เนื้อหาวันที่ : 2010-01-19 10:16:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2517 views

เศษผ้า...ทำลายสิ่งแวดล้อมแบบไม่รู้ตัว

GHD ชี้การใช้เศษผ้าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม ใช้พลังงานมากกว่า 3.9 เท่าของพลังงานที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม

GHD ชี้การใช้เศษผ้าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม ใช้พลังงานมากกว่า 3.9 เท่าของพลังงานที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม

.

.

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาใหญ่ที่นานาประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และมีความเพียรพยายามในการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อนทุกรูปแบบอย่างเร่งด่วน จะเห็นได้จากมีการริเริ่มโครงการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนร่วมมือกันลดผลกระทบจากการประกอบกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่นับเป็นภาคส่วนหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและสุขอนามัยของชาวบ้านในชุมชนพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.

เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อมในมาบตาพุด ประกอบด้วย ปัญหามลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะและกากของเสียอุตสาหกรรม คุณภาพน้ำและอากาศที่ไม่เหมาะสม สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในชุมชนพื้นที่  จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่รอการแก้ไขอยู่ในขณะนี้

.

ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นเล็กๆ ในโรงงานที่เป็นตัวการสำคัญส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่หลายคนคาดไม่ถึงก็คือ เศษผ้า หลายคนอาจเข้าใจว่า การใช้เศษผ้าในงานเช็ดทำความสะอาดเป็นการประหยัดและลดการใช้ทรัพยากร

.

แต่รู้หรือไม่ว่า จากการศึกษาของบริษัท GHD* ซึ่งได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีชื่อว่า EnvironTool พบว่า การใช้เศษผ้าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม

.

.

เช่น กระดาษหรือวัสดุที่ผลิตจากใยสังเคราะห์ โดยได้มีการประเมินและเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งวงจร เริ่มจากการจัดส่งเศษผ้าหรือผลิตภัณฑ์เช็ดไปยังโรงงาน ขั้นตอนในการใช้งาน จนถึงขั้นตอนการกำจัดวัสดุที่ใช้แล้ว โดยการคำนวณจากปริมาณการใช้เศษผ้าและผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมจำนวน 1 ล้านครั้ง พบว่า

.

- ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมใช้พลังงานในขั้นตอนการขนส่งไปสู่ลูกค้าน้อยกว่าเศษผ้าถึง 74% เทียบเท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่คนไทยใช้ต่อคนต่อวันถึง 2,518 คน ซึ่งมากเป็น 3.9 เท่าของพลังงานที่ใช้ขนส่งผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรม
(ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมใช้พลังงานเพียง 31 เมกะจูลต่อกิโลเมตรต่อการใช้หนึ่งล้านครั้ง ในขณะที่เศษผ้าต้องใช้พลังงานถึง 121 เมกะจูลต่อกิโลเมตรต่อการใช้หนึ่งล้านครั้ง)

.

- ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขั้นตอนการขนส่งขยะที่เกิดจากการใช้งานไปยังสถานที่กำจัดในปริมาณที่น้อยกว่าเศษผ้าถึง 89%
(ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เศษผ้าปล่อยออกมาสูงถึง 17 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลเมตร  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมปล่อยออกมาเพียง 2 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลเมตร)

.

- ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในขั้นตอนการกำจัดด้วยการเผา ในปริมาณที่น้อยกว่าเศษผ้าถึง 99.8%
(ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เศษผ้าปล่อยออกมาสูงถึง 50,938 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลเมตร  ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมปล่อยออกมาเพียง 100 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลเมตร)

.

.

.

.

ข้อมูลการคำนวณอ้างอิงโดยใช้ตัวอย่างจาก 
- ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ 100% 
- เศษผ้าคละชนิดคละสี

.

ข้อสังเกตจากการศึกษาโดยใช้เครื่องมือวัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรม EnvironTool พบว่า การใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดอุตสาหกรรมแทนเศษผ้าเทียบเท่ากับการลดปริมาณรถยนต์บนถนนถึง 24 คันใน 1 วัน หากรู้เช่นนี้แล้ว ผู้ประกอบการควรมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการเช็ดทำความสะอาดให้เหมาะสม เพื่อช่วยกันลดโลกร้อนและทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น

..

ข้อมูลการวิจัยอ้างอิงจาก 
- GHD literature research, Anna Montgomery, GHD Environmental Engineer – Waste Management, Australia (2008) 
- ERM (2002) National Clean Development Mechanism Strategy Study for the Kingdom of Thailand, Executive Summary
- Department of Alternative Energy Development and Efficiency (2007) Electric Power in Thailand, Ministry of Energy
- Department of Climate Change (2008) National Greenhouse Accounts (NGA) Factors, Commonwealth of Australia
- Department of the Environment and Heritage Australian Greenhouse Office (2006) AGO Factors and Methods Workbook, Commonwealth of Australia

.

*บริษัท GHDเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่ให้คำแนะนำด้านการดำเนินงานและเทคนิคอย่างมืออาชีพทั่วโลก โดยครอบคลุมธุรกิจนานาประเภท ได้แก่ ธุรกิจน้ำ ธุรกิจพลังงานและทรัพยากร ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอาคาร และธุรกิจขนส่ง ทั้งนี้ บริษัท GHD ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม 1 ใน 30 อันดับแรกของโลก

.