร้อมทั้งยกร่างนโยบายที่เอื้อให้การปฏิวัติพลังงานเกิดขึ้น” นายธารากล่าว “ไม่มีอุปสรรคทางเทคโนโลยีใดๆ ที่ชะลอการพัฒนาแผนการปฎิวัติพลังงาน อันเอื้อประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และงานของผู้คนไปได้ เว้นเสียแต่อุปสรรคทางการเมืองที่จะทำให้การพัฒนาด้านการปฏิวัติพลังงานเป็นไปอย่างเชื่องช้า”

.

โดยรวมแล้ว ตลาดทั่วโลกรายปีของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นจาก 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐในวันนี้ จนกระทั่งมากกว่า 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2573 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีปริมาณการตลาดประจำปีสูงถึง 5 หมื่นล้านเหรียญต่อปี และจะได้รับผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากทิศทางใหม่นี้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ล้าสมัยอีกต่อไป

.

กุญแจสำคัญที่จะทำให้การปฏิวัติพลังงานกลายเป็นความจริงคือการสร้างระบบที่เงินลงทุนถูกแบ่งอย่างเป็นธรรมภายใต้ระบอบบการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งถูกระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ ก็คือ Greenhouse Development Rights framework (GDR) (5) ที่จะคำนวณสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละประเทศ ที่อยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบร่วมกัน (ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และความสามารถในการจ่าย

.

รายงาน “การปฏิวัติพลังงาน อนาคตพลังงานที่ยั่งยืน” สามารถดาวโหลดได้ที่ http://www.greenpeace.org/seasia/en/press/reports/the-energy-r-evolution และ www.erec.org แผนปฏิวัติพลังงานสำหรับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ที่อ้างอิงจากรายงานฉบับที่ 1 ได้รับการตีพิมพ์ในปี 2551 และสามารถดาวโหลดได้ที่ www.greenpeace.org/seasia และ www.energyblueprint.info.

.
ที่มา : กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้