เนื้อหาวันที่ : 2009-12-08 15:30:59 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7855 views

การตัดสินใจเกี่ยวกับราคาผลิตภัณฑ์และการบริการ (ตอนจบ)

การคำนวณหาราคาขายจากฐานต้นทุนที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ มีจุดเริ่มต้นจากการที่กิจการได้ทำการวิจัย พัฒนา หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการบริการ หลังจากนั้นจะคำนวณหาต้นทุนในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดราคาขาย อย่างไรก็ตามกิจการอีกหลาย ๆ แห่งมีแนวทางที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเรียกว่า ต้นทุนเป้าหมาย

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

.

.

ต้นทุนและราคาขายเป้าหมาย (Target Costing and Pricing)

การคำนวณหาราคาขายจากฐานต้นทุนที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ มีจุดเริ่มต้นจากการที่กิจการได้ทำการวิจัย พัฒนา หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือการบริการ หลังจากนั้นจะคำนวณหาต้นทุนในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดราคาขาย อย่างไรก็ตามกิจการอีกหลาย ๆ แห่งมีแนวทางที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเรียกว่า ต้นทุนเป้าหมาย

.

วิธีการนี้จะทราบราคาขายก่อนเป็นลำดับแรก โดยข้อมูลราคาขายที่ทราบนั้นเป็นราคาขายเป้าหมายที่ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่าย ฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้ที่ทำการประเมินว่าลักษณะของผลิตภัณฑ์ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งนั้น ลูกค้ามีความพึงพอใจที่จะสามารถยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือการบริการเหล่านั้นในราคาขายเท่าใด

.

หลังจากที่ทราบราคาขายเป้าหมายที่ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายแล้ว จะนำกำไรที่ต้องการมาหักออกจากราคาขายเพื่อจะได้ทราบว่าต้นทุนเป้าหมายมีจำนวนเท่าใด เมื่อทราบต้นทุนเป้าหมายว่าเป็นเท่าใดแล้ว ฝ่ายวิศวกรการผลิตจะต้องทำการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณลักษณะตามที่ลูกค้าคาดหวัง โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขต้นทุนเป้าหมาย กำไรที่ต้องการ และราคาขายเป้าหมายที่ลูกค้ายินดีจ่าย

.

จากที่กล่าวมาข้างต้น ต้นทุนเป้าหมายสำหรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถคำนวณหาได้ได้ดังนี้
ต้นทุนเป้าหมาย = ราคาขายเป้าหมาย – กำไรที่ต้องการ

.
ตัวอย่างที่ 2

กอบแก้วอุตสาหกรรมได้ทำการสำรวจและวิจัยตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะนำออกสู่ตลาดคือ ผลิตภัณฑ์ A ฝ่ายการตลาดได้ข้อสรุปที่ทำให้เชื่อได้ว่า ระดับราคาขายของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวควรจะอยู่ที่ 80 บาทต่อหน่วย ที่ระดับราคาดังกล่าวฝ่ายการตลาดคาดการณ์ว่าจะสามารถขายผลิตภัณฑ์ A ได้ประมาณปีละ 80,000 หน่วย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องการใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000,000 บาท ผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุนเท่ากับ 12%

.
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ต้นทุนเป้าหมายซึ่งรวมถึงต้นทุนการผลิต การขาย การจัดจำหน่าย และการบริการหลังการขายผลิตภัณฑ์ A ควรจะเป็นเท่าใด
.

.

จากการคำนวณ กิจการจะต้องทำการวางแผนและควบคุมให้ต้นทุนจริงที่เกิดขึ้นมีจำนวนไม่เกินไปกว่าต้นทุนเป้าหมาย ซึ่งอยู่ที่ระดับราคา 77 บาทต่อหน่วย ที่ระดับต้นทุนเป้าหมายดังกล่าว จะต้องครอบคลุมการทำงานในหลายส่วนงานไม่ว่าจะเป็นการผลิต การตลาด การจัดจำหน่าย การบริการหลังการขายและอื่น ๆ

.
การตั้งราคาวิธีการทางเศรษฐศาสตร์ (The Economists’ Approach to pricing)

เมื่อกิจการทำการปรับราคาขายสินค้าเพิ่มขึ้น ปริมาณการขายของสินค้าจะลดลงไปจากเดิม เนื่องจากราคาขายจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการขาย ผลประโยชน์ที่ได้รับจากราคาขายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละหน่วยนั้นจะต้องแลกเปลี่ยนกับปริมาณการขายที่จะมีการเปลี่ยนแปลงลดลง ความไวของหน่วยขายที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาขายนั้นถูกเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา

.
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์

ความยืดหยุ่นของราคาของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดราคาขาย ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเป็นการวัดระดับปริมาณการขายของผลิตภัณฑ์ หรือการบริการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งว่าได้รับผลกระทบอย่างไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาขาย อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์จะมีความยืดหยุ่นน้อย

.

ถ้าการเปลี่ยนแปลงของระดับราคามีผลกระทบต่อปริมาณการขายสินค้าเพียงเล็กน้อย ในทางตรงกันข้ามผลิตภัณฑ์จะมีความยืดหยุ่นมาก ถ้าการเปลี่ยนแปลงของราคามีผลกระทบต่อปริมาณการขายสินค้ามาก

.

ความยืดหยุ่นของราคาเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการกำหนดราคา ผู้บริหารจะต้องกำหนดส่วนเพิ่มให้มีจำนวนสูงมากเพียงพอที่จะสามารถครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดได้ เมื่อลูกค้ามีพฤติกรรมที่มีความไวต่อราคาสินค้าไม่มากนัก (อุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย) และกำหนดส่วนเพิ่มให้ต่ำกว่าเมื่อลูกค้ามีความเกี่ยวข้องต่อความไวของราคาสินค้ามาก (อุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก)

.
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของผลิตภัณฑ์หรือการบริการใด ๆ สามารถประมาณการได้โดยใช้สูตรดังนี้
.
ตัวอย่างที่ 3

ผู้บริหารของบริษัทโรซ่าอุตสาหกรรม มีความเชื่อว่าทุกระดับราคาขายของสินค้า A ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 10% จะส่งผลทำให้ปริมาณการขายสินค้า A ลดลงไปเท่ากับ 16% ในขณะที่ทุกระดับราคาขายของสินค้า B ที่ลดลงไป 10% จะส่งผลทำให้ปริมาณการขายสินค้า B ลดลงไปเท่ากับ 20% จากข้อมูลนี้สามารถนำมาคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาสำหรับสินค้า A และสินค้า B ได้ดังนี้

.
จากสูตร
.
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของสินค้า A
.
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของสินค้า B
.

เมื่อพิจารณาค่าความยืดหยุ่นของสินค้าทั้ง 2 ชนิดข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าสินค้า A มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ -1.83 ในขณะที่สินค้า B มีค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ -1.71 ค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสินค้า A มีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามากกว่าสินค้า A ซึ่งหมายถึงว่าลูกค้ามีความไวต่อราคาของสินค้า A มากกว่า ค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่คำนวณได้นั้นจะถูกนำไปใช้เพื่อการคำนวณหาราคาขายที่ทำให้มีกำไรสูงสุดในทางเศรษฐศาสตร์ต่อไป

.
ราคาขายที่มีกำไรสูงสุด (The Profit-Maximizing Price)

ภายใต้เงื่อนไขที่มีความแน่นอนกล่าวคือสูตรการคำนวณต่อไปนี้มีข้อสมมติฐานว่าค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคามีค่าคงที่ ต้นทุนรวมมีค่าเท่ากับต้นทุนคงที่รวมบวกกับผลคูณของต้นทุนผันแปรต่อหน่วยกับปริมาณการขาย และราคาขายของผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับผลกระทบจากราคาขายหรือต้นทุนของผลิตภัณฑ์อื่นใด สามารถประเมินค่าหาอัตราส่วนบวกเพิ่มต้นทุนผันแปรต่อหน่วยที่ทำให้ได้มาซึ่งราคาขายที่มีกำไรสูงสุด ได้ดังนี้

.
อัตราส่วนบวกเพิ่มต้นทุนผันแปรทำให้มีกำไรสูงสุด = 
.
จากการใช้อัตราส่วนบวกเพิ่มข้างต้นเทียบเท่ากับการกำหนดราคาขายโดยใช้สูตรต่อไปนี้
ราคาขายที่มีกำไรสูงสุด =   ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
.
ตัวอย่างที่ 4

จากตัวอย่างที่ 3 ถ้าโรซ่าอุตสาหกรรมมีต้นทุนผันแปรต่อหน่วยของสินค้า A และสินค้า B เท่ากับ 4 บาท และ 1 บาท ตามลำดับ ราคาขายของสินค้า A และสินค้า B ที่ทำให้กิจการมีกำไรสูงสุดเท่ากับเท่าใด  

.

.

จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่าเมื่อนำค่าอัตราส่วนบวกเพิ่มคูณต้นทุนผันแปรต่อหน่วย จะทำให้ทราบมูลค่าส่วนที่บวกเพิ่มของสินค้า A และสินค้า B ซึ่งได้ค่าเท่ากับ 4.80 บาท และ 1.40 บาท เมื่อนำมูลค่าส่วนที่บวกเพิ่มบวกต้นทุนแปรต่อหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด จะทำให้ทราบว่าราคาขายที่จะทำให้กิจการมีกำไรสูงสุดตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของสินค้า A และสินค้า B มีค่าเท่ากับ 8.80 บาท และ 2.40 บาท

.
กิจการให้การบริการ: ราคาขายจากวัสดุ และค่าแรงงาน

กิจการบางประเภทหรือบางแห่งโดยเฉพาะกิจการให้การบริการ จะใช้ฐานต้นทุนบวกส่วนเพิ่มในลักษณะที่แตกต่างไปจากที่ได้กล่าวถึงข้างต้นกล่าวคือ ใช้ฐานต้นทุนบวกส่วนเพิ่มที่เรียกว่า ราคาขายจากวัสดุและค่าแรงงาน (Time and Material Pricing) ภายใต้วิธีการนี้จะประกอบไปด้วยอัตราราคา 2 ส่วนคือ อัตราค่าแรงงาน และอัตราค่าวัตถุดิบทางตรงหรือวัสดุทางตรงที่ใช้ในการให้การบริการ

.

อัตราเหล่านี้จะมีความหมายรวมถึงค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหารจัดการ การบริหารงานทั่วไปสำหรับต้นทุนทางตรงอื่น ๆ และกำไรที่ต้องการ อัตราต้นทุนวิธีนี้ถูกนำไปใช้กันโดยทั่วไปในกิจการซ่อมบำรุง โรงพิมพ์ และงานทางวิชาชีพอื่น ๆ เช่น นักบัญชี ทนายความ กายภาพบำบัด และงานที่ปรึกษา

.
ส่วนประกอบของเวลา

ส่วนประกอบของเวลาเป็นส่วนที่แสดงอัตราแรงงานต่อชั่วโมง อัตรานี้เป็นการคำนวณรวมถึง 3 องค์ประกอบย่อยคือ ต้นทุนทางตรงของพนักงานซึ่งรวมถึงเงินเดือน และผลประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงาน ส่วนที่สองเป็นค่าใช้จ่ายส่วนที่สำรองไว้สำหรับการขาย การบริหารและงานทั่วไป ส่วนสุดท้ายคือกำไรที่ต้องการต่ออัตราค่าแรงงานต่อชั่วโมง สรุปเป็นสูตรได้ดังนี้

.
ต้นทุนของเวลา = อัตราค่าแรงงานต่อชั่วโมง + ค่าใช้จ่ายขาย บริหาร และอื่น ๆ + กำไรที่ต้องการ
.
ส่วนประกอบของวัตถุดิบหรือวัสดุ

ส่วนประกอบของวัสดุเป็นการคำนวณรวมถึง 3 องค์ประกอบย่อยคือ ต้นทุนทางตรงของวัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ตามใบกำกับสินค้า ส่วนที่สองคือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุดิบหรือวัสดุเพื่อใช้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ การขนย้าย การตรวจรับ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา และอื่น ๆ ส่วนที่สามคือกำไรที่ต้องการจากต้นทุนของวัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ สรุปเป็นสูตรได้ดังนี้

.
ต้นทุนของเวลา = ต้นทุนทางตรงของวัสดุ + ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง + กำไรที่ต้องการ
.
ตัวอย่างที่ 5
กาโม่บริการมีข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณและแผนงานของกิจการสำหรับรอบระยะเวลา 1 ปีที่กำลังจะมาถึงดังนี้

.

กิจการคาดการณ์ว่าจะมีชั่วโมงการให้บริการซ่อมบำรุงในรอบปีงบประมาณดังกล่าวเท่ากับ 24,000 ชั่วโมง กำไรบวกเพิ่มในส่วนของค่าจ้างแรงงานเท่ากับ 14 บาทต่อชั่วโมง ส่วนกำไรที่บวกเพิ่มต้นทุนค่าวัสดุและชิ้นส่วนในการซ่อมบำรุงเท่ากับ 15%

.

จากข้อมูลข้างต้นจะต้องทำการคำนวณหาอัตราที่จะใช้คิดราคางานในการรับงานซ่อมบำรุงให้กับลูกค้าแต่ละรายสำหรับระยะเวลา 1 ปีงบประมาณทั้งในส่วนของค่าแรงงาน วัสดุและชิ้นส่วนที่ใช้ในงานหนึ่ง ๆ ได้ดังนี้ 

.

.

จากการคำนวณข้างต้นจะเห็นได้ว่า มูลค่าต้นทุนที่ใช้ในการคิดราคางานส่วนของชิ้นส่วนและวัสดุเท่ากับ 45% ส่วนอัตราการคิดราคาแรงงานเท่ากับ 43 บาทต่อชั่วโมงแรงงาน

.

ถ้ากิจการรับงานซ่อมบำรุง โดยมีความต้องการใช้ชั่วโมงแรงงานในการซ่อมบำรุงให้กับลูกค้าจำนวน 10 ชั่วโมง สำหรับวัสดุและชิ้นส่วนที่จะใช้กับงานชิ้นนี้มีมูลค่าตามใบกำกับสินค้าเท่ากับ 1,200 บาท กิจการจะคิดราคางานในครั้งนี้เท่ากับเท่าใด

.

จากอัตราคิดราคางานที่คำนวณได้ข้างต้น สามารถนำมาใช้เพื่อการคิดราคางาน ได้ดังนี้

.

กิจการจะต้องคิดราคางานดังกล่าวข้างต้นเท่ากับ 2,170 บาท จึงจะครอบคลุมต้นทุนในการดำเนินงานได้ทั้งหมด รวมถึงยังสามารถทำกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการได้ด้วย

.

บรรณานุกรม

1. Ronald, W. Hilton. Managerial Accounting.
2. Ray, H. Garrison, Eric, W. Noreen. Managerial Accounting.
3. Don, R. Hansen, Maryanne, M. Mowen. Cost Management: Accounting and Control.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด