เนื้อหาวันที่ : 2010-03-10 09:12:35 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1571 views

อุตฯไอที รากฐานการเติบโตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทย

นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ชี้ไทยจำเป็นต้องมีภาคอุตสาหกรรมไอทีที่แข็งแกร่ง เป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เตอบโตต่อไป

วารุณี  รัชตพัฒนากุล 

.

.

ดิฉันรู้สึกได้ถึงแรงบันดาลใจที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานสัมมนา ในหัวข้อ “Northern Thailand’s Creative Economy: Opportunities and Challenges in IT Sector” ที่จัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อสองสัปดาห์ก่อน แรงบันดาลใจที่ได้รับจากการพบปะกับผู้คนมากมายในแวดวงไอทีที่เปี่ยมไปด้วยความปราถนาอย่างแรงกล้าในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น 

.

แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย    อันที่จริงแล้วมีภาคอุตสาหกรรมไอที เป็นรากฐานหนึ่งที่สำคัญ ที่จะผลักดันให้เติบโตต่อไป 

.

ท่านผู้ทรงคุณวุฒิที่มีวิสัยทัศน์เหล่านั้น ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีภาคอุตสาหกรรมไอทีที่แข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า หากต้องการประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจในระดับโลก อย่างเช่นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไทยหลายท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า ภาคอุตสาหกรรมไอทีเป็นความหวังอย่างหนึ่งของประเทศ ในภาวะที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย อันเกิดจากการเป็นประเทศที่พึ่งพาภาคเกษตรกรรมและภาคการผลิตเป็นหลักมาช้านาน

.

 อย่างเช่นที่ปัญหานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อันที่จริงแล้วนั้น นอกจากงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง ที่รัฐบาลจัดสรรให้กับภาคอุตสาหกรรมไอที รวมถึงการใช้จ่ายเงินภายใต้โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญ คือ การสร้างให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไอทีอย่างแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า

.

สิ่งสำคัญลำดับแรก และดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เห็นจะได้แก่ การที่ประเทศไทยจะต้องทำให้ผู้สร้างสรรค์งานหรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ รวมถึงที่เป็นเจ้าของธุรกิจ ในภาคอุตสาหกรรมไอที แน่ใจได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ และพวกเขาสามารถบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

.

ทั้งนี้ เพราะพวกเขาเหล่านี้เป็นผู้สร้างสรรค์งานหรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ พวกเขาเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจที่ทำให้เกิดการจ้างงาน และในวันหนึ่งข้างหน้า พวกเขาเหล่านี้จะเป็นความหวังให้แก่ประเทศไทยในการทำให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีเติบโตอย่างแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า   

.

ผู้เข้าร่วมงานสัมมนาบางท่านมีไอเดียดีๆ ที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นงานสร้างสรรค์หรือผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมใหม่ๆ มานำเสนอมากมาย สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ รวมถึงการที่พวกเขาสามารถบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

.

เพื่อสร้างแรงจูงใจในการพัฒนานำพานวัตกรรมใหม่ อันจะช่วยให้รัฐบาลไทยบรรลุเป้าหมายในการผลักดันให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 20 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ภายในปี 2555 การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเต็มที่ และความสามารถในการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรากฐานที่สำคัญหนึ่งที่จะรองรับความคิดสร้างสรรค์

.

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร หากปราศจากรากฐานที่สำคัญดังกล่าวนี้ ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์

.

ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบระดับพื้นฐานที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไอที พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ภายใต้การทำงานอย่างมุ่งมั่นและแข็งขันของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ.) ภายใต้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง    สำนักงานอัยการ และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง

.

นอกจากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไอทีให้แข็งแกร่ง และก้าวล้ำนำหน้าได้ หนึ่งในปัจจัยเหล่านั้น คือ เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) บนโลก          ไซเบอร์ โดยปัจจัยดังกล่าวมีการกล่าวถึงในงานสัมมนาที่เชียงใหม่ในครั้งนี้ด้วย เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) อาจจะกลายเป็นโอกาสที่ดีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นโอกาสในการแสดงผลงาน

.

อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งด้วย เนื่องจากองค์กรธุรกิจต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐเอง กำลังถูกโจมตีโดย     อาชญากรไซเบอร์ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงนโยบายเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลในเดือนมีนาคมศกนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือซิป้า เป็นต้น

.

อาจถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะแสดงให้ประเทศต่างๆ เห็นว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) ในลำดับต้นๆ เพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไอที และการสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ นอกเหนือจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แบบวางตัวเป็นกลาง

.

โดยส่งเสริมทั้งซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส (Open Source Software) และซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (Commercial Software) ไปพร้อมๆ กัน และเท่าเทียมกัน แทนที่จะมุ่งส่งเสริมเฉพาะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพียงอย่างเดียว

.

หลังจากที่ดิฉันได้ใช้เวลาสองวันร่วมงานสัมมนาที่เชียงใหม่ในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นชัดที่สุด คือภาคอุตสาหกรรมไอที ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบระดับพื้นฐานที่สำคัญสามองค์ประกอบ ได้แก่ทรัพยากรบุคคล (Human Resources) ซอฟต์แวร์ (Software) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน การศึกษา นโยบาย หรือการคุ้มครองด้านกฎหมาย

.

เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไอทีเติบโตแข็งแกร่งและก้าวล้ำนำหน้า นำมาซึ่งความสะดวกสบายให้แก่ผู้คน ทำให้เกิดการจ้างงานในตลาดแรงงาน และเป็นรากฐานหนึ่งที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างรวดเร็วเพียงชั่วพริบตา ถึงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญอีกช่วงหนึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว

.

(วารุณี รัชตพัฒนากุล ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำประเทศไทย กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือบีเอสเอ การประชุมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ภาคเหนือประเทศไทยจัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่แห่งสหรัฐอเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือต่างๆ ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ  หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)