เนื้อหาวันที่ : 2010-02-16 11:29:34 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1241 views

สศอ.มองดัชนีอุตฯ ปี 53 โต 6-8% หวังมาตรการกระตุ้น หนุนเศรษฐกิจฟื้น

สศอ.เชื่อดัชนีอุตสาหกรรมปี 53 จะขยายตัวได้ 6-8% หลังเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นระลอกใหญ่ของรัฐบาลประเทศทั่วโลก หวัง "ไทยเข้มแข็ง" ช่วยให้ฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ

สศอ.เชื่อดัชนีอุตสาหกรรมปี 53 จะขยายตัวได้ 6-8% หลังเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นระลอกใหญ่ของรัฐบาลประเทศทั่วโลก หวัง "ไทยเข้มแข็ง" ช่วยให้ฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ

.

.

สศอ.มองดัชนีอุตฯ ปี 53 ขยายตัว 6-8% หวังมาตรการกระตุ้น หนุนเศรษฐกิจฟื้น พลันที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นระลอกใหญ่ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินอย่างมหาศาล ลงไปในระบบ โดยเฉพาะพี่เบิ้มอเมริกา และจีน ส่วนไทยก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน อัดฉีดงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 8 แสนล้านภายใต้กรอบการดำเนินงานปี 2552-2555 ผ่านนโยบายไทยเข้มแข็ง เพื่อให้ฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ

.

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรมออกมาประเมินทิศทางการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index : MPI) ในปี 2553 ว่ามีโอกาสขยายตัวได้ถึง 6-8% เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกประเทศคู่ค้าสำคัญส่งคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักที่ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว

.

เช่น การผลิต Hard disk drive การผลิตในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการผลิตยานยนต์ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทั้งสิ้น สอดคล้องกับ IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปี 2553 จะขยายตัวได้ถึง 3.9% นั้นถือเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวได้ดังที่ประเมินไว้

.

อย่างไรก็ตาม แม้มีปัจจัยบวกที่ชัดเจนจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว แต่ปัจจัยที่เป็นผลกระทบยังคงมีอยู่มากเช่นกัน โดยเฉพาะประเด็นด้านการเมือง ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และประเด็นมาบตาพุด ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งเชื่อว่าหากสามารถคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ได้เศรษฐกิจของไทยจะสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง

.

นางสุทธินีย์ ได้สรุปภาวะอุตสาหกรรมปี 2552 ว่าตัวเลข MPI ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 7.2% และสรุปภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา เป็นดังนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ MPI ลดลง 1.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยที่ลดลงมาก 3 อันดับได้แก่ โทรทัศน์สีขนาดจอเล็กกว่าหรือเท่ากับ 20 นิ้ว โทรทัศน์สีขนาดจอเท่ากับ 21 นิ้วหรือมากกว่า 21 นิ้วขึ้นไป และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน

.

แนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงปี 2553 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ภาพรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 17.38%

.

โดยคาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.16% ซึ่งจากการผลิตที่มีฐานตัวเลขทางสถิติที่ค่อนข้างต่ำ ในปี 2552 ประกอบกับตัวแปรที่ชี้นำการผลิตหลายตัวของประเทศพัฒนาแล้วปรับตัวสูงขึ้น และการเร่งตัวขึ้นของการผลิต Hard disk drive, IC และเซมิคอนดักเตอร์ เคมีภัณฑ์ ในปี 2552 เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ในภาวะชะลอตัวลง

.

เนื่องจากอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จะใช้เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นในการผลิตสำหรับ อุตสาหกรรมหลักต่างๆ ภายในประเทศ ซึ่งจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกกับสถานการณ์ทางการเมือง ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจหดตัว อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์จึงหดตัวตามทิศทางเศรษฐกิจไปด้วย

.

แนวโน้มของอุตสาหกรรรมเคมีภัณฑ์ ปี 2553 ทั้งการผลิต จำหน่าย การนำเข้า และการส่งออกน่าจะดีขึ้นจากการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัว และมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของโลกที่กำลังดี ขึ้น ปิโตรเคมี ปี 2552 เริ่มมีทิศทางการขยายตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของภาครัฐ โดยการสร้างอุปสงค์ของตลาดภายในประเทศ

.

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันจากความผันผวนของราคา น้ำมัน ภาวะเศรษฐกิจโลก และกำลังการผลิตใหม่ สินค้าราคาถูกจากจีน และตะวันออกกลางที่เริ่มทยอยเข้าสู่เอเชียในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 เป็นต้นไป

.

โดยกำลังการผลิตใหม่นี้จะมีผลต่อราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในภูมิภาคอาเซียน แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปี 2553 ถือว่ายังคงต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอีกปีหนึ่ง เหล็กและเหล็กกล้า ในปี 2552 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การผลิตโดยรวมลดลง 8.49%

.

โดยความต้องการใช้ในประเทศลดลง 19.13% สำหรับมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง 42.01% และ 21.21% ตามลำดับ เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น และความต้องการเหล็กในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งเหล็กก่อสร้าง ลดลงอย่างมาก สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กลดลงโดยเฉพาะเหล็กทรงแบน

.

สาเหตุหลักมาจากอุตสาหกรรมปลายทางที่มีการบริโภคในเหล็กกลุ่มนี้โดยเฉพาะ เหล็กที่เป็นเกรดคุณภาพสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีภาวะการ ผลิตที่ชะลอตัว ในขณะที่การส่งออกก็ยังไม่มีการฟื้นตัว แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2553 คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัว โดยเหล็กทรงยาวการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างเริ่มขยายตัวขึ้น

.

โดยเฉพาะผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้ม แข็ง ขณะที่เหล็กทรงแบนมีทิศทางการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ยานยนต์ ในปี 2552 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 999,378 คัน ลดลงจากปีก่อน 28.31% เป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 313,442 คัน รถกระบะ 1 ตัน 670,734 คัน

.

รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 15,202 คัน ลดลง 21.93%,31.19% และ14.50% ตามลำดับ โดยมียอดขายในประเทศ 548,871 คัน ลดลง 10.62% ส่งออก 535,563 คัน ลดลง 31.01% แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2553 คาดว่าจะมีการผลิต 1,400,000 คัน ซึ่งขยายตัวกว่า 40%ขยายตัวประมาณ 5-10% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

.

เนื่องจากเป็นไปตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากขึ้น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2552 เมื่อเทียบกับปีก่อน มีมูลค่าการนำเข้า 83,839 ล้านบาท และส่งออก 80,98 ล้านบาท ลดลง 17% และ 15%ตามลำดับ

.

ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก ปี 2553 คาดว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2552 เนื่อง จากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุนเกือบทุกอุตสาหกรรม จึงมีทิศทางการขยายตัวตามอุตสาหกรรมหลัก

.

เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นต้น รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ในปี 2552 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะ 2 กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ คือ ดัชนีผลผลิตกลุ่มกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ และดัชนีผลผลิตกลุ่มรองเท้าลดลง 30.9% และ 17.6% ตามลำดับ

.

ขณะที่มูลค่าการส่งออกกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ ลดลง 20.9% รองเท้าและชิ้นส่วน ลดลง 18.2% เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตไปที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนแรงงานถูกกว่า และประเทศคู่ค้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา และ EU ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ

.

แนวโน้มใน ปี 53 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มี เสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยสินค้า และประเทศไทยมีศักยภาพในด้านการออกแบบและเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าในเรื่องของ คุณภาพมากขึ้น

.

อาหาร ในปี 2552 การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ทำให้ยอดการผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับจากปลายไตรมาสที่ 3 และมีทิศทางฟื้นตัวดีในไตรมาสที่ 4 โดยราคาสินค้าได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว แนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมปี 2553 คาดว่า จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.3%

.

ขณะที่การส่งออกจะเพิ่มขึ้น 10.5% โดยมีปัจจัยบวกมาจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวของสหรัฐอเมริกา และประเทศผู้นำเข้าทั้งสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ทำให้การผลิตและการส่งออกของไทยในสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น ไม้และเครื่องเรือน ปี 2552 การผลิตเพิ่มขึ้น 10.39%เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังขยายตัว โดยเฉพาะตลาดระดับกลางและตลาดระดับบน

.

เช่น กลุ่มคอนโดมิเนียม แนวโน้มของการผลิตและการจำหน่ายในประเทศของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ในปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว ซึ่งน่าจะส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าไม้และเครื่องเรือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ตลาดระดับกลางและตลาดระดับบนยังมีศักยภาพ ผลิตภัณฑ์ยาง

.

ในปี 2552 ความต้องการใช้ยางแปรรูปขั้นต้นของตลาดในประเทศและตลาดโลก ลดลง ตามยอดการจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นได้กระเตื้องขึ้นในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศจีนทำให้มีความ ต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น จึงมีการนำเข้ายางแปรรูปขั้นต้นจากไทยเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายหลังที่จีนได้มีการปรับลดภาษีรถยนต์บางรุ่นลง

.

สำหรับแนวโน้มในปี 2553 ภาวะอุตสาหกรรมยางแปรรูปขั้นต้น และผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะมีแนวโน้มขยายตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัว ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในแง่วัตถุดิบเป็นประเทศที่ผลิตยางพาราได้มาก เป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้ต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนสนใจที่จะร่วมลงทุนในธุรกิจยางรถยนต์ในประเทศไทย โดยให้ไทยเป็นฐานการผลิต

.

ผลผลิตส่วนหนึ่งเพื่อส่งออกจำหน่ายในตลาดโลก และอีกส่วนหนึ่งเพื่อส่งกลับไปใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ในประเทศของตน ยา ในปี 2552 การผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมคาดว่า จะมีปริมาณ 28,288 ตัน เพิ่มขึ้น 9.9% จากปีก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาลและร้านขายยาจำนวนมาก ทำให้ผู้ผลิตต้องเพิ่มปริมาณการผลิตสินค้า เพื่อสนองความต้องการของตลาด

.

สำหรับแนวโน้มในปี 2553 คาดว่า ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศ จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากภาครัฐสนับสนุนให้มีการใช้ยาที่ผลิตในประเทศ แทนยานำเข้ามากขึ้น ประกอบกับโครงการหลักประกันสุขภาพยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง และค่าเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นทุกปี สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

.

ในปี 2552 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ การผลิตผ้าฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ ดัชนีผลผลิตลดลง 9.8%, 19.0% และ 14.7% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ยังซบเซาจากผลกระทบ ของวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐที่เป็นคู่ค้าสำคัญ อย่างไรก็ตามผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆส่งผลให้เศรษฐกิจขยาย ตัวจะทำให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มขยายตัวได้ดีขึ้น

.

แนวโน้มในปี 2553 คาดว่าการผลิตและจำหน่ายจะขยายตัวไม่น้อยกว่า 5% โดยคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความร่วมมือ AJCEP JTEPA อัญมณีและเครื่องประดับ ในปี 2552 การผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.78% และ 18.04% ตามลำดับ

.

โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ และฮ่องกง การส่งออกโดยรวมมีมูลค่า 9,761.91 ล้านเหรียญสหรัฐทั้งนี้มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการส่งออกทองคำ ยังไม่ขึ้นรูปคิดเป็นมูลค่าประมาณ 5,667.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แนวโน้มในปี 2553 คาดว่าการผลิตจะยังทรงตัว

.

โดยมีปัจจัยบวก คือ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบพลอยดิบ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดต้นทุนวัตถุดิบแล้ว ยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้ผู้ค้าพลอยต่างชาติจากทั่วโลก โดยเฉพาะอินเดียและแอฟริกานำวัตถุดิบเข้ามาค้าในไทยเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก

.

จาก แนวโน้มทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 6-8% จากปี 2552 รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากอุตสาหกรรมในรายสาขาคาดว่าคงไม่เหนื่อยนัก อย่างไรก็ตามหลายฝ่าย ยังแอบตั้งคำถามในใจไว้ว่า “เศรษฐกิจโลกฟื้นจริง หรือแค่ภาพลวง” แล้วเศรษฐกิจไทยในปี 2553 จะเป็นอย่างไร...ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด...

.
ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม