เนื้อหาวันที่ : 2009-11-29 12:09:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 14844 views

ปัจจัยการจัดทำมาตรฐานการทำงาน

การดำเนินกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมมักเกิดความสูญเปล่าจากการปฏิบัติงาน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่สอดคล้องในวิธีการทำงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อพวกเราได้เข้าไปสังเกตการทำงานในสายการผลิตจึงมักพบเห็นแรงงานกำลังมองหาเครื่องมือหรือชิ้นงานเพื่อใช้ในกิจกรรมในสายการผลิตและนั่นคือ การเคลื่อนไหวที่ไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่มหรืออาจเรียกว่ามูดะ (Muda)

โกศล ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com                                           

.

.

โดยทั่วไปการดำเนินกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมมักเกิดความสูญเปล่าจากการปฏิบัติงาน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่สอดคล้องในวิธีการทำงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเมื่อพวกเราได้เข้าไปสังเกตการทำงานในสายการผลิตจึงมักพบเห็นแรงงานกำลังมองหาเครื่องมือหรือชิ้นงานเพื่อใช้ในกิจกรรมในสายการผลิตและนั่นคือ การเคลื่อนไหวที่ไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่มหรืออาจเรียกว่ามูดะ (Muda) 

.

โดยสาเหตุมักเกิดจากการลำดับการทำงานไม่เหมาะสม การจัดวางผัง ขาดความชัดเจนในวิธีการทำงาน (Work Procedure) ซึ่งความจริงแล้วการเคลื่อนไหวกับการทำงานไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  

.

สำหรับงาน (Work) จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดการแปรรูปวัสดุหรือชิ้นงานเป็นผลิตภัณฑ์ด้วยการเพิ่มคุณค่าให้กับวัตถุดิบ นั่นคือ การเคลื่อนไหวที่สร้างคุณค่าเพิ่มและก่อให้เกิดเนื้องาน (Work Content) ซึ่งแสดงด้วยสัดส่วนความสัมพันธ์ ดังนี้   

.

.

ดังตัวอย่างเช่น เวลารวมสำหรับปฏิบัติงาน 50 นาที แต่เกิดการทำงานจริง 40 นาที นั่นคือ เกิดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว10 นาทีหรือเกิดเนื้องานขึ้นในสัดส่วน 80% ความสูญเปล่าดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าและเสียเวลาทำงาน

.

เนื่องจากการเคลื่อนไหวและวิธีการทำงานไม่เหมาะสมด้วยเหตุนี้การเคลื่อนไหวที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Non-value Added Motion) จึงต้องถูกขจัดออกด้วยแนวทางไคเซ็นเพื่อมุ่งเพิ่มสัดส่วนการปฏิบัติงานที่เพิ่มคุณค่า (Value-added Operations) โดยมีการจัดทำมาตรฐานการทำงาน สนับสนุนให้เกิดความสอดคล้องในกระบวนการทำงาน

.

.

สำหรับการจัดทำมาตรฐานการทำงานได้เริ่มด้วยการจำแนกระหว่างงานที่ดำเนินการด้วยแรงงาน กับงานที่เกิดจากการแปรรูปด้วยเครื่องจักร ดังนั้นมาตรฐานการทำงานจึงไม่เพียงแค่มุ่งความปลอดภัยและคุณภาพผลิตผลในระดับต้นทุนที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังหลีกเลี่ยงปัญหาการผลิตมากเกินความจำเป็น ดังนั้นมาตรฐานการทำงานจึงเป็นจุดเริ่มต้นในกระบวนการไคเซ็น โดยมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้

.

1. เวลาแทกต์ (Takt Time) เป็นเวลาเป้าหมายสำหรับการแปรรูปชิ้นงานให้เสร็จสิ้น
2. วิธีการทำงาน (Work Procedure) แสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน (Operation Sequence) และสามารถสื่อความให้เข้าใจง่ายด้วย รูปภาพ แผนผัง หรือรูปถ่ายประกอบคำอธิบาย
3. มาตรฐานสำหรับงานระหว่างผลิต (Standard Work-In-Process)

.

รูปที่ 1 องค์ประกอบสนับสนุนสู่การปฏิบัติการที่เป็นเลิศ

.

สำหรับช่วงดำเนินการจัดทำเอกสารมาตรฐานการทำงานจะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไคเซ็น (KAIZEN Process) นั่นคือ

รูปที่ 2 แสดงกระบวนการไคเซ็น

.

• ข้อมูลใบแสดงกำลังการผลิต (Production Capacity) ของแต่ละกระบวนการ เพื่อจำแนกกำลังการผลิตในแต่ละส่วนการผลิต
• ข้อมูลเอกสารมาตรฐาน (Standard Work Combination Sheet) โดยแสดงข้อมูลกำลังการผลิตและเวลาแทกต์
• ข้อมูลเอกสารมาตรฐานการทำงาน (Standard Work Sheet) เพื่อนำติดแสดงให้ผู้ควบคุมงานและผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนได้รับทราบขอบเขตของงาน

.
ตัวอย่าง การแสดงข้อมูลเอกสารมาตรฐานการทำงาน
Master Cylinder Machining Process

.
1. แผนภาพการจัดวางเครื่องจักร (Machinery Layout Diagram) 

.
2. ลำดับขั้นตอนกระบวนการและข้อมูลเวลา (Processing Sequence and Times) 

.

3. เครื่องมือ/มีดตัดและเวลาสำหรับถอดเปลี่ยน (Tool Changes and Times) โดยจำแนกกลุ่มประเภทเครื่องมือและแสดงรายละเอียดลักษณะการใช้งานเครื่องมือแต่ละประเภทอย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาการชำรุดก่อนเวลาอันควร ดังเช่น

.

3-1: ดำเนินการถอดเปลี่ยนเครื่องมือ/มีดตัดประจำเครื่องจักร M110 หลังจากผลิตชิ้นงานทุก 100 ชิ้น และใช้เวลาถอดเปลี่ยน 60 วินาที
3-2: ดำเนินการถอดเปลี่ยนเครื่องมือ/มีดตัดประจำเครื่องจักร L210 หลังจากผลิตชิ้นงานทุก 200 ชิ้น และใช้เวลาถอดเปลี่ยน 50 วินาที
3-3: ดำเนินการถอดเปลี่ยนเครื่องมือ/มีดตัดประจำเครื่องจักร D310 หลังจากผลิตชิ้นงานทุก 300 ชิ้น และใช้เวลาถอดเปลี่ยน 100 วินาที
3-4: ดำเนินการถอดเปลี่ยนเครื่องมือ/มีดตัดประจำเครื่องเลขที่ T310 หลังจากผลิตชิ้นงานทุก 400 ชิ้น และใช้เวลาถอดเปลี่ยน 30 วินาที

.

4. ข้อมูลประกอบ เช่น
4-1: แรงงานใช้เวลาสำหรับเดินระหว่างเครื่องจักร 2 วินาที
4-2: แรงงานใช้เวลา 2 วินาที่สำหรับการหยิบและถอดชิ้นงาน 

.
รายละเอียดข้อมูลในเอกสารกำลังการผลิต
สำหรับรายละเอียดข้อมูลกำลังการผลิตประกอบด้วย

รูปที่ 3 เอกสารแสดงกำลังการผลิต (Table of Production Capacity by Process)

.

1. ลำดับขั้นตอนกระบวนการ (Process Sequence) โดยใส่หมายเลขตามลำดับการทำงาน
2. รายละเอียด/ชื่อกระบวนการ (Process Name) 
3. แสดงหมายเลขเครื่องจักร (Machine Number)
4. ข้อมูลเวลาพื้นฐาน (Basic Time) โดยเฉพาะเวลาสำหรับกระบวนการแปรรูป (Processing Time) ประกอบด้วย

.

• เวลาปฏิบัติการด้วยมือ (Manual Time) เป็นเวลาที่ดำเนินการด้วยแรงงาน (Human Work) และรวมถึงเวลาที่เสียไปในขณะเคลื่อนย้ายหรือการเดิน (Walking Time)
• เวลาเดินเครื่องอัตโนมัติ (Automatic Running Time) เป็นเวลาตั้งแต่กดสวิทซ์เดินเครื่องจนกระทั่งเครื่องจักรกลับมาที่ตำแหน่งเดิม (Original Position)

.

• เวลาที่ปฏิบัติการเสร็จสิ้น (Time to Complete) เป็นเวลาที่ชิ้นงานหนึ่งหน่วยได้ถูกดำเนินการแปรรูปจนเสร็จสิ้นหรืออาจเรียกว่า รอบเวลาเดินเครื่อง (Machine Cycle Time) โดยสามารถคำนวณได้จาก
 Time to Complete = Manual Time + Automatic Run Time

.
• เวลาสำหรับการเดิน (Walking Time) เป็นเวลาที่แรงงานใช้สำหรับการเดินระหว่างกระบวนการหนึ่งไปยังอีกกระบวนการหนึ่ง
.

5. เวลาสำหรับเปลี่ยนเครื่องมือ/มีดตัดต่อหน่วย (Time to change per piece)
6. ความสามารถกระบวนการ (Process Capacity) หาได้จากความสัมพันธ์

.
.

7. ปริมาณผลิตผลสูงสุด (Maximum Output) โดยแสดงข้อมูลที่คอลัมน์ความสามารถกระบวนการ
8. ความต้องการกำลังแรงงาน (Manpower Requirement) ประเมินจากปริมาณผลิตผลสูงสุด 

.
.
ใบเอกสารรวมมาตรฐานการทำงาน 

สำหรับรายละเอียดเอกสารดังกล่าว ประกอบด้วย 

รูปที่ 4 เอกสารรวมมาตรฐานการทำงาน (Standard Work Combination Sheet)

.
1. จำนวนกะและปริมาณการผลิตการทำงานแต่ละวัน (Quota/Shift)
.

2. เวลาแทกต์ (Takt Time) เป็นช่วงเวลาสูงสุดที่สามารถตอบสนองปริมาณความต้องการของลูกค้า (Meet Customer Demand) โดยสะท้อนถึงอัตราความต้องการของลูกค้า ดังนั้นค่าเวลาแทกต์จึงถูกใช้สำหรับจัดสมดุลสายการผลิตให้สอดคล้องกับกำหนดการผลิตที่ขึ้นกับตัวแปรรอบเวลาการผลิต (Production Cycle Time) เพื่อให้เกิดการไหลอย่างต่อเนื่อง

.

นั่นคือ ความสมดุลระหว่างอัตราความต้องการกับอัตราการตอบสนองหรืออัตราการผลิต (Production Rate) ดังนั้นเวลาแทกต์จึงมีบทบาทสร้างความสอดคล้องให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า โดยคำนวณได้จาก 

.
.

รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาแทกต์กับรอบเวลาผลิตและช่วงเวลานำ

.
โดยข้อมูลเวลาที่ใช้ปฏิบัติงาน (Operation Working Time) แสดงด้วย Red Line ในเอกสาร Standard Work Combination Sheet

3. รายละเอียดการปฏิบัติงาน (Description of Operation) แสดงขอบเขตการปฏิบัติงานของแรงงานแต่ละคน(Operator's Work)และผลรวมเวลาปฏิบัติงานของแรงงาน (Manual Work Times) หรือเวลาแทกต์ (ดู Red Line) รวมทั้งแสดงข้อมูลหมายเลขเครื่องจักรที่ถูกใช้ปฏิบัติงานและจำแนกประเภทเวลาปฏิบัติงานด้วยสัญลักษณ์ ดังนี้

.

.

4. ลำดับการทำงาน (Work Sequence) โดยแสดงหมายเลขลำดับการปฏิบัติงานของแรงงาน
5. เลขที่แสดงรายการชิ้นงาน (Part Number/Part Name)และชื่อกระบวนการ (Process Name) หรือเซลล์การผลิต
6. แสดงวันที่จัดเตรียมเอกสาร (Date Prepared) หรือรายละเอียดการทบทวนแก้ไขข้อมูล
7. แสดงข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายงาน (Department of Process) และหมายเลขผู้ปฏิบัติงาน (Operator Number)

.
ขั้นตอนการจัดทำเอกสารมาตรฐานการทำงาน

1. กำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน (Scope of Operations) โดยใช้ข้อมูลที่ระบุไว้ในเอกสารรวมมาตรฐานการทำงาน (Standard Work Combination Sheet) 

.

รูปที่ 6 แสดงเอกสารมาตรฐานการทำงาน (Standard Work Sheet)

.

2. วาดผังการจัดวางเครื่องจักร (Machine Layout)
3.  ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Order of Operations) โดยแสดงลำดับตามที่ระบุไว้ใน Standard Work Combination Sheet และเชื่อมโยงกระบวนการปฏิบัติงาน ดังรูปที่ 5

.

4. กำหนดมาตรฐานระดับงานค้างระหว่างผลิต (Standard Work-in-Process) เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสต็อกงานค้างสะสม (WIP) โดยเฉพาะกระบวนการแบบ Repetitive Work และแสดงด้วยสัญลักษณ์   สำหรับกระบวนการหรือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องภายในเซลล์การผลิต
5.  แสดงเครื่องหมายการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Checks) สำหรับกระบวนการหรือเครื่องจักรแต่ละเครื่องด้วยสัญลักษณ์   

.

6. ข้อควรระวัง (Safety Precautions) กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยกับแรงงานและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน โดยแสดงสัญลักษณ์ด้วย   ไว้ที่เครื่องจักรที่ต้องระมัดระวังพิเศษ (Special Caution)
7. ใส่ข้อมูลเวลาแทกต์และรอบเวลาผลิต (Cycle Time) โดยใช้ข้อมูลที่คำนวณจาก Standard Work Combination Sheet

.
สรุป

มาตรฐานการทำงานได้มีบทบาทสนับสนุนผลิตภาพการดำเนินงาน ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกันและลดความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสายการผลิตแบบลีน ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานการทำงานจึงต้องระบุรายละเอียดที่ชัดเจนและแสดงด้วยเอกสารเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจและดำเนินการได้อย่างถูกต้อง  นอกจากนี้ยังได้ถูกใช้สำหรับปรับปรุงผลิตภาพการทำงานตามแนวทางไคเซ็น (Kaizen) นั่นเอง  

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด