เนื้อหาวันที่ : 2010-06-08 16:21:47 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1183 views

สสว.ชี้ SMEs สะดุดเหตุพิษการเมืองและราคน้ำมัน

สสว.เผยสถานการณ์ SMEs ไตรมาสแรกของปีออกอาการสะดุดเหตุการเมืองพ่นพิษ บวกราคาน้ำมันพุ่ง

สสว. ร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย สมาคมผู้ส่งออกทางเรือ และเอไอเอส สรุปรายงานสถานการณ์ SMEs ไตรมาสแรกของปี ภายในหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของ SMEs ไทย” ชี้ไตรมาสแรก ออกอาการสะดุดเพราะการเมือง บวกราคาน้ำมันพุ่ง

.

.

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี (สสว.) กล่าวว่า ในปี 2552 ที่ผ่านมา มีกิจการ SMEs ที่จัดตั้งใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 41,220 ราย ซึ่งลดลงจากปี 2551 ทั้งปีร้อยละ 3.57  ขณะที่ในปี 2553 ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.พ. 2553 มีจำนวนการจัดตั้งกิจการเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่มีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น การบริโภคในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เริ่มมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 

.

สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมไตรมาสที่  1/2553  มีมูลค่า  2,567.0 พันล้านบาท โดยมีการขยายตัวร้อย 12.0 ขณะที่ผลิตภัณฑ์มอลรอบของ SMEs ไตรมาศที่ 1/2553 มีมูลค่า 955.2 พันบ้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 11.0 โดยในส่วนของ SMEs มีปัจจัยบวก ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ระยะที่ 1 ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้น จากอัตราการว่างงานที่ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี การส่งออกที่ฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

.

ขณะเดียวกัน แนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TSSI) ของผู้ประกอบการ SMEs ด้านการลงทุนและการจ้างงาน มีทิศทางและแนวโน้มการเคลื่อนไหวสอดคล้องต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกันมาโดยตลอด ซึ่งจะมีค่าทรงตัวอยู่ใกล้เคียงกับค่าฐานที่ 100 โดยแนวโน้มดัชนีความเชื่อมั่น TISI ด้านผลประกอบการ มีทิศทางการปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2552 จนถึงต้นปี 2553 หลังจากนั้นค่อยๆ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค. 53 เนื่องจากยอดขายลดลง 

.

“ดัชนี TISI ในช่วงต้นปี 2553 ดัชนีลดลงเป็น 2 เดือน ติดต่อกัน ตามการลดลงขององค์ประกอบดัชนีด้านยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิตและผลประกอบการ โดยมีสาเหตุมาจากการชุมนุมที่ยืดเยื้อและความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองที่อาจเกิดความรุนแรง ทำให้ผู้บริโภคมีการชะลอการใช้จ่ายลง รวมถึงปัญหาภัยแล้ง” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

.

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีทิศทางการปรับตัวที่ดีขึ้น โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านการผลิต และคำสั่งซื้อที่เร่งผลิตเพื่อรองรับการหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์เดือนเมษายน 2553

.

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) มีแนวโน้มการปรับตัวในทิศทางที่ลดลงในช่วงก.พ.-มี.ค. 2553 โดยมีปัจจัยลบมาจากการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มนปช. และระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่เพิ่มขึ้นสูง 

.

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)  SMEs ในไตรมาสแรกของปี 2553  มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน “อัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม SMEs ในเดือนมีนาคม 2553 มีการเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเดียวกัน โดยสาขาการผลิตที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่                 

.

สาขาการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ สาขาการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง สาขาการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน สาขาการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์อื่นๆ สาขาการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ เป็นต้น” นายยุทธศักดิ์ กล่าว

.

นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทย ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่เป็นเอสเอ็มอีมาโดยตลอด ช่วงที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุนทั้งเงินทุน ความรู้ การฝึกอบรมต่างๆ เพื่อให้เอสเอ็มอีของไทยมีความแข็งแกร่ง เติบโตอย่างมั่นคง  

.

ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ (ม.ค.-มีค..) ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อเอสเอ็มอีไปแล้ว 49,165 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคธุรกิจที่มีการขอสินเชื่อมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและค้าวัสดุก่อสร้างในโครงการภาครัฐ 10,886 ล้านบาท กลุ่มสินค้าเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกอาหาร  14,551   ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจภาคบริการ  7,811 ล้านบาท และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ 15,917 ล้านบาท 

.

นอกจากนั้นยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน K-SME Start-Up Solution เพื่อให้การสนับสนุนแก่กลุ่มเอสเอ็มอีที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ โดยในไตรมาสแรกมีสมาชิก 15,000 ราย คิดเป็นยอดสินเชื่อ 240 ล้านบาท

.

“ที่ผ่านมา ธนาคารได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเอสเอ็มอี (สสว.) ดำเนินโครงการก่อร่างสร้างตัวเพื่อเอสเอ็มอีรายใหม่ ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนด้านวิทยากรในการบรรยายและข้อมูลต่างๆ ในหลักสูตรสัมมนา โดยปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 7,000 ราย นอกจากนั้น ยังให้ความรู้แก่เอสเอ็มอี

.

โดยการจัดอบรมโครงการ K-SME Care ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่เอสเอ็มอี ที่จัดมา 4 ปี มีผู้เข้าร่วมอบรมแล้วประมาณ 5,000 ราย และการจัดทำรายการ SME ตีแตก ซึ่งเป็นรายการรูปแบบ Edutainment เกี่ยวกับเอสเอ็มอีโดยตรงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้” นายปกรณ์ กล่าว 

.

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง โดยให้ความช่วยเหลือด้วยการยืดระยะเวลาชำระเฉพาะดอกเบี้ย (Grace Period) แก่ลูกค้าสูงสุด 1 ปี ขยายเทอมของตั๋วการใช้เงิน (PN, TR, PC) ออกไป 3 เดือน โดยไม่ต้องมีเอกสารการสั่งซื้อรองรับ และให้วงเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกค้าเป็นจำนวนเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย สำหรับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

.

“ในปีนี้ ธนาคารจะเน้นนำเสนอบริการทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และเป็นที่หนึ่งในใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร่วมถึงร่วมกับสสว.ในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมสัมมนาต่างๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เริ่มต้นทำธุรกิจสามารถทำธุรกิจให้ยั่งยืนต่อไป” นายปกรณ์ กล่าว

.

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งออกทางเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณสินค้าส่งออกจากประเทศในแถบเอเชียเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรปสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อนำไปทดแทนสินค้าคงคลังที่ได้มีการอุปโภคบริโภคไปในช่วงวิกฤต 2 ปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ปริมาณสินค้าส่งออกน่าจะทรงตัวแต่ก็ยังไม่อาจจะคาดเดาสถานการณ์ได้” นายไพบูลย์ กล่าว

.

โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 นี้ คาดว่าค่าระวางเรือยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น แต่อาจจะลดระดับการปรับอัตราลง โดยเฉพาะในเส้นทางไทย-ยุโรป ที่ได้มีการปรับขึ้นของอัตราค่าระวางเรือในช่วงกว้างตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งจากการสอบถามจากสายเรือหลายๆ สาย พบว่าค่าระวางเรือในแต่ละสาย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละสายเรือ 

.

โดยค่าระวางในเส้นทางไทย-ยุโรป จะยังทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันกับช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2553 ในอัตรา USD2000-2200/ ตู้ 20 ฟุต และ USD4000-4500/ ตู้ 40 ฟุต 

.

ส่วนเส้นทางไทย-สหรัฐ คาดว่าอัตราค่าระวางเรือในเส้นทางสายนี้ จะมีการปรับขึ้นในอัตรา USD800-1000/ตู้ ในรอบการต่อสัญญาซื้อระวางเรือของปี 2553 (1 พฤษภาคม 2553 -30 เมษายน 2554) เนื่องจากในปี 2552 ที่ผ่านมาอัตราค่าระวางเรือในเส้นทางนี้ได้มีการปรับลดลงเป็นอย่างมากตามสภาวะกลไกการตลาด           

.

สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้ว่าในช่วงปลายปี 2552 สภาพเศรษฐกิจเริ่มมีการส่งสัญญาณการฟื้นตัว แต่อัตราค่าระวางเรือในเส้นทางสายนี้ก็ไม่สามารถปรับขึ้นได้เนื่องจากเป็นไปในลักษณะการเซ็นสัญญาซื้อขายระวางเรือในอัตราเดียวตลอดทั้งปี

.

ขณะที่เส้นไทยไทย-ญี่ปุ่น คาดว่าอัตราค่าระวางเรือในเส้นทางสายนี้จะมีการปรับขึ้นในอัตรา USD800-1000/ตู้ ในรอบการต่อสัญญาซื้อระวางเรือของปี 2553 (1 พฤษภาคม 2553 -30 เมษายน 2554) เนื่องจากในปี 2552 ที่ผ่านมาอัตราค่าระวางเรือในเส้นทางนี้ได้มีการปรับลดลงเป็นอย่างมากตามสภาวะกลไกการตลาดสืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

.

แม้ว่าในช่วงปลายปี 2552 สภาพเศรษฐกิจเริ่มมีการส่งสัญญาณการฟื้นตัว แต่อัตราค่าระวางเรือในเส้นทางสายนี้ก็ไม่สามารถปรับขึ้นได้เนื่องจากเป็นไปในลักษณะการเซ็นสัญญาซื้อขายระวางเรือในอัตราเดียวตลอดทั้งปี 

.

“ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่ามีปริมาณสินค้าส่งออกจากประเทศในแถบเอเชียเป็นจำนวนมาก เนื่องจากประเทศในสหภาพยุโรปสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อนำไปทดแทนสินค้าคงคลังที่ได้มีการอุปโภคบริโภคไปในช่วงวิกฤต 2 ปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ปริมาณสินค้าส่งออกน่าจะทรงตัวแต่ก็ยังไม่อาจจะคาดเดาสถานการณ์ได้” นายไพบูลย์ กล่าว

.

นายพีรเวท กิจบูรณะ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานการตลาดลูกค้า SMEs และลูกค้าส่วนภูมิภาค บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เอไอเอส และสำนักงานเอสเอ็ม (สสว.) ได้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดในการพัฒนาช่องทางด้านการติดต่อสื่อสารล้ำสมัย อาทิ AIS Family SIM, SMEs Inter SIM, SMEs News Alert, m-Market Place ฯลฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศที่เป็นสมาชิกของสสว. ซึ่งที่ผ่านมาช่องทางของไอเอสสามารถอยู่เคียงข้างผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

.

และจากสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ที่แม้ปัจจุบันจะเริ่มคลี่คลาย แต่ก็เชื่อว่าจะทำให้มีผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่มากก็น้อย ดังนั้น เอไอเอสจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น 

.

โดยออกมาตรการช่วยเหลือเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสื่อสารเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นสมาชิกสสว. และใช้แพคเกจ AIS Family SIM (รวมถึงสมัครใหม่) ซึ่งได้รับความเดือดร้อน และแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานสสว. ด้วยโปรโมชั่นพิเศษ คือ ฟรีค่าบริการรายเดือนๆ ละ 199 บาท นาน 3 เดือน และฟรีค่าบริการส่ง SMS ผ่านเว็บไซด์ด้วยบริการ Smart Messaging จำนวน 100 ข้อความต่อเดือน นาน 3 เดือน 

.

นอกจากนี้ เอไอเอสยังได้ช่วยเหลือลูกค้าหรือบุคคลทั่วไปที่จดทะเบียนในนามบริษัท ซึ่งได้รับความเดือดร้อนและได้ไปแสดงความจำนงขอรับความช่วยเหลือกับหน่วยงานภาครัฐคือ ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี ด้วยการมอบค่าโทรฟรี จำนวน 200 นาที นาน 2 เดือน โดยลูกค้าจะได้รับสิทธินี้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกลับมาที่เอไอเอส ซึ่งเอไอเอสจะดำเนินการหลังจากที่ได้รับรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบซึ่งขึ้นทะเบียนจากภาครัฐแล้ว

.

“แม้มาตรการดังกล่าว อาจจะไม่สามารถเยียวยาความเดือดร้อนที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่เราก็เชื่อว่าจะเป็นกำลังใจให้ลูกค้าและคนไทยทุกท่านมีพลังในการก้าวไปข้างหน้าต่อไป” นายพีรเวท กล่าว