เนื้อหาวันที่ : 2010-01-23 12:32:15 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1320 views

พลังงาน หนุนม.เชียงใหม่ ศึกษาการปลูกพืชน้ำมัน

กระทรวงพลังงาน ผลักดัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน พัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร และพัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูง หวังสร้างเครื่องจักรต้นแบบผลิตปาล์มน้ำมัน

กระทรวงพลังงาน ผลักดัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน พัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร และพัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูง หวังสร้างเครื่องจักรต้นแบบผลิตปาล์มน้ำมัน 

.

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

.

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน ให้การสนับสนุน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชน้ำมัน พัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานจากพืชแบบครบวงจร และพัฒนาระบบสกัดน้ำมันปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้เป็นเครื่องจักรต้นแบบสำหรับการใช้งานของการผลิตปาล์มน้ำมัน

.

โดยกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานจะให้การสนับสนุนเงินทุน ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มพัฒนาการสกัดน้ำมันปาล์มระบบแห้งหีบรวมที่เป็นการพัฒนาจากเครื่องสกัดแบบเดิมและเป็นระบบแบบใช้ไอน้ำ ถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเครื่องแรกของไทย ที่ใช้กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเสีย มีกำลังการผลิต 2.5 ตันต่อชั่วโมง และสามารถขยายได้ถึง 5 ตันต่อชั่วโมง

.

รวมทั้ง สามารถหีบน้ำมันปาล์มได้มากกว่าร้อยละ 22 นับว่ามีศักยภาพสูงกว่าระบบเดิมที่ผลิตได้เพียงร้อยละ 17 โดยระบบนี้ สามารถรองรับผลผลิตจากสวนปาล์มน้ำมันได้ตั้งแต่ขนาด 3,000 ไร่ขึ้นไป ที่สำคัญสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนไบโอดีเซลชุมชนได้ด้วย

.

นายสมชาย สิทธิโชค ผู้ประกอบการภาคเอกชน กล่าวว่า เครื่องสกัดน้ำมันปาล์มดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยที่รวมตัวกันใช้ประโยชน์ได้เท่ากับการประกันรายได้ รวมทั้ง ยังได้ปุ๋ยและพลังงานทดแทด้วย เพราะระบบเก่ามีกากจากกระบวนการผลิต ขณะที่ระบบใหม่สามารถนำเส้นใยไปผลิตอาหารสัตว์ได้ คาดว่า หากทดลองเสร็จสิ้นจะมีผู้ประกอบการสนใจนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป 

..
ที่มา : เว็บไซต์รัฐบาลไทย