เนื้อหาวันที่ : 2010-01-13 13:39:22 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1174 views

กกพ. เปิดแผนปี 53 ชู 6 ยุทธศาสตร์พลังงาน

กกพ. คุยโวอวดผลงาน 2 ปี ออกใบอนุญาตแล้ว 923 ฉบับ ตรึงค่า Ft ช่วยประชาชนลดภาระค่าไฟกว่า 1.5 หมื่นล้าน เปิดแผนปี 53 เดินหน้า 6 ยุทธศาสตร์พลังงาน สร้างประสิทธิภาพกิจการพลังงานในเชิงรูปธรรม

กกพ. คุยโวอวดผลงาน 2 ปี ออกใบอนุญาตแล้ว 923 ฉบับ ตรึงค่า Ft ช่วยประชาชนลดภาระค่าไฟกว่า 1.5 หมื่นล้าน เปิดแผนปี 53 เดินหน้า 6 ยุทธศาสตร์พลังงาน สร้างประสิทธิภาพกิจการพลังงานในเชิงรูปธรรม             

.

.

กกพ. ชูผลงาน 2 ปี ออกใบอนุญาตแล้ว 923 ฉบับ ตรึงค่า Ft ช่วยประชาชนบรรเทาภาระค่าไฟกว่า 15,000 ล้านบาท พร้อมเปิดแผนปี 53 เดินหน้า 6 ยุทธศาสตร์พลังงาน มุ่งสร้างประสิทธิภาพให้เกิดเป็นรูปธรรม เร่งกำหนดมาตรฐานค่าไฟ ผลักดันพลังงานทดแทน และการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน 

 .

พร้อมเตรียมยกร่างระเบียบใช้จ่ายเงินกองทุนฯ มาตรฐานบริการก๊าซ และร่างกำหนดให้ VSPP รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนออกใบอนุญาต ตลอดจนเร่งสรรหา คพข. สร้างความเป็นธรรมด้านพลังงานสู่ท้องถิ่น

 .

ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ในปี 2553 กกพ. มีเป้าหมายที่จะเร่งเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน 5 ปี พ.ศ. 2551 – 2555 โดยจะมุ่งเน้นประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมในภาพรวม

 .

เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรกำกับดูแลชั้นเลิศ โดยการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านพลังงาน การมีเวทีแข่งขันที่ได้มาตรฐาน และมีอัตราค่าบริการที่สะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจน และมีความโปร่งใส

 .

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การวางรากฐานการกำกับกิจการพลังงานออกไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้พลังงานทั่วประเทศเกิดความเข้าใจในกิจการพลังงาน

 .

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกกพ.ในรอบ 2 ปี ได้บรรลุตามเป้าหมายของแผนงานที่เน้นการวางรากฐานการกำกับกิจการพลังงาน และสร้างความรับรู้และเข้าใจแก่ผู้ใช้พลังงานและผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงาน ดังนี้

 .

1. การออกใบอนุญาต กกพ. สามารถออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนรวม 923 ฉบับ แบ่งเป็น ใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า 225 ฉบับ กำลังการผลิตรวม 34,955 MW ใบอนุญาตผลิตพลังงานควบคุม จำนวน 631 ฉบับ กำลังการผลิตรวม 14,796 MW ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 63 ฉบับ กำลังการผลิตรวม 1,088 MW และใบอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จำนวน 4 ฉบับ

 .

2. การกำกับดูแลอัตราค่าบริการ กกพ. มีการตรึงค่าเอฟทีมาแล้วจำนวน 4 รอบ ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2552 ถึงปัจจุบัน (มกราคม – เมษายน 2553) รวมทั้ง มีการปรับอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติที่สะท้อนภาระการลงทุนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เท่าที่จำเป็น และเพียงพอต่อการลงทุนขยายระบบโครงข่ายก๊าซธรรมชาติ

 .

3. การจัดตั้งกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สกพ.ได้จัดให้มีการสัมมนาชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดแนวทางการดำเนินงานของกองทุนฯ พร้อมทั้งเตรียมยกร่างระเบียบกองทุนฯ

 .

โดยที่ผ่านมาได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ทั้งในระดับภาคจำนวน 4 ภาค 5 พื้นที่ และนำมาประมวลความคิดเห็นระดับประเทศอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าระเบียบดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถอนุมัติแผนงานโครงการของ ชุมชนได้ในเดือนเมษายน 2553 นี้

 .

4. การจัดตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงงานประจำเขต (คพข.) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างนำร่างระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องลงประกาศในราช กิจจานุเบกษา ซึ่งประกอบด้วยระเบียบว่าด้วยคุณสมบัติ ประกาศกำหนดเขตพื้นที่ผู้ใช้พลังงาน และประกาศเรื่องการสรรหา คพข. โดย คพข. จะประกอบไปด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการไม่เกิน 10 คน

 .

แต่งตั้งจากผู้ใช้พลังงานในแต่ละเขตตามเขต พื้นที่ทั่วประเทศที่จะประกาศ (13 เขต) และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดย คพข.จะทำหน้าที่รับและพิจารณาเรื่องร้องเรียน ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้พลังงาน รวมทั้งเสนอมาตรการแก้ไขปรับปรุงการให้บริการต่อ กกพ. เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยจะเปิดรับสมัคร คพข. ตั้งแต่วันที่ 1 – 16 กุมภาพันธ์ 2553

 .

5. การจัดตั้งสำนักงานประจำเขต สกพ. ได้แบ่งพื้นที่ในการจัดตั้งเป็นสำนักงานเขตของ สกพ.ทำหน้าที่ของ สกพ. ในระดับภูมิภาค เพื่อรองรับการขอรับใบอนุญาต กำกับดูแลการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามวัตถุประสงค์ของกองทุนในเขต พื้นที่รับผิดชอบ ประสานการดำเนินงานกับคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต รับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน หรือผู้ประกอบกิจการพลังงาน

 .

สนับสนุนและประสานงานเกี่ยวกับการดำเนินการ จัดการรับฟังความคิดเห็นตามพระราชบัญญัติฯ โดยแบ่งสำนักงานเขตออกเป็น 13 เขต ดังนี้ คือ เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ เขต 2 จังหวัดพิษณุโลก เขต 3 จังหวัดนครสวรรค์ เขต 4 จังหวัดขอนแก่น เขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี เขต 6 จังหวัดนครราชสีมา

 .

เขต 7 จังหวัดสระบุรี เขต 8 จังหวัดชลบุรี เขต 9 จังหวัดกาญจนบุรี เขต 10 จังหวัดราชบุรี เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 12 จังหวัดสงขลา และเขต 13 กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ การจัดตั้งสำนักงานประจำเขตดังกล่าวจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ พลังงานและผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ต้องการจะติดต่อกับ สกพ

 .

6. เร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเป็นการจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และยกร่างประกาศการให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าสำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียน (ประกาศ Adder) และมอบหมายให้การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งรับไปจัดทำรายละเอียดและประกาศใช้

 .

โดยการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าเพื่อสนับสนุนผู้ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ขณะเดียวกัน กกพ.อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตที่มีกำลังการผลิตไม่ เกิน 10 เมกะวัตต์ ต้องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ กกพ.ทราบ เพื่อประกอบการพิจารณาให้ใบอนุญาต และเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะมีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

 .

ดร.ดิเรก กล่าวต่อไปอีกว่า กกพ.ในฐานะหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานได้เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ กกพ.จะเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการระหว่างเรกูเลเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อระดมความคิดเห็น และหาแนวทางในการกำกับกิจการพลังงานในสถานการณ์ที่ต้องคำนึงถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลก