เนื้อหาวันที่ : 2010-06-18 15:00:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1145 views

"พรทิวา" ยิ้มออก ส่งออกเดือน พ.ค. เกินดุลกว่า 4 พันล้านเหรียญ

"พรทิวา" ปลื้มตัวเลขส่งออกเดือนพ.ค. 53 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด สูงสุดในรอบ 22 เดือน ด้วยมูลค่า 16,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 42.1%

"พรทิวา" ปลื้มตัวเลขส่งออกเดือนพ.ค. 53 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด สูงสุดในรอบ 22 เดือน ด้วยมูลค่า 16,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ขยายตัว 42.1%

.

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

.

การส่งออกเดือนพฤษภาคม 2553 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด และเป็นการส่งออกที่สูงสุดในรอบ 22 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม 2551 ด้วยมูลค่า 16,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 42.1 โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 29.4 สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตถึงร้อยละ 47.4 ซึ่งสินค้าหมวดนี้ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 20

.

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า การส่งออกเดือนพฤษภาคม 2553 ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด และเป็นการส่งออกที่สูงสุดในรอบ 22 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม 2551 ด้วยมูลค่า 16,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 42.1 โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 29.4

.

สินค้าอุตสาหกรรมเติบโตถึงร้อยละ 47.4 ซึ่งสินค้าหมวดนี้ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 20ในขณะเดียวกัน การนำเข้ายังคงขยายตัวสูงตามภาคการส่งออกที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ไทยยังคงเกินดุลการค้าถึง 2,211 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

.

“เดือนพฤษภาคม การส่งออกมีมูลค่า 16,556 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึงร้อยละ 42.1 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด และเป็นการส่งออกที่สูงสุดในรอบ 22 เดือน นับจากเดือนกรกฎาคม 2551 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 529,634 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8” นางพรทิวา กล่าวเพิ่มเติม

.

สินค้าทุกหมวดมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.4 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกเพิ่มขึ้นสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 เช่น เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (27.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (47.4%) ยานยนต์ (71.2%) เป็นต้น รวมทั้งอัญมณีฯ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 238.2 เนื่องจากการส่งออกทองคำเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 521.3

.

สำหรับอัญมณีฯ ที่หักทองคำออกแล้วเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.6 และสินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก่ วัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 14.1 เป็นการลดลงของการส่งออกสินค้าโครงก่อสร้างทำด้วยเหล็กที่ลดลงถึงร้อยละ 93.0 เป็นการลดลงของการส่งออกไปมาดากัสการ์ถึงร้อยละ 99.8   เนื่องจากในปี 2552 ผู้ประกอบการไทยไปรับงานก่อสร้างในมาดากัสการ์ทำให้มีการส่งออกโครงก่อสร้างไปมากในเดือนมีนาคมและพฤษภาคม

.

“ตลาดส่งออกสำคัญส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลักส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เจ็ด และขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 35.2 ส่วนตลาดใหม่ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่เก้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นแอฟริกาที่ส่งออกลดลงร้อยละ 25.1 เป็นการลดลงของการส่งออกไปยังมาดากัสการ์ และยอดการส่งออกรวมในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม มีมูลค่า 75,028 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5” นางพรทิวา กล่าวเสริม

.

เดือนพฤษภาคม มีมูลค่า 14,345 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.1 และเมื่อคิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 464,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 โดยสินค้านำเข้าประเภทเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.8 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิต การส่งออก และภาคการขนส่ง

.

อีกทั้งนักลงทุนจากต่างชาติมีปริมาณเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 45.0 เนื่องจากนักลงทุนมีความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้มีการขยายการลงทุน ประกอบกับโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเริ่มดำเนินการแล้วในบางส่วนวัตถุดิบ/กึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.7 สอดคล้องกับภาคการส่งออกและภาคการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.5

.

เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง และเหตุการณ์ในบ้านเมืองเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติทำผู้บริโภคมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และสินค้าในหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 140.0 สาเหตุจากยอดจำหน่ายรถภายในประเทศ รวมทั้งตลาดส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น (การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.53 และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.5)

.

“เดือนมกราคม – พฤษภาคม การนำเข้ามีมูลค่า 70,973 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.9 แต่ไทยยังคงเกินดุลการค้าถึง 2,211 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อคิดในรูปเงินบาทเกินดุล 65,424 ล้านบาท ส่งผลให้เดือนมกราคม–พฤษภาคม ไทยได้ดุลการค้ารวม 4,055 ล้านเหรียญสหรัฐฯ” นางพรทิวา กล่าวทิ้งท้าย

.
ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก