เนื้อหาวันที่ : 2009-10-30 17:41:55 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7770 views

เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ SMEs ด้วย Open Source ERP (ตอนจบ)

การดำเนินกระบวนการทางธุรกิจของวิสาหกิจส่วนใหญ่โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในปัจจุบันได้แยกเป็นแผนก ส่วนงานที่สำคัญคือ แผนกขาย ผลิตจัดซื้อ-จัดหา คลังสินค้า บัญชี-การเงิน ทรัพยากรบุคคล และแผนกซ่อมบำรุง ทำให้เกิดความล่าช้าและความผิดพลาดสูง โดยมีสาเหตุสำคัญขึ้นอยู่กับวิธีการทำงานเป็นหลัก คือการจัดเก็บข้อมูลด้อยประสิทธิภาพ การจัดสรรงานไม่เหมาะสม ไม่มีการประสานงานระหว่างแผนก

สนั่น เถาชารี, ผศ.ดร.วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ และ ดร. วสุ เชาว์พานนท์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

.

.
7. วิเคราะห์ต้นทุน และเปรียบเทียบผลเชิงเศรษฐศาสตร์
7.1 ต้นทุนแรงงานทางตรง

หลังจากได้มีการประยุกต์ใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจอย่างจริงจังกับบริษัทกรณีศึกษา ทำให้ผู้บริหารรับทราบข้อมูลเวลาที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตของแต่ละสถานีงานจากโปรแกรม Tiny ERP จึงประชุมเพื่อระดมสมองกับผู้จัดการ หัวหน้าแผนกผลิต หัวหน้าแผนกบรรจุ ทำให้ปรับลดจำนวนพนักงานในสายงานการผลิตลง ดังแสดงในตารางที่ 13

.
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบจำนวนพนักงานก่อนและหลังใช้งาน Tiny ERP

หมายเหตุ: คิดค่าแรงที่อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 154 บาท/วัน/คน จะได้ 154x30 = 4,620บาท/เดือน/คน
.

จากตารางที่ 13 จะเห็นว่าหลังประยุกต์ใช้งาน Tiny ERP จำนวนพนักงานที่เป็นแรงงานทางตรงลดลง 6 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 27,720 บาท/เดือน

.
7.2 ต้นทุนแรงงานทางอ้อม

เนื่องจากเวลาของกิจกรรมทางธุรกิจหลังใช้งาน Tiny ERP ลดลง ดังแสดงในตารางที่ 7 ซึ่งเป็นเวลาทำงานที่ลดลงของฝ่ายบริหารการผลิตที่เป็นต้นทุนแรงงานทางอ้อม ซึ่งสามารถแสดงอัตราค่าจ้างของตำแหน่งฝ่ายบริหาร ดังแสดงในตารางที่ 14 และสามารถคำนวณต้นทุนค่าแรงงานทางอ้อมของฝ่ายบริหารการผลิตที่ลดลงเนื่องจากเวลาของกิจกรรมทางธุรกิจลดลง ดังแสดงในตารางที่ 15

.
ตารางที่ 14 อัตราค่าจ้างของตำแหน่งฝ่ายบริหารการผลิตที่เป็นต้นทุนแรงงานทางอ้อม

.
ตารางที่ 15 ค่าแรงงานทางอ้อมของฝ่ายบริหารการผลิตที่ลดลงเนื่องจากเวลาของกิจกรรมลดลง

.

และเนื่องจากหลังใช้งานระบบ ERP เวลานำการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างลดลง 1.13 ชั่วโมง/วัน หรือ 67.80 นาที/วัน โดยสามารถคำนวณต้นทุนแรงงานทางอ้อมที่ลดลง ดังแสดงในตารางที่ 16

.
ตารางที่ 16 ค่าแรงงานทางอ้อมของฝ่ายบริหารการผลิตที่ลดลงเนื่องจากเวลานำการผลิตที่ลดลง

ดังนั้น จากตารางที่ 15 และตารางที่ 16 สามารถสรุปได้ว่าแรงงานทางอ้อมที่ลดลงหลังติดตั้ง ERP เท่ากับ 15,379.62 บาท/เดือน
.
7.3 ต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ

ต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ ที่สำคัญของบริษัทกรณีศึกษา ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักร ค่าวัสดุสำนักงาน ฯลฯ ซึ่งก่อนติดตั้งโรงงานกรณีศึกษามีต้นทุนในส่วนนี้ประมาณ 1,157.77 บาท/ชั่วโมง และเนื่องจากหลังติดตั้งระบบ ERP เวลานำการผลิตของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างลดลง 1.13 ชั่วโมง/วัน หรือ 67.80 นาที/วัน โดยสามารถคำนวณต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ ที่ลดลง ดังแสดงในตารางที่ 17

.
ตารางที่ 17 ต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่นๆที่ลดลงเนื่องจากเวลานำการผลิตที่ลดลง

จากตารางที่ 17 จะเห็นว่าต้นทุนโสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ ที่ลดลงหลังใช้งาน ERP เท่ากับ 39,248.40 บาท/เดือน
.
7.4 ต้นทุนค่าเสียโอกาส

เนื่องจากหลังใช้งาน ERP อัตราความรวดเร็วในการจัดซื้อวัตถุดิบลดลง 0.26 วัน/ครั้ง หรือ 10.16% ส่งผลบริษัทฯ มีวัตถุดิบ และทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ช่วยลดค่าเสียโอกาสลงได้ 10% ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถลดค่าเสียโอกาสลงได้ถึง 61,982 บาท/เดือน ดังแสดงในตารางที่ 18

.
ตารางที่ 18 ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ลดลงเนื่องจากอัตราความรวดเร็วในการจัดซื้อวัตถุดิบลดลง

.
7.5 เปรียบเทียบสัดส่วนความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขาย

สามารถแสดงต้นทุนแรงงานทางตรง ทางอ้อม โสหุ้ยการผลิตอื่น ๆ และค่าเสียโอกาสที่ลดลง คิดเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขาย ดังตารางที่ 19

.

ตารางที่ 19 สัดส่วนค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขายที่ลดลง

.

จากตารางที่ 19 จะเห็นว่าหลังใช้งาน Tiny ERP บริษัทกรณีศึกษาสามารถลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขายลงจากเดิมได้ถึง 6.05 % คิดเป็นเงินจำนวน 144,209.77 บาท/เดือน หรือ 1,730,517.28 บาท/ปี

.
7.6 เปรียบเทียบผลเชิงเศรษฐศาสตร์

7.6.1 วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period (PB))
เป็นการวิเคราะห์ระยะเวลาที่กระแสเงินสดรับสุทธิจากการลงทุนมีจำนวนเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิตอนเริ่มโครงการ การคำนวณระยะเวลาคืนทุน กรณีที่กระแสเงินสดรับสุทธิมีจำนวนเท่ากันทุกปี ใช้สมการ

.

จากตารางที่ 12 ซึ่งแสดงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศการวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจจะเห็นว่า จะต้องลงทุนเมื่อเริ่มโครงการเป็นเงินจำนวน 3,270,084 บาท จ่ายรายปีเป็นเงินจำนวน 520,150 บาท/ปี และจากตารางที่ 19 เมื่อติดตั้ง ประยุกต์ใช้ ERP ไปแล้ว จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินจำนวน 1,730,517 บาท/ปี ดังนั้น ระยะเวลาคืนทุนของโครงการคือ

.
.

7.6.2 วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return (IRR))
เป็นการวิเคราะห์อัตราที่ทำให้ค่าปัจจุบันรวมของกระแสเงินสดรับจากการลงทุนตลอดอายุโครงการเท่ากับมูลค่าเงินลงทุน ซึ่งในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนของโครงการใด ๆ ทำได้ใช้โดยสมการ

         ..
              0 = - PD + PR
โดยที่  PD คือ มูลค่าปัจจุบันของรายจ่ายทั้งหมดของโครงการ
          PR คือ มูลค่าปัจจุบันของรายรับทั้งหมดของโครงการ
ซึ่งสามารถแสดงกระแสเงินสดของการติดตั้ง ประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP ที่มีระยะเวลาของโครงการ 10 ปี ได้ดังภาพที่ 1
.

ภาพที่ 1 แผนภูมิกระแสเงินสดของการติดตั้งประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP

.
จากภาพที่ 1 สามารถแสดงการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนของโครงการที่มีระยะเวลา 10 ปีได้ดังนี้
                     
.

จากการวิเคราะห์ผลเชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่าการติดตั้ง ประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP ที่มีระยะเวลาของโครงการ 10 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) ประมาณ 3 ปี และมีผลตอบแทนของโครงการ (IRR) เท่ากับ 30%

.
8.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ Open Source Tiny ERP

เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัท เนื่องจากข้อมูลของแผนก 4 แผนกหลักภายในบริษัทกรณีศึกษาสามารถเชื่อมโยงเข้าในระบบเดียวกัน ทำให้แต่ละแผนกสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทรัพยากรบุคคล เครื่องจักร หรือแม้กระทั่งวัตถุดิบ ซึ่งจะทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจของบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดระยะเวลาในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรที่น้อยลง และข้อมูลดังกล่าวยังเป็นประโยชน์กับการวางแผนในระยะยาวของบริษัทได้อีกด้วย

.

ช่วยปรับปรุงระบบงานและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นเนื่องจากข้อมูลต่าง ๆ ได้มีอยู่แล้วอย่างถูกต้อง สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและรวดเร็วทำให้พนักงานทำงานได้อย่างประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพ

.

เพิ่มความสามารถในการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ขององค์กร เนื่องจากสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของงานต่าง ๆ ภายในบริษัทผ่านระบบเดียวกัน โดยเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เหมือนกันหมด ทำให้บริษัทประหยัดเวลาในการทำงานและสามารถตอบสนองต่อตลาดได้อย่างทันท่วงที ส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนของบริษัทในท้ายที่สุด

.

เป็นการรวมการใช้งานของโปรแกรมต่าง ๆ ที่องค์กรใช้อยู่ให้ใช้ได้อย่างสะดวกมากขึ้น โดยระบบ ERP จะรวมการใช้งานของโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาอยู่ในหน้าจอการทำงานเดียวกัน ทำให้เกิดความความสะดวกกับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก

.

ลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขายลง พบว่า สามารถสัดส่วนค่าใช้จ่ายเนื่องจากความล่าช้า และความผิดพลาดต่อยอดขายลงจากเดิมได้ถึง 6.05 % คิดเป็นเงินจำนวน 144,209.77 บาท/เดือน หรือ 1,730,517.28 บาท/ปี แต่ต้องลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายครั้งเดียว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการได้มาของระบบเป็นเงินจำนวน 3,270,084 บาท ลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายรายปี

.

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบสารสนเทศเป็นเงินจำนวน 520,150 บาท/ปี และจากการเปรียบเทียบผลเชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า การติดตั้ง ประยุกต์ใช้ Open Source Tiny ERP ที่มีระยะเวลาของโครงการ 10 ปี จะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) ประมาณ 3 ปี และมีผลตอบแทนของโครงการ (IRR) เท่ากับ 30%

.

เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากระบบงานต่าง ๆ สัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเวลาจริง (Real time) ทำให้ผู้บริหารบริษัทสามารถรับรู้ข้อมูลหรือสภาพของกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่อย่างรวดเร็ว และสามารถตัดสินใจด้านการบริหารอย่างทันท่วงที

.

เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เนื่องจากความล่าช้าและความผิดพลาดในกระบวนการทำงานของบริษัทกรณีศึกษาลดลง ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันของบริษัทกรณีศึกษาเพิ่มสูงขึ้น

.

ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากองค์กรวิสาหกิจที่มีรูปแบบทางธุรกิจแตกต่างกันไป สามารถที่จะ Customize ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับรูปแบบทางธุรกิจของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้และพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสม

.

เป็นกรณีตัวอย่างให้องค์กร วิสาหกิจในประเทศไทย ที่มีรูปแบบการดำเนินกระบวนการทางธุรกิจแตกต่างกันไป สามารถที่จะ Customize ซอฟต์แวร์ Open Source ให้เข้ากับรูปแบบทางธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งศักยภาพในการแข่งขันยุคกระแสโลกาภิวัตน์

.
9. บทสรุป

จากที่กล่าวมาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอสรุปเป็นประเด็นสำคัญว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจของ SMEs โดยใช้ระบบ ERP นั้นจุดสำคัญ (Concept) อยู่ที่การปรับปรุงกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญที่สัมพันธ์กับการใช้งานโปรแกรม ซึ่งถ้าสามารถบริหารจัดการในส่วนนี้ให้มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น 

.

(1) แผนกขาย ถ้าใช้เวลาในกิจกรรมการรับคำสั่งซื้อจนกระทั่งออกใบรายการเบิกสินค้าสั้นลงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบเดิม (รูปแบบก่อนใช้งาน ERP) จะทำให้กระบวนการทางธุรกิจของแผนกขายมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจแผนกขายมีค่าลดลง)

.

(2) แผนกผลิต ถ้าใช้เวลาในกิจกรรมการวางแผน จัดสรรทรัพยากรการผลิตที่สำคัญคือ คน เครื่องจักร และเวลาสั้นลงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบเดิม (รูปแบบก่อนใช้งาน ERP) จะทำให้กระบวนการทางธุรกิจของแผนกผลิตมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจแผนกผลิตมีค่าลดลง)

.

(3) แผนกจัดซื้อ ถ้าใช้เวลาในกิจกรรมการจัดทำข้อมูลวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ขั้นกลางคงเหลือในแต่ละวันสั้นลงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบเดิม (รูปแบบก่อนใช้งาน ERP) จะทำให้กระบวนการทางธุรกิจของแผนกจัดซื้อมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจแผนกจัดซื้อมีค่าลดลง)

.

(4) แผนกคลังสินค้า ถ้าใช้เวลาในกิจกรรมการจัดทำข้อมูลสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือในแต่ละวันสั้นลงเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบเดิม (รูปแบบก่อนใช้งาน ERP) จะทำให้กระบวนการทางธุรกิจของแผนกคลังสินค้ามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการกระบวนการทางธุรกิจแผนกคลังสินค้ามีค่าลดลง)

.

จะทำให้ประสิทธิภาพกระบวนการทางธุรกิจของ SMEs ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น (ถ้าเป็นคนก็เปรียบเสมือนคนที่โดนรีดไขมันส่วนเกินออกไป ทำให้มีรูปร่างที่ดูสมสัดส่วน พร้อมที่จะวิ่งแข่งขันกับคนอื่นได้อย่างเต็มภาคภูมิ) และ SMEs มีศักยภาพในการแข่งขันที่ดียิ่ง

.
10.  ประสบการณ์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ Open Source ERP

การสร้างใบรายการวัสดุ (Bill of Material (BOM)) เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำฐานข้อมูลเครื่องแม่ข่าย เนื่องจากข้อมูลในส่วนนี้จะเชื่อมโยงไปยังผู้จัดหาวัตถุดิบ และเป็นการกำหนดอัตราส่วนการใช้วัตถุดิบแต่ละชนิดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามชิ้น ชุดมาตรฐาน

.

การระบุประเภทของสถานีงาน (ทรัพยากรบุคคล เครื่องจักร และเครื่องมือ) ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งใดเป็นตัวสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิต (Work in Process) ยกตัวอย่างเช่น สถานีอบเป็นประเภทเครื่องจักร เพราะตัวสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขนมปังที่ถูก Prof คือเตาอบ สถานีผ่าหน้า-แต่งหน้าเป็นทรัพยากรบุคคล เพราะตัวสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขนมปังที่ถูกผึ่ง คือทรัพยากรบุคคล (พนักงาน) ในสายการผลิต

.

วิสาหกิจที่จะประยุกต์ใช้ระบบ ERP ให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีรูปแบบการผลิตแบบประกอบจากหลาย ๆ วัตถุดิบแล้วได้น้อยชนิดผลิตภัณฑ์ (Production or Assembly) ไม่เหมาะสำหรับวิสาหกิจแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพราะเป็นรูปแบบการผลิตแบบใช้วัตถุดิบน้อยชนิดแต่ได้หลายชนิดผลิตภัณฑ์ ดังแสดงในภาพที่ 2 และ 3 ตามลำดับ

.

ภาพที่ 2 แสดงรูปแบบ BOM ของวิสาหกิจที่เหมาะสมกับระบบ ERP และมีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบ ERP แล้วประสบความสำเร็จ

.

ภาพที่ 3 แสดงรูปแบบ BOM ของวิสาหกิจที่ไม่เหมาะสมกับระบบ ERP และมีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ระบบ ERP แล้วประสบความล้มเหลว

.
11. ข้อเสนอแนะ

(1) ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่จะประยุกต์ใช้ ERP ต้องกำหนดแนวทางในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ตลอดจนติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

.

(2) เนื่องจากซอฟต์แวร์ที่ประยุกต์ใช้กับบริษัทฯเป็น Open Source ERP ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีที่ปรึกษาที่มีความรู้ ความสามารถในการปรับแก้รหัสต้นฉบับ (Source Code)

.

(3) บุคลากรในองค์กรต้องไม่ยึดติดกับการทำงานที่ขาดการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
(4) ภายในองค์กรควรมีระบบการสอนงาน คู่มือการใช้งานโปรแกรม ERP ตลอดจนการดูแลรักษาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

.

เอกสารอ้างอิง 

1. บุญฤทธิ์ กู้เกียรติกูล & วสุ เชาว์พานนท์ (2549) คู่มือการใช้งานโปรแกรม Tiny ERP. ขอนแก่น: โครงการพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายโซ่อุปทาน และลอจิสติกส์อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร

.

2.พัชรินทร์ อินทนันท์ (2546). การพัฒนาระบบการวางแผนทรัพยากรกิจการเพื่อช่วยในการตัดสินใจด้านการวางแผนความต้องการวัสดุ บริษัท อินโนเวกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

.

3. Yusuf, Y., Gunasekaran, A., & Wu, C. (2006). Implementation of enterprise resource planning in China [Electronic version]. Technovation, 26(12), 1324–1336

.

4. Gupta, M., & Kohli, A. (2006) Enterprise Resource Planning Systems and Its Implications for Operations Function [Electronic version]. Technovation, 26(5-6), 687–696

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด