เนื้อหาวันที่ : 2009-10-14 17:51:19 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 9170 views

การวิเคราะห์ปัญหาสายการผลิตด้วยเทคนิคเชิงปริมาณ

โดยทั่วไปกิจกรรมในสายการผลิตจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ กิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม หรือเรียกว่าการปฏิบัติงาน (Operation) อย่างเช่น กระบวนการแปรรูปชิ้นงาน สำหรับส่วนที่เป็นความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่ม (Non-operation) เช่น กิจกรรมการขนถ่าย (Handling) การจัดเก็บ (Storage) การตรวจสอบ (Inspection) และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความล่าช้า (Delay)

โกศล ดีศีลธรรม
Koishi2001@yahoo.com

.

.

โดยทั่วไปกิจกรรมในสายการผลิตจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ กิจกรรมที่สร้างคุณค่าเพิ่ม หรือเรียกว่าการปฏิบัติงาน (Operation) อย่างเช่น กระบวนการแปรรูปชิ้นงาน สำหรับส่วนที่เป็นความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่ม (Non-operation) เช่น กิจกรรมการขนถ่าย (Handling) การจัดเก็บ (Storage) การตรวจสอบ (Inspection) และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความล่าช้า (Delay)  

.

ดังนั้นหากกำหนดให้ To แทนเวลาปฏิบัติงาน (Operation Time) ที่หน่วยผลิต และ Tno แทนด้วยเวลาที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่ม ส่วน n  แทนจำนวนลำดับกระบวนการทำงาน ถ้ากำหนดให้ปริมาณการผลิตในแต่ละรุ่น คือ Q หน่วย โดยมีเวลาการตั้งเครื่อง (Setup Time) แทนด้วย TSU ดังนั้นช่วงเวลานำในกิจกรรมการผลิต (MLT) คือ ผลรวมเวลาที่ใช้ในกระบวนการ ซึ่งแสดงด้วยความสัมพันธ์

.
                ……………… (1)
.

เมื่อ i แทนลำดับกระบวนการทำงาน โดยที่ i= 1, 2, …, n ซึ่ง MLT ยังไม่รวมเวลาที่ใช้สำหรับจัดเก็บชิ้นงานก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ดังนั้นจากสมการ 1 สามารถแสดงด้วยรูปผลรวมเวลาในกระบวนการ ดังนี้

                MLT = n(TSUi + QToi + Tnoi)  ………………. (2)

.

โดยสมการ 2 สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการผลิตแบบ Job Shop และการผลิตแบบปริมาณมาก (Mass Production) สำหรับการผลิตแบบ Job Shop สามารถกำหนดขนาดรุ่นการผลิตซึ่งแทนค่า Q=1 สามารถเขียนได้ดังนี้

                MLT = n(TSUi + Toi + Tnoi)  …………………. (3)

.

ส่วนค่า Q ในสายการผลิตแบบ Mass มีค่าสูงมาก ซึ่งกรณีดังกล่าวชิ้นงานได้ถูกแปรรูปที่เครื่องจักรชุดเดียวกัน ดังนั้นค่า MLT จัดเป็นเวลาที่สร้างคุณค่าเพิ่ม (Operation Time) โดยเวลาที่ยาวที่สุดในการทำงานสามารถประเมินได้ ดังนี้

                MLT = n(Transfer time + Longest To) ……………. (4)
.

จากสมการ 4 ค่าเวลาสำหรับการขนถ่าย (Transfer Time) กับ เวลาปฏิบัติงานที่ยาวที่สุดถือได้ว่าเป็นรอบเวลาในอุดมคติ (Ideal Cycle Time) สำหรับสายการผลิตแบบอัตโนมัติ โดยที่ n แทนจำนวนหน่วยผลิตในสายการผลิต แต่มีข้อโต้แย้งว่า MLT สำหรับชิ้นงานหน่วยแรกที่ป้อนเข้าสู่สายการผลิตควรจะรวมเวลาการตั้งเครื่องด้วย        

.

ซึ่งปัจจัยกำหนดเวลาการตั้งเครื่อง เวลาปฏิบัติงานหรือแม้แต่เวลาของกิจกรรมสนับสนุนจะขึ้นกับประเภทการผลิตอย่างเช่นการตั้งเครื่องในสายการผลิตแบบ Mass จะใช้เวลามากกว่าเวลาการตั้งเครื่องในสายการผลิตแบบ Job Shop

.

ตัวอย่าง โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรแห่งหนึ่งได้กำหนดขนาดรุ่นการผลิต 50 หน่วย มีลำดับขั้นตอนปฏิบัติงาน 8 กระบวนการ เวลาที่ใช้ตั้งเครื่องเฉลี่ย 3 ชั่วโมงและเวลาสำหรับการขึ้นรูปเฉลี่ย 6 นาที ส่วนเวลาเฉลี่ยในกิจกรรมสนับสนุนอย่างการขนย้าย การรอคอย การตรวจสอบ และเวลาสูญเปล่าอื่น ๆ ประมาณ 7 ชั่วโมง โดยกำหนดว่าเวลาทำงานของโรงงาน 7 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นเวลาที่ใช้สำหรับการผลิตสินค้ารุ่นนี้ กำหนดได้ดังนี้

.

วิธ๊การ คำนวณหา MLT จากสมการที่ 2 
                          MLT = 8(3 + 50 X 0.1 + 7) = 120 ชั่วโมง
                          ช่วงเวลานำสำหรับกิจกรรมการผลิต = 120/7 = 17.14 วัน 

.
อัตราการผลิต

สำหรับกระบวนการผลิตหรือสายการประกอบที่มักแสดงด้วยอัตราชั่วโมง (Hourly Rate) เช่น จำนวนหน่วยชิ้นงานต่อชั่วโมง ซึ่งถูกแทนด้วย Rp จากสมการที่ 2 ในส่วนเวลาการตั้งเครื่องและเวลาการเดินเครื่องจักรถูกแสดงด้วยผลรวมเวลาการผลิตแบบรุ่น (Total Batch Time) ดังนี้

                     
.

โดยค่า Q แสดงด้วยปริมาณผลิตผล ซึ่งมีอัตราเศษซาก (Scrap Rate) แทนด้วย q ปริมาณที่แท้จริง เมื่อเริ่มกระบวนการมีค่า Q/(1- q) ดังนั้น

                   
.
สำหรับค่าเวลาเฉลี่ยการผลิตต่อหน่วย แสดงด้วย
                      ………………. (5)
.
โดยอัตราการผลิตเฉลี่ยสำหรับเครื่องจักรเป็นส่วนผกผันกับเวลาการผลิต ดังนี้
               Rp = 1/Tp   …………………….….…………. (6)
.
สำหรับการผลิตแบบ Job Shop หาก Q = 1 เวลาการผลิตต่อหน่วย แทนด้วย

               Tp = TSU + To   ………………………………. (7)

.

ส่วนการผลิตแบบ Mass อัตราการผลิตจะเท่ากับอัตรารอบเวลาเดินเครื่องจักรซึ่งเป็นสัดส่วนกลับกับเวลาการแปรรูป ซึ่งเวลาการผลิตมีค่าเท่ากับรอบเวลา (Cycle Time) ของสายการผลิตและเป็นผลรวมของเวลาการขนถ่ายกับกระบวนการที่ใช้เวลานานที่สุดโดยไม่คำนึงถึงเวลาการตั้งเครื่อง      

.

แต่หากเครื่องจักรเกิดขัดข้องก็จะส่งผลกระทบต่อสายการผลิตโดยรวม สำหรับเวลาที่ใช้เดินเครื่องจักรแทนด้วย Tp โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ เวลาเดินเครื่องจักรจริงแทนด้วย Tm  เวลาที่ใช้ขนถ่ายชิ้นงาน (Th) และเวลาที่ใช้เปลี่ยนเครื่องมือ แทนด้วย Tth โดยแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้

.
               To = Tm + Th + Tth   …………………………. (8)
เมื่อกำหนด Tm, Th และ Tt เป็นส่วนหนึ่งของรอบเวลาการแปรรูปในกระบวนการผลิต
.
กำลังการผลิต 

กำลังการผลิตคือ ความสามารถที่แสดงด้วยอัตราสูงสุด (Maximum Rate) ของผลิตผล ซึ่งโรงงานสามารถผลิตได้ภายใต้เงื่อนไขการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับอัตราการผลิต ซึ่งเงื่อนไขการทำงานอาจหมายถึงจำนวนกะทำงานแต่ละวันหรือจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม เช่น การผลิตแบบต่อเนื่อง โรงงานอาจเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมงและดำเนินการผลิตตลอดทั้ง 7 วัน ส่วนโรงงานประกอบรถยนต์อาจมีการทำงานหนึ่งกะต่อวัน แต่อาจทำงานล่วงเวลา

.

ดังนั้นกำลังการผลิตจึงมักถูกแสดงด้วยผลิตผลจากโรงงาน เช่น ปริมาณเหล็ก (ตัน) ที่ผลิตได้จากโรงงานผลิตเหล็กกล้า ปริมาณน้ำมัน (บาร์เรล) จากโรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น สำหรับการผลิตแบบ Job Shop มักใช้ชั่วโมงแรงงาน (Man-hour) หรือ ความพร้อมเดินเครื่องจักร สำหรับการวัดกำลังการผลิตเชิงปริมาณสามารถพัฒนาจากต้นแบบการผลิต

.

โดยกำหนดให้ PC แทนกำลังการผลิต (Production Capacity) ซึ่งพิจารณาจากหน่วยผลิตที่ประเมินจากปริมาณผลิตผลซึ่งเกิดขึ้นแต่ละสัปดาห์ กำหนดให้ W แทนด้วยจำนวนหน่วยผลิต โดยนิยามความหมายของหน่วยผลิตว่าเป็นระบบการผลิต (Production System) ประกอบด้วยเครื่องจักรกับแรงงานและแสดงกำลังการผลิตด้วยอัตรา Rp หน่วย/ชั่วโมง     

.

โดยแต่ละหน่วยผลิตจะใช้เวลา H ชั่วโมงต่อกะ ซึ่งค่า H เป็นค่าเฉลี่ยที่ไม่รวมเวลาเครื่องจักรขัดข้องและความล่าช้าของแรงงาน สำหรับเวลาการตั้งเครื่องได้ถูกรวมไว้ใน Rp ดังสมการที่ 6 และ กำหนดให้ Sw แทนจำนวนกะทำงานภายในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งสามารถนำค่าปัจจัยดังกล่าวไปใช้คำนวณกำลังการผลิตของหน่วยผลิต ดังนี้

.
                  PC = W SwH Rp   ………………………….. (9)
.

ดังกรณีแผนกกลึงของโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งประกอบด้วยเครื่องกลึงที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นงานประเภทเดียวกันจำนวน 6 เครื่อง โดยมีการทำงานแต่ละสัปดาห์ 10 กะ แต่เนื่องจากเกิดความล่าช้าของแรงงานและเครื่องจักรขัดข้องจึงมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยแต่ละกะ 6.4 ชั่วโมงและอัตราการผลิตเฉลี่ย 17 หน่วย/ชั่วโมง

.

ดังนั้นกำลังการผลิตของแผนกกลึงแทนด้วย PC = 6(10)(6.4)(17) = 6528 หน่วย/สัปดาห์ แต่เนื่องจากกระบวนการแปรรูปจะต้องผ่านเครื่องจักร n เครื่อง ดังนั้นสมการกำลังการผลิตของโรงงาน (Plant Capacity) แสดงดังนี้

.
                       ……………………….. (10)
.

หากใช้สมการกำหนดปริมาณทรัพยากรที่ถูกจัดสรร โดยให้ Dw แทนอัตราอุปสงค์แต่ละสัปดาห์ และแทนค่าในสมการที่ 10 สามารถจัดรูปสมการใหม่ได้ว่า

.
                            ………………………. (11)
.
สำหรับอัตราการผลิตในสมการ 11 ได้แสดงแนวทางเลือกเพื่อปรับกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในอุปสงค์ ประกอบด้วย

.

1. ปรับเปลี่ยนจำนวนหน่วยผลิตด้วยการปรับเปลี่ยนประเภทอุปกรณ์ที่ไม่เคยใช้งานและดำเนินการจัดจ้างแรงงานใหม่
2. ปรับจำนวนกะทำงานแต่ละสัปดาห์ (SW)
3. ปรับชั่วโมงการทำงานแต่ละกะ (H) เช่น อาจปรับเพิ่มเวลาทำงานนอกเวลาปกติ 

.

ส่วนกรณีที่อัตราการผลิตมีความแตกต่างกัน สมการกำลังการผลิตจะทำการปรับแก้ด้วยการรวมอัตราอุปสงค์ในแต่ละผลิตภัณฑ์และแสดงความสัมพันธ์ด้วยสมการ 11 ดังตัวอย่างการผลิตสินค้า 3 ประเภทที่ผ่านกระบวนการผลิตซึ่งแสดงข้อมูลในตาราง ดังนี้

.

.

โดยแต่ละสัปดาห์ทางโรงงานกำหนดเวลาทำงาน 10 กะ ซึ่งแต่ละหน่วยผลิตมีเวลาทำงานแต่ละกะเฉลี่ย 6.5 ชั่วโมง ดังนั้นผู้จัดการโรงงานอยากทราบจำนวนหน่วยผลิตที่เหมาะสม กำหนดค่า n = 1

.
วิธีการ  แทนค่าในสมการ Dw/Rp เพื่อหาชั่วโมงการผลิตรวม ดังนี้ 
           ผลิตภัณฑ์ที่ 1 = 600/10   = 60 ชั่วโมง
           ผลิตภัณฑ์ที่ 2 = 1,000/20 = 50 ชั่วโมง
           ผลิตภัณฑ์ที่ 3 = 2,200/40 = 55 ชั่วโมง
           ผลรวมเวลาการผลิต         =165 ชั่วโมง
.

เนื่องจากแต่ละหน่วยผลิตมีช่วงเวลาทำงาน 10 กะ/สัปดาห์ หรือ 10x6.5 = 65 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนั้นจำนวนหน่วยผลิต; W = 165/65 =2.54 หรือประมาณ 3 หน่วย 

.

สำหรับสมการกำลังการผลิตที่กล่าวมาได้สมมติให้การไหลของงานในสายการผลิตไม่มีการติดขัดหรือเกิดปัญหาคอขวด (Bottleneck) แต่ในทางปฏิบัติแล้วการผลิตแบบรุ่น (Batch Production) แต่ละผลิตภัณฑ์จะมีลำดับขั้นตอนแตกต่างกันจึงทำให้การจัดสรรภาระงานและทรัพยากรการผลิตเกิดความไม่สมดุลซึ่งส่งผลให้เกิดการรอคอยงาน   

.
งานรอระหว่างผลิต

งานรอระหว่างผลิต (Work in Process) คือปริมาณงานที่ถูกจัดเก็บภายในโรงงานซึ่งเป็นงานที่กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการแปรรูปและแสดงถึงระดับเงินลงทุนที่ยังไม่สามารถสร้างผลตอบแทน โดย WIP แสดงด้วยรูปความสัมพันธ์ ดังนี้

.
                          ……………………. (12)
.

สมการ 12 แสดงถึงระดับ WIP คืออัตราชิ้นงานที่ไหลภายในโรงงานคูณด้วยระยะเวลาที่ชิ้นงานอยู่ในกระบวนการ ซึ่งหน่วยที่ใช้สำหรับ PC X U/SwH อาจแสดงด้วยจำนวนชิ้นงาน/สัปดาห์ ซึ่งสอดคล้องกับหน่วยของช่วงเวลานำการผลิต (MLT) เช่น สัปดาห์ ดังนั้น WIP จึงเป็นตัวชี้วัดถึงระดับสต็อกที่สะสมในกระบวนการ อัตราส่วน WIP สามารถกำหนดได้จากระดับ WIP ในสมการ 12 หารด้วยจำนวนเครื่องจักรซึ่งดำเนินการแปรรูป   

.
       จำนวนเครื่องจักร =

            เมื่อ  W = จำนวนหน่วยผลิตภายในโรงงาน
                    U = อัตราการใช้ทรัพยากรของโรงงาน (Plant Utilization)
                    Q = ปริมาณผลิตผลเฉลี่ยแต่ละรุ่น

.
                  อัตราส่วนงานรอระหว่างผลิต   ………….. (13)
.

ในทางอุดมคติค่าอัตราส่วน WIP ซึ่งแสดงถึงปริมาณงานภายในโรงงานที่กำลังถูกแปรรูปมีสัดส่วน 1:1 แต่ในการผลิตแบบรุ่นแล้วอัตราส่วน WIP อาจมีค่าสูงถึง 20:1 ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณเฉลี่ยแต่ละรุ่นการผลิตและเวลาที่ไม่สร้างผลิตผล รวมทั้งปัจจัยความสูญเปล่าภายในโรงงาน

.

ส่วนอัตราส่วนเวลาในกระบวนการ (Time in Process) หรือ TIP ที่ถูกใช้วัดเวลาที่ผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลภายในโรงงานเทียบกับเวลาจริงที่ใช้ในกระบวนการซึ่งคำนวณได้จากผลรวมช่วงเวลานำการผลิตหารด้วยผลรวมรอบเวลาแต่ละหน่วยผลิต 

.
                  อัตราส่วน    ………………….. (14)
.

เช่นเดียวกันกับอัตราส่วน TIP ในทางอุดมคติที่ควรมีค่า 1:1 แต่ในทางปฏิบัติอาจมีความยุ่งยากที่จะทำให้มีอัตราส่วนดังกล่าว ซึ่งค่าอัตราส่วนขึ้นกับปัจจัยการผลิตอย่างเช่นความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการประกอบชิ้นส่วนจำนวนมาก

.
ต้นทุนช่วงเวลานำการผลิตและงานรอระหว่างผลิต   

เวลาที่ใช้ในกิจกรรมการผลิตได้ถูกจำแนกเป็นเวลาที่สร้างคุณค่าเพิ่มและเวลาที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนกระบวนการดังที่กล่าวข้างต้น หากพิจารณาเวลาเริ่มต้น คือ t = 0 ต้นทุนที่เกิดขึ้นคือ ต้นทุนค่าวัสดุ Cm ส่วนต้นทุนแต่ละกระบวนการที่เกิดจากเวลาในกิจกรรมการผลิตคูณด้วยอัตราค่าใช้จ่ายของเครื่องจักรและแรงงาน       

.

ซึ่งเวลาการผลิตแทนด้วย Tp ดังสมการ 5 ประกอบด้วยเวลาการตั้งเครื่องและเวลาที่ใช้ในกิจกรรมแปรรูปแทนด้วย Co ส่วนต้นทุนกิจกรรมที่ไม่สร้างผลิตผลแทนด้วย Cno ดังนั้นต้นทุนที่เกิดในแต่ละกระบวนการผลิตแสดงดังนี้
               CoTp + Cno

.

ต้นทุนรวมได้ถูกแทนด้วย Cpc เพื่อใช้สำหรับผลิตชิ้นงานจวบจนเสร็จสิ้นกระบวนการซึ่งเกิดจากผลรวมค่าวัสดุและต้นทุนสะสมในกระบวนการ เช่น ค่าขนถ่าย ค่าใช้จ่ายตรวจสอบ เป็นต้น ซึ่งคำนวณได้จากความสัมพันธ์ ดังนี้

                   
.
เมื่อ j แทนลำดับขั้นตอนการทำงาน สมมติให้ Tp และ Cno เท่ากับจำนวนขั้นตอนปฏิบัติงาน n  
               Cpc  = Cm + n (CoTp+ Cno) ………………………… (15) 
.

นอกจากนี้ต้นทุนยังอาจเกิดจากงานรอระหว่างผลิตและต้นทุนสำหรับจัดเก็บสต็อกซึ่งต้นทุนเหล่านี้จะขึ้นกับเวลาที่ชิ้นงานไหลและส่งผลต่อต้นทุนสำหรับการลงทุนเนื่องจากโรงงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (Operating Cost) ก่อนที่จะรับผลตอบแทนจากลูกค้า ซึ่งแสดงด้วยฟังก์ชันเวลาคูณกับอัตราผลตอบแทน (Rate of Return)หรืออัตราดอกเบี้ย (i) การจัดเก็บงานรอระหว่างผลิตได้ส่งผลให้เกิดต้นทุนการใช้พื้นที่สำหรับจัดเก็บงานที่กองรอภายในโรงงานเพื่อรอป้อนเข้าสู่กระบวนการถัดไป                                       

.

ดังนั้นต้นทุนการจัดเก็บชิ้นงานจึงเท่ากับต้นทุนสะสมของงานคูณด้วยอัตราการจัดเก็บ(Storage Rate) ซึ่งแสดงด้วย s ในสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสินค้าคงคลัง เมื่อทำการรวมอัตราดอกเบี้ยและอัตราค่าจัดเก็บด้วยแฟกเตอร์ h = i+s โดยเทอมของ h แสดงถึงอัตราต้นทุนการจัดเก็บ (Holding Cost Rate) 

.
ดังนั้นต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยจึงแสดงด้วยความสัมพันธ์ ดังนี้
               TPpc = Cm + C1+ (Cm+ C1/2)h(MLT) …………………………. (16)
.
ส่วนต้นทุนการจัดเก็บต่อหน่วยแสดงด้วย
               Holding Cost/Piece = (Cm+ C1/2)h(MLT) …………..………. (17)
.

ตัวอย่าง กระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรในโรงงาน SME แห่งหนึ่งได้มีต้นทุนค่าวัสดุ 1,000 บาท โดยชิ้นส่วนดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการ 20 ขั้นตอน ซึ่งมีช่วงเวลานำการผลิต 15 สัปดาห์ เวลาการผลิตแต่ละขั้นตอน 0.8 ชั่วโมง อัตราค่าใช้จ่ายเดินเครื่องจักรและค่าแรงงาน  250 บาท/ชั่วโมง ต้นทุนเฉลี่ยสำหรับการตรวจสอบ การขนถ่ายและต้นทุนที่เกี่ยวข้อง 100 บาท/กระบวนการ ส่วนอัตราดอกเบี้ยและอัตราต้นทุนการจัดเก็บ 7.5% และ12% ตามลำดับ   จากข้อมูลดังกล่าวให้หาต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์ต่อหน่วยและต้นทุนการจัดเก็บ

.
วิธีการ หาต้นทุนการผลิต/หน่วย จากสมการ 15 ดังนี้
                                 Cpc   = Cm  + n (CoTp+ Cno)
                                         = 1,000 + 20(250x0.8+100) = 7,000 บาท/หน่วย
.
หาต้นทุนการจัดเก็บ จาก C1 = 20(250x0.8+100) = 6,000 บาท/หน่วย
หาอัตราการจัดเก็บ (h) = 7.5 %+12% = 19.5%   
.

ดังนั้นอัตราการจัดเก็บ h = (19.5%)/52 = 0.375 %/สัปดาห์ แทนค่าด้วยสมการ 17
         ต้นทุนการจัดเก็บ = (1,000+6,000/2)(0.00375)(15) = 225 บาท/หน่วย
         ต้นทุนรวม  = 7,000+225 = 7,225 บาท/หน่วย

.

จากข้อมูลที่ได้ค่าใช้จ่าย 225 บาท จัดเป็นต้นทุนสำหรับการจัดเก็บสต็อก ซึ่งไม่เกี่ยวกับต้นทุนทางตรงของโรงงานแต่จัดเป็นค่าโสหุ้ยที่ควรพิจารณา หากแต่ละปีทางโรงงานมีการผลิตเกิดขึ้น 10,000 หน่วย นั่นหมายถึงต้นทุนสำหรับจัดเก็บคลังสินค้า = 10,000 x 225 = 2,250,000 บาทต่อปี

.

ดังนั้นทางโรงงานควรมีการปรับลดช่วงเวลานำการผลิตลง (MLT) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการสต็อก โดยทั่วไปองค์ประกอบหลักทางเวลาที่ใช้ในกระบวนการประกอบด้วยเวลานำลอจิสติกส์ (Logistics Lead Time) หรือ P-Time ซึ่งเป็นเวลาตั้งแต่การจัดหาจัดซื้อ (Procurement) จนกระทั่งสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

.

ส่วนเวลาตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจนกระทั่งการส่งมอบ เรียกว่า เวลาอุปสงค์ (Demand Time) แทนด้วย D-Time โดย P-Time ควรประเมินตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Product Group) เนื่องจากปัจจัยกระบวนการแต่ละผลิตภัณฑ์มีความแตกต่างกัน ส่วนเวลาอุปสงค์ก็ควรประเมินตามส่วนตลาด (Market Segment) เนื่องจากความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มไม่เหมือนกัน

.

ดังนั้นการวัดประสิทธิผลในกระบวนการไหลจึงใช้องค์ประกอบเวลาทั้งสองมาประเมินและแทนด้วยสัดส่วน P:D ซึ่งการประเมินวัดผลในกระบวนการธุรกิจทั่วไปมักมีสัดส่วนมากกว่า 1 นั่นคือ ช่วงเวลาการผลิตจะยาวกว่าระยะเวลาอุปสงค์จึงทำให้เกิดผลต่างช่วงเวลานำ (Leadtime Gap) ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตตามคำสั่งซื้อ (Make to Order)

.

.

ดังนั้นเพื่อลดผลต่างช่วงเวลานำจึงต้องปรับปรุงผลิตภาพกระบวนการด้วยการลดช่วงเวลาการผลิตให้สั้นเพื่อให้สัดส่วนเวลานำลอจิสติกส์ใกล้เคียงกับช่วงเวลาส่งมอบด้วยเหตุนี้ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ประสบปัญหาการส่งมอบล่าช้าจึงมีสาเหตุจากช่วงเวลาอุปสงค์สั้นกว่าเวลาการผลิต

.

ดังนั้นการแก้ปัญหาระยะสั้นจึงมุ่งการพยากรณ์อุปสงค์และดำเนินการผลิตเพื่อจัดเก็บไว้ในสต็อก (Make to Stock) ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้ทั่วไป แต่แนวทางดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความสูญเปล่า เช่น งานรอระหว่างผลิต สูญเสียพื้นที่จัดเก็บสินค้า การเสื่อมสภาพของสต็อก เป็นต้น

.

หากคู่แข่งขันสามารถสามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามช่วงเวลาที่กำหนด (D-time) หรือสามารถส่งมอบสินค้าทดแทนก็จะทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจไปสั่งซื้อสินค้าจากคู่แข่งขัน แต่หากลูกค้าไม่มีทางเลือกอื่นก็อาจสั่งซื้อจากผู้ส่งมอบรายเดิมในระยะเวลาหนึ่งและมองหาผู้ส่งมอบที่มีศักยภาพหรือพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้ส่งมอบรายเดิม

.

ดังนั้นการแก้ปัญหาระยะยาวจึงควรปรับปรุงกระบวนการด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน โดยเฉพาะการลดความซับซ้อนหรือขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นการขจัดความสูญเปล่าและทำให้องค์กรสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งซื้อ แต่ด้วยสภาวะการแข่งขันธุรกิจยุคใหม่นี้ทำให้ช่วงเวลานำการผลิตได้มีบทบาทต่อความสำเร็จทางธุรกิจ

.

ดังนั้นผู้ประกอบการยุคใหม่จึงได้นำระบบอัตโนมัติเพื่อผลิตชิ้นงานที่มีความแตกต่างกันด้วยช่วงเวลานำการผลิตสั้นลงซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการใช้ระบบอัตโนมัติที่มุ่งอัตราการผลิตและผลิตภาพสูงขึ้น ทำให้เกิดการลดความสูญเปล่าที่ส่งผลกระทบต่อปัจจัยเวลาการตอบสนองให้กับลูกค้า

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด