เนื้อหาวันที่ : 2010-02-05 17:38:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1507 views

มะกันหยอดคำหวานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยช่วย ศก. โตยั่งยืน

"อลงกรณ์" ปลื้มสหรัฐฯ หยอดคำหวานชื่นชมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ออกโรงเชียร์ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ชี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

"อลงกรณ์" ปลื้มสหรัฐฯ หยอดคำหวานชื่นชมการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ออกโรงเชียร์ "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ชี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

.

.

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ได้พบกับนาย Ron Kirk ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (United States Trade Representative - USTR) และภาคเอกชนสหรัฐฯ

.

เช่น สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ (International Intellectual Property Alliance - IIPA) สมาคมซอฟต์แวร์ธุรกิจ (Business Software Alliance - BSA) หอการค้าสหรัฐฯ (American Chamber of Commerce) และ สภาธุกิจสหรัฐฯ - อาเซียน (US-ASEAN Business Council) เพื่อหารือเรื่องการค้า และทรัพย์สินทางปัญญา

.

เช่น การหารือข้อสรุปการเจรจา WTO รอบโดฮา ความคืบหน้าด้านสถานการณ์ทรัพย์สินทางปัญญาและนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย เรียกร้องให้สหรัฐฯ ต่อสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กับสินค้าเครื่องประดับเงินของไทย คืน C-Bond ที่สหรัฐฯ เก็บกับสินค้ากุ้งส่งออกของไทย ยกเลิกการใช้มาตรการ Zeroing กับสินค้าถุงพลาสติก เป็นต้น

.

นาย Ron Kirk ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้แสดงความชื่นชมรัฐบาลไทย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ให้ความสำคัญกับการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่องในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ได้รับความเสียหายจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลกหลายพันล้านเหรียญในแต่ละปี โดยนาย Kirk เห็นว่าการริเริ่มใหม่ๆ ของรัฐบาลไทย

.

เช่น การยกระดับทรัพย์สินทางปัญญาเป็นนโยบายแห่งชาติ การเปิดตัวนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังจะเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคต ในการนี้ นาย Kirk ได้แสดงความหวังว่าการดำเนินการต่างๆ ของไทยจะประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

.

เนื่องจากขณะนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดอันดับประเทศคู่ค้าตามกฎหมายการค้ามาตรา 301 พิเศษ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา   รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แจ้งสหรัฐฯ ว่าขณะนี้ไทยดำเนินนโยบายให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์

.

ซึ่งได้รับการชื่นชมและยอมรับจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) และอังค์ถัด (UNCTAD) ว่าเป็นแนวทางที่จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และขยายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงมีแผนที่จะจัดการประชุม World Creative Economic Forum ขึ้น ในเดือนธันวาคม 2553 ที่ประเทศไทย

.

โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น WIPO UNCTAD และผู้สนใจทั่วโลก มาประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีการประกาศพันธสัญญาของรัฐบาล 12 ข้อ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายสัดส่วนของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน GDP ร้อยละ 12 เป็น ร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2555 

.

โดยมีแนวนโยบายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอาเซียนในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ไทยได้กำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติเป็นครั้งแรก มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีการจัดทำยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น เป็นต้น

.

ซึ่งการดำเนินการมีความคืบหน้าหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือตำราเรียนเพื่อการส่งออก การแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้คนใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย

.

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันนโยบาย e-commerce และได้ส่งผลให้พบสินค้าละเมิดน้อยลงไทยยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น การยกร่างกฎหมายป้องกันและปราบปรามการแอบถ่ายในโรงภาพยนตร์ แก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าเพื่อเอาผิดเจ้าของสถานที่ขาย เก็บ และผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

.

การแก้ไขกฎหมายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนอินเทอร์เน็ต และผลักดันให้การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการค้าขนาดใหญ่เป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงหวังว่าความคืบหน้าที่ผ่านมา จะช่วยให้สหรัฐฯ ถอดไทยจากบัญชี PWL ในการประเมินในเดือนเมษายน 2553  

.

อย่างไรก็ดี ผู้แทนภาคเอกชน เช่น International Intellectual Property Alliance (IIPA) และ Business Software Alliance (BSA) ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านการลักลอบดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต ที่มีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งต้องอาศัยความตื่นตัวของประชาชน และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider – ISP) ในการป้องกันและปราบปราม

.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ยืนยันว่า ไทยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง และมองว่าเป็นแนวทางที่สำคัญที่จะช่วยให้อัตราการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยลดลง โดยในขณะนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ

.

โดยจัดจ้างสถานบันคีนันแห่งเอเชีย ทำหลักสูตรทรัพย์สินทางปัญญาในระดับประถมและมัธยม และได้เริ่มทดลองสอนในโรงเรียนนำร่อง 40 แห่ง และจะขยายเป็นทั่วประเทศภายในปีการศึกษา 2553 เอกชนสหรัฐฯ ยังสนใจสอบถามการแก้ปัญหาของรัฐบาลไทยเรื่องมาบตาพุด การเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียน ที่แม้ภาษีศุลกากรจะลดลง แต่ยังมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคทางการค้า รวมถึงปัญหาเรื่องวิธีการประเมินศุลกากรของไทย

.

ซึ่งนายอลงกรณ์ฯ แจ้งว่า ขณะนี้รัฐบาลได้พยายามปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศของไทย เพื่อให้การประกอบธุรกิจของต่างชาติในประเทศไทย ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติให้เข้ามามาประกอบกิจการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ไทย  

.

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ฯ มีแผนจะเดินทางเยือนนครลอสแองเจลิส ในวันที่ 2 – 3 กุมภาพันธ์ 2553 เพื่อพบหารือกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และแอนิเมชั่นของสหรัฐฯ เช่น Sony Pictures   Walt Disney’s Pictures   Luma Studio เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และแอนิเมชั่นของไทยในอนาคต

.
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย