เนื้อหาวันที่ : 2010-02-18 09:20:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1460 views

สศอ.เสริมเขี้ยวอุตฯ ต่อเรือเร่งเพิ่มขีดความสามารถ

สศอ. หนุนพัฒนาอุตฯ ต่อเรือทั้งระบบ แนะทักษะที่เหนือกว่า รองรับออร์เดอร์จากทั่วโลก ชี้ต่างชาติมั่นใจฝีมือไทย สั่งต่อเรือและซ่อมกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี แนะผู้ประกอบการรวมกลุ่มสร้างพลัง

สศอ. หนุนพัฒนาอุตฯ ต่อเรือทั้งระบบ แนะทักษะที่เหนือกว่า รองรับออร์เดอร์จากทั่วโลก ชี้ต่างชาติมั่นใจฝีมือไทย สั่งต่อเรือและซ่อมกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี แนะผู้ประกอบการรวมกลุ่มสร้างพลัง    

.

.

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานมีความสำคัญยิ่งต่อความมั่นคงของประเทศ และระบบคมนาคมขนส่งสินค้า โดยประเทศไทยมีขีดความสามารถในการต่อเรือและซ่อมเรือจนเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ

.

สศอ.จึงได้จัดสรรงบประมาณปี 2553 ภายใต้แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (Productivity) จำนวน 10 ล้านบาท จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continual Quality Improvement) เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทย  “โครงการนี้จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการใน 4 ด้าน

.

ประกอบด้วย 1.วินิจฉัยขีดความสามารถผู้ประกอบการเพื่อรับทราบถึงขีดความสามารถเปรียบเทียบกับคู่แข่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน  2.การเพิ่มทักษะพนักงานสายปฏิบัติการช่างเชื่อมโลหะ 3.อบรมผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูงให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 4.การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการในกลุ่มเดียวกันให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการประกอบการได้ และ

.

นอกจากนี้ยังคาดว่าจะสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น โดยเพิ่มรายได้ ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และยกระดับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือไทยให้ได้มาตรฐานในระดับสากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศให้เกิดการขยายตัวอย่างเข้มแข็ง และอีกประการหนึ่งการจัดทำโครงการนี้จะเป็นการสร้างความพร้อมในทุกๆด้าน

.

สำหรับผู้ประกอบการเพื่อรองรับการขยายตัวที่จะมีขึ้นในอนาคต”นางสุทธินีย์ กล่าวอีกว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือของไทยมีการขยายตัวอย่างมาก เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว โดยมีการต่อเรือใหม่คิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านบาท ในปี 2548 และทะลุ 10,000 ล้านบาทในปี 2551

.

เนื่องจากต่างชาติเริ่มให้การยอมรับในฝีมือผนวกกับช่วงดังกล่าว การคมนาคมขนส่งทางเรือได้รับความนิยม เนื่องจากสามารถขนส่งได้ปริมาณที่มากและมีความปลอดภัยสูง ศักยภาพการต่อเรือของไทยจึงถือว่ามีความพร้อม โดยในประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการขนส่งทางน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวอย่างมาก

.

โดยขณะนี้ผู้ประกอบการยังมีสัญญาจ้างต่อเรือค้างอีกถึงปี 2553 คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าประเทศไทยมีขีดความสามารถในการต่อเรือและซ่อมเรือเป็นอย่างดี จึงได้รับคำสั่งซื้อหรือสัญญาจ้างต่อเรือคิดเป็นมูลค่านับหมื่นล้าน

.

โดยเฉพาะเรือที่ใช้ในกิจการเฉพาะ เช่น เรือตรวจการพาณิชย์นาวี เรือสำหรับภารกิจขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าแม้ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแต่อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือยังสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมั่นคง

.

ขณะที่ภายในประเทศรัฐบาลได้ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขนส่งอย่างบูรณาการ ซึ่งให้ความสำคัญกับการขนส่งทางน้ำ เนื่องจากช่วยให้ประหยัดพลังงานมีความคุ้มค่าในการขนส่ง จึงช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือเกิดการขยายตัว ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาจับกลุ่มกันให้เหนียวแน่น พยายามแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มให้มากเพื่อสร้างพลังและความแข็งแกร่งในอนาคต  

.

รวมทั้งผู้ประกอบการต้องมีความพร้อมที่จะปรับตัวเองให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ยังถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงฯจะผลักดันให้อุตสาหกรรมต่อเรือของไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนให้ได้ในที่สุด        

.

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี  ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม  เป็นประธานในพิธีมอบนโยบายอาสาร่วมใจด้วยหัวใจอาสา ให้กับผู้บริหารจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  สถาบันไทย- เยอรมัน  สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม   สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  กรมโรงงานอุตสาหกรรม  ณ  ห้องประชุมชุณหะวัณ  กระทรวงอุตสาหกรรม  

.

ทั้งนี้ กิจกรรมอาสาถือเป็นการปรับเปลี่ยน/ปรับเสริมวัฒนธรรมในการทำงาน/การให้บริการ การสร้างความประทับใจสูงสุดแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการและเพื่อนร่วมงาน โดย คำว่า ASSA มาจากตัวอักษรตัวแรกของคำในภาษาอังกฤษ 4 คำคือ Advise ให้คำแนะนำ Service ให้การบริการ Support ให้การสนับสนุน Assist ให้ความช่วยเหลือ 

.
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม