เนื้อหาวันที่ : 2010-01-19 15:30:31 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2786 views

โตโยต้า คาดตลาดรถยนต์ปี 53 โต 9% ตั้งเป้าครองส่วนแบ่ง 42.8%

ตลาดรถยนต์ปี 2552 ยอดขายรวม 548,871 คัน ลดลง 10.8% โตโยต้า คาดตลาดรถยนต์รวมปี 2553 ขายรวม 600,000 คัน เติบโต 9% ตั้งเป้าครองส่วนแบ่ง 42.8%

ตลาดรถยนต์ปี 2552 ยอดขายรวม 548,871 คัน ลดลง 10.8% โตโยต้า คาดตลาดรถยนต์รวมปี 2553  ขายรวม 600,000 คัน เติบโต 9% ตั้งเป้าครองส่วนแบ่ง 42.8%

.

.

มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ประจำปี 2552 มีปริมาณการขาย 548,871 คัน ลดลง 10.8% คาดตลาดรถยนต์ไทยปี 2553 เติบโต มียอดขาย 600,000 คัน เพิ่มขึ้น 9%   พร้อมตั้งเป้าหมายการขายรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น 257,000 คัน เพิ่มขึ้น 11.5% ครองส่วนแบ่งตลาด  42.8%

.

มร.ทานาดะกล่าวว่า “ในต้นปี 2552 เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากเป็นอย่างมากของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยปริมาณการขายในครึ่งปีแรก ลดลงถึง 28.0% และฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 และต่อเนื่องถึงไตรมาส 4 ทำให้ยอดขายรถยนต์ของปี พ.ศ. 2552 มียอดขายรวม 548,871 คัน ลดลง 10.8% เป็นตลาดรถยนต์นั่ง 230,037 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 318,834 คัน ลดลง 17.9% รถกระบะขนาด 1 ตัน ไม่รวมรถดัดแปลง  247,887 คัน ลดลง 20.4%”

.

สถิติการขายรถยนต์ ในปี 2552
                                                        ประมาณการ ต้นปี 2552   ประมาณการกลางปี 2552      ยอดขายปี 2552        เปลี่ยนแปลง
          ปริมาณการขายรวม                           520,000 คัน                480,000 คัน                     548,871 คัน            - 10.8%
          รถยนต์นั่ง                                       205,000 คัน                202,000 คัน                      230,037 คัน            + 1.4%
          รถเพื่อการพาณิชย์                            315,000 คัน                278,000 คัน                      318,834 คัน           - 17.9%
          รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 269,000 คัน                241,000 คัน                      275,892 คัน           - 17.5%
          รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 252,000 คัน                   -                              247,887 คัน           - 20.4%

.

“สำหรับการขายของโตโยต้า ในปี 2552 นั้น เรามียอดขายรวม 230,585 คัน ลดลง 12.1% ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่ 42% เป็นรถยนต์นั่ง 100,747 คันลดลง 5.7%         รถเพื่อการพาณิชย์ 129,838 คัน ลดลง 16.4% โดยเป็นรถกระบะขนาด 1 ตัน ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง 102,026 คัน ลดลง 19.8%”      

.

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2552
          ปริมาณการขายโตโยต้า                           230,585 คัน          ลดลง    12.1%           ส่วนแบ่งตลาด 42.0%
          รถยนต์นั่ง                                             100,747 คัน          ลดลง     5.7%            ส่วนแบ่งตลาด 43.8%
          รถเพื่อการพาณิชย์                                  129,838 คัน          ลดลง    16.4%           ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
          รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)       117,252 คัน          ลดลง    17.0%           ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
          รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)   102,026 คัน          ลดลง    19.8%           ส่วนแบ่งตลาด 41.2%

.

“ด้านการส่งออกของปีที่ผ่านมา เราส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป จำนวนทั้งสิ้น 237,834 คัน ลดลง 24% มูลค่า 104,506 ล้านบาท นอกจากนี้ เราได้ส่งออกเครื่องยนต์ และ ชิ้นส่วน อะไหล่ มูลค่า 48,450 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศเป็นเงิน  152,956 ล้านบาท”

.

สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ของปี 2553 มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ด้วยแรงบวกจากการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์ในช่วงปลายปี 2552  และการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ

.

อาทิ โครงการไทยเข้มแข็ง 1 และ 2  ที่นำงบประมาณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาสินค้าการเกษตรที่เพิ่มขึ้น สิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากข้อตกลงเขตการค้าต่างๆ ที่เราได้รับ เราเชื่อมั่นว่าตลาดรถยนต์ในประเทศจะเติบโตตามลำดับ

.

คาดว่าจะมียอดขาย 600,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 9% แบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 251,000  คัน  รถเพื่อการพาณิชย์ 349,000 คัน โดยจะเป็นรถกระบะขนาด 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 272,000 คัน  และจะเป็นเซ็กเม้นท์สำคัญ ที่ส่งผลดีต่อตลาด แม้ว่าในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถกระบะหดตัว  แต่เชื่อว่าในปีนี้ ตลาดรถกระบะจะเติบโตอีกครั้งหนึ่ง  จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ”

.

ประมาณการยอดขายรถยนต์  ในปี 2553
          ปริมาณการขายรวม                                 600,000 คัน          เพิ่มขึ้น 9.4%
          รถยนต์นั่ง                                             251,000 คัน          เพิ่มขึ้น 9.2%
          รถเพื่อการพาณิชย์                                  349,000 คัน          เพิ่มขึ้น 9.5%
          รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)       302,800 คัน          เพิ่มขึ้น 9.8%
          รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)   272,000 คัน          เพิ่มขึ้น 9.7%

.

มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า ได้ตั้งเป้าหมายการขายไว้ที่ 257,000 คัน เพิ่มขึ้น 11.5%   และคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ในระดับเดียวกันกับปี 2551 ที่ 42.8% แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 111,000 คัน รถเพื่อการพาณิชย์ 146,000 คัน โดยเป็นรถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 114,500 คัน

.

และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายของปี 2553 เรายังคงมุ่งมั่นในการพัฒนารถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป ทั้งรถยนต์พลังงานทางเลือก และรถยนต์ไฮบริด ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และศึกษาความเป็นไปได้ในการแนะนำรถยนต์ไฮบริดรุ่นอื่นๆ ทั้งนี้เรายินดีที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ในการให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อการกำหนดนโยบายสนับสนุนรถยนต์ไฮบริด เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และรักษาสิ่งแวดล้อม”

.

ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2553
          ปริมาณการขายรวม                                257,000 คัน          เพิ่มขึ้น 11.5%          ส่วนแบ่งตลาด 42.8 %
          รถยนต์นั่ง                                            111,000 คัน          เพิ่มขึ้น 10.2%          ส่วนแบ่งตลาด 44.2 %
          รถเพื่อการพาณิชย์                                 146,000 คัน          เพิ่มขึ้น 12.4%          ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
          รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)      131,500 คัน          เพิ่มขึ้น 12.2%          ส่วนแบ่งตลาด 43.4%
          รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)  114,500 คัน          เพิ่มขึ้น 12.2%          ส่วนแบ่งตลาด 42.1%

.

“สำหรับโครงการอีโคคาร์ เรามีความยินดีที่จะให้การสนับสนุนภาครัฐต่อนโยบายอีโคคาร์ และจะดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งสำหรับการเตรียมการ เพื่อพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านความต้องการของตลาดและความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์สำหรับประเทศไทย 

.

อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในขณะนี้ เราจะส่งเสริมการทำตลาดรถยนต์ใช้แล้ว คุณภาพดี ด้วยโครงการ โตโยต้า ชัวร์ เพื่อนำเสนอ รถยนต์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ในราคาที่คุ้มค่าเงิน 

.

ด้านการส่งออก เราคาดว่าจะส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอันเนื่องมาจาก ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับความต้องการรถจากลูกค้าในทวีปหลัก ๆ มีเพิ่มมากขึ้น คาดว่าการส่งออกรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2553 มีประมาณ 287,800 คัน เติบโต 21% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 127,100 ล้านบาท         

.

ส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่  มูลค่า 54,320 ล้านบาท รวมมูลค่าการส่งออกทั้งหมดถึง 181,420 ล้านบาท นับว่ามีส่วนในการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทย และที่สำคัญคือการเพิ่มอัตราการใช้ชิ้นส่วนในประเทศที่สูงขึ้น   

.

โดยปัจจุบันรถยนต์โตโยต้าเน้นการใช้ชิ้นส่วนในประเทศให้ได้มากที่สุด รวมถึงการสนับสนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศใช้อุปกรณ์และวัสดุในประเทศมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดความเสี่ยงทางด้านของอัตราแลกเปลี่ยน และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม”  

.

“นอกจากนี้ เราจะดำเนินกิจกรรมทางการตลาดอย่างเข้มข้นให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าและในพื้นที่มากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าแบบครบวงจร การจัดระบบสินเชื่อรถยนต์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว

.

ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ผมมั่นใจว่าเราจะสามารถรักษาความเป็นผู้นำทั้ง 3 ตลาดให้ได้อีกครั้งหนึ่ง และยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีสำนึกและรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องดังกล่าวไปยังผู้แทนจำหน่าย ผู้ผลิตชิ้นส่วน บริษัทในเครือ มุ่งสู่การครบรอบ 50 ปี ของโตโยต้า ในปี พ.ศ2555 ” มร.ทานาดะ กล่าวในที่สุด               

.
หมายเหตุ : ดาวน์โหลดเนื้อข่าว และไฟล์รูปภาพได้ที่   www.toyota.co.th
.
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนธันวาคม  2552

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 72,085 คัน เพิ่มขึ้น 22.2%                               
           อันดับที่ 1 โตโยต้า       28,341 คัน          เพิ่มขึ้น       9.1%   ส่วนแบ่งตลาด 39.3%    ส่วนต่าง      -    คัน
           อันดับที่ 2 อีซูซุ           14,113 คัน          เพิ่มขึ้น     23.9%   ส่วนแบ่งตลาด 19.6%    ส่วนต่าง 14,228 คัน
           อันดับที่ 3 ฮอนด้า        11,851 คัน          เพิ่มขึ้น       9.7%   ส่วนแบ่งตลาด 16.4%    ส่วนต่าง 16,490 คัน

.

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 30,431 คัน เพิ่มขึ้น 27.7%                                 
          อันดับที่ 1 โตโยต้า          12,207 คัน          เพิ่มขึ้น       20.5%  ส่วนแบ่งตลาด 40.1%     ส่วนต่าง      -   คัน
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า           10,792 คัน          เพิ่มขึ้น       7.5%    ส่วนแบ่งตลาด 35.5%     ส่วนต่าง  1,415 คัน
          อันดับที่ 3 มาสด้า             2,410 คัน          เพิ่มขึ้น    339.8%    ส่วนแบ่งตลาด  7.9%     ส่วนต่าง  9,797 คัน

.

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  35,630 คัน เพิ่มขึ้น 14.2%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า       14,382 คัน          ลดลง        2.9%   ส่วนแบ่งตลาด 40.4%    ส่วนต่าง      -    คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ           13,158 คัน          เพิ่มขึ้น     21.4%  ส่วนแบ่งตลาด 36.9%     ส่วนต่าง   1,224 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน           3,274 คัน          เพิ่มขึ้น     56.1%   ส่วนแบ่งตลาด  9.2%     ส่วนต่าง   9,884 คัน

.
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,756 คัน
 โตโยต้า 1,641 คัน - มิตซูบิชิ 1,011คัน - อีซูซุ 962 คัน - ฟอร์ด 142 คัน
.

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย  31,874 คัน เพิ่มขึ้น 11.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า      12,741 คัน          ลดลง        5.8%    ส่วนแบ่งตลาด 40.0%     ส่วนต่าง      -   คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ          12,196 คัน          เพิ่มขึ้น     21.1%    ส่วนแบ่งตลาด 38.3%     ส่วนต่าง   545 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน          3,274 คัน          เพิ่มขึ้น     56.1%    ส่วนแบ่งตลาด  10.3%   ส่วนต่าง  9,467 คัน

.

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 41,654 คัน เพิ่มขึ้น 18.4%                    
          อันดับที่ 1 โตโยต้า        16,134 คัน          เพิ่มขึ้น     1.8%    ส่วนแบ่งตลาด 38.7%      ส่วนต่าง      -   คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ            14,113 คัน          เพิ่มขึ้น    23.9%    ส่วนแบ่งตลาด 33.9%     ส่วนต่าง  2,021 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน            3,282 คัน          เพิ่มขึ้น    55.0%    ส่วนแบ่งตลาด   7.9%     ส่วนต่าง 12,852 คัน

.
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2552

1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 548,871 คัน ลดลง 10.8%                              
          อันดับที่ 1 โตโยต้า       230,585 คัน          ลดลง    12.1%             ส่วนแบ่งตลาด 42.0%   ส่วนต่าง        -    คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ           110,969 คัน          ลดลง    16.8%             ส่วนแบ่งตลาด 20.2%   ส่วนต่าง 119,616 คัน
          อันดับที่ 3 ฮอนด้า          93,409 คัน          เพิ่มขึ้น    2.9%             ส่วนแบ่งตลาด 17.0%   ส่วนต่าง  137,176 คัน

.

2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 230,037 คัน เพิ่มขึ้น 1.4%                                
          อันดับที่ 1 โตโยต้า         100,747 คัน          ลดลง      5.7%              ส่วนแบ่งตลาด 43.8%  ส่วนต่าง        -   คัน
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า            88,125 คัน          เพิ่มขึ้น    7.6%              ส่วนแบ่งตลาด 38.3%  ส่วนต่าง  12,622 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน               9,539 คัน          เพิ่มขึ้น   24.8%              ส่วนแบ่งตลาด   4.1%  ส่วนต่าง  91,208 คัน

.

3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  275,892 คัน ลดลง  17.5%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า    117,252 คัน          ลดลง    17.0%              ส่วนแบ่งตลาด 42.5%   ส่วนต่าง      -     คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ        103,483 คัน          ลดลง    17.8%              ส่วนแบ่งตลาด 37.5%   ส่วนต่าง  13,769 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน        20,541 คัน          ลดลง    12.8%              ส่วนแบ่งตลาด   7.4%   ส่วนต่าง  96,711 คัน

          *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 28,005คัน
          โตโยต้า 15,226 คัน - อีซูซุ 6,052 คัน - มิตซูบิชิ 5,957 คัน - ฟอร์ด 770 คัน

.

4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 247,887 คัน ลดลง 20.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า     102,026 คัน          ลดลง    19.8%            ส่วนแบ่งตลาด 41.2%   ส่วนต่าง      -   คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ           97,431 คัน          ลดลง    18.5%            ส่วนแบ่งตลาด 39.3%   ส่วนต่าง  4,595 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน         20,541 คัน           ลดลง    12.8%            ส่วนแบ่งตลาด  8.3%   ส่วนต่าง 81,485 คัน

.

5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 318,834 คัน ลดลง 17.9%                    
          อันดับที่ 1 โตโยต้า       129,838 คัน          ลดลง    16.4%            ส่วนแบ่งตลาด 40.7%   ส่วนต่าง         -   คัน
          อันดับที่ 2 อีซูซุ           110,969 คัน          ลดลง    16.8%            ส่วนแบ่งตลาด 34.8%   ส่วนต่าง   18,869 คัน
          อันดับที่ 3 นิสสัน           20,862 คัน          ลดลง    13.4%            ส่วนแบ่งตลาด   6.5%   ส่วนต่าง  108,976 คัน