เนื้อหาวันที่ : 2009-08-03 18:02:04 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 5022 views

กระแสเงินสดกับงบประมาณการจ่ายลงทุน (ตอนจบ)

โครงการงบประมาณการจ่ายลงทุนใด ๆ มักจะเริ่มต้นที่กระแสเงินสดจ่ายออกซึ่งจ่ายเป็นเงินลงทุนครั้งแรก จ่ายเป็นค่าใช้จ่าย หรือจ่ายตามเงื่อนไขที่เป็นพันธะผูกพัน หลังจากนั้นจึงเป็นรายการประเภทรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินสดในจำนวนที่ลดลงกว่าเดิม การเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินสดที่ได้รับเข้ามา ตลอดรอบระยะเวลาที่มีความสืบเนื่องกันในการดำเนินโครงการ เงินลงทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอาจจำเป็นต้องนับรวมเพิ่มอยู่ในโครงการจ่ายลงทุนในระหว่างช่วงอายุที่กำลังดำเนินโครงการจ่ายลงทุนเหล่านั้นด้วย

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา,
wiwatapi@gmail.com

.
ผลกระทบของการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการที่มีต่อกระแสเงินสด
การจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางภาษีต่อกระแสเงินสดของกิจการดังแสดงในตารางที่ 8 ต่อไปนี้
.
ตารางที่ 8 ผลกระทบของการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการที่มีต่อกระแสเงินสด
ผลกระทบทางตรง
• กระแสเงินสดรับ :จำนวนเงินที่ได้จากการจำหน่าย
• กระแสเงินสดจ่าย :รายจ่ายสำหรับการเคลื่อนย้ายและการซ่อมแซม
ผลกระทบทางภาษี
• กระแสเงินสดรับ :ผลกระทบทางภาษีเนื่องจากผลขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์
• กระแสเงินสดจ่าย :ผลกระทบทางภาษีเนื่องจากผลกำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์
.

การจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการ กิจการจะได้รับผลกำไรถ้าจำนวนเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์มากกว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิของสินทรัพย์นั้น (ผลต่างระหว่างราคาทุนเริ่มแรกและจำนวนค่าเสื่อมราคาโดยรวมหรือค่าเสื่อมราคาสะสมตลอดอายุโครงการ) ผลกำไรที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความสามารถในจ่ายค่าภาษีเงินได้ในจำนวนที่เพิ่มขึ้น และจำนวนเงินค่าภาษีที่เกิดขึ้นจะส่งผลทำให้กระแสเงินสดรับสุทธิจากการจำหน่ายสินทรัพย์ลดลง

.

กิจการจะได้รับผลขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ถ้าจำนวนเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์น้อยกว่ามูลค่าตามบัญชีสุทธิ ผลขาดทุนจะช่วยลดภาระค่าภาษีเงินได้ที่กิจการต้องจ่าย ผลกระทบทางภาษีที่มีต่อกระแสเงินสดรับเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์แล้วเกิดผลขาดทุนคือ ผลรวมของจำนวนเงินสดรับสุทธิจากการจำหน่ายสินทรัพย์และค่าภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้เนื่องจากผลขาดทุน สรุปผลกระทบสุทธิของการจำหน่ายสินทรัพย์ที่มีต่อกระแสเงินสดได้ดังตารางที่ 9 รวมถึงความหมายที่เกี่ยวข้องในตารางที่ 10 ดังนี้

.
ตารางที่ 9 ผลกระทบสุทธิจากการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการ
ผลกระทบสุทธิที่มีต่อกระแสเงินสด: (เงินสดรับ) .
กรณีกำไร  เงินสดรับจากการขาย – (กำไรจากการขาย × อัตราภาษี)
กรณีขาดทุน  เงินสดรับจากการขาย + (ขาดทุนจากการขาย × อัตราภาษี)
.
ตารางที่ 10 ความหมายที่เกี่ยวข้อง
มูลค่าตามบัญชีสุทธิ  ต้นทุนเมื่อเริ่มแรก - ค่าเสื่อมราคาสะสม
เงินสดรับสุทธิจากการขาย  จำนวนเงินค่าขาย - รายจ่ายในการเคลื่อนย้าย การซ่อมซ่อมก่อนการขาย ค่านายหน้า และอื่นๆ
กำไรจากการขาย  เงินสดรับสุทธิจากการขาย > มูลค่าตามบัญชีสุทธิ
ขาดทุนจากการขาย  เงินสดรับสุทธิจากการขาย < มูลค่าตามบัญชีสุทธิ
.

ตัวอย่างที่ 5

จากตัวอย่างที่ 3 กิจการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเก่าซึ่งซื้อมาเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ราคาเครื่องจักรเก่า 640,000 บาท ค่าเสื่อมราคาสะสม ณ วันที่เปลี่ยนทดแทน 400,000 บาท ค่านายหน้าในการขาย10% ของราคาที่ขายได้ เครื่องจักรเก่าขายได้ในราคา 160,000 บาท และคาดว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรเก่าอีก 4,000 บาท

.

จากข้อมูลข้างต้นกิจการ จำนวนเงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักรเก่า 160,000 บาทจะต้องถูกหักค่านายหน้า 16,000 บาท (160,000 บาท × 10%) และค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรอีก 4,000 บาท จึงทำให้ได้รับเงินสดจากการขายเมื่อวันที่ขายก่อนพิจารณาถึงผลกระทบทางภาษีเท่ากับ 140,000 บาท

.

อย่างไรก็ตามการจำหน่ายเครื่องจักรเก่าทำให้เกิดผลขาดทุน เนื่องจากราคาทุนในการซื้อเครื่องจักรเก่าในครั้งแรกเท่ากับ 640,000 บาทหักค่าเสื่อมราคาสะสม 400,000 บาท มูลค่าตามบัญชีสุทธิ ณ วันที่จำหน่ายเท่ากับ 240,000 บาท แต่กิจการจำหน่ายเครื่องจักรเก่าออกไปได้เพียง 140,000 บาท เกิดผลขาดทุนเท่ากับ 100,000 บาท ผลขาดทุนทำให้ประหยัดค่าภาษีเงินได้เท่ากับ 20,000 บาท (100,000 บาท × 20%) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดได้ดังตารางที่ 11 ดังนี้

.
ตารางที่ 11 กระแสเงินสดจากการจำหน่ายสินทรัพย์เก่าเมื่อสิ้นสุดโครงการ
ผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสด : 
ราคาขายเครื่องจักรเก่า   . 160,000 บาท
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายสินทรัพย์เก่า :  . . ..
ค่านายหน้า    16,000 . บาท
ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย  4,000 . บาท
รวมค่าใช้จ่าย   . 20,000 บาท
เงินสดรับสุทธิจากการขายเครื่องจักรเก่า   . 140,000  บาท
ผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสด ณ วันสิ้นปี (ค่าภาษีที่ประหยัดได้) :
ราคาทุนเครื่องจักรเก่า   . 640,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาสะสมเครื่องจักรเก่า   . 400,000 บาท
มูลค่าตามบัญชีสุทธิ   . 240,000 บาท
เงินสดรับสุทธิจากการขายเครื่องจักรเก่า   . 140,000 บาท
ผลขาดทุนจากการจำหน่ายเครื่องจักรเก่า   . 100,000 บาท
อัตราภาษีเงินได้   . 20% .
ค่าภาษีที่ประหยัดได้เนื่องจากผลขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์เก่า   . 20,000 บาท
ผลกระทบที่มีต่อเงินสดจากการจำหน่ายสินทรัพย์ :
ผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดในทันทีเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์   . 140,000 บาท
ผลกรทบที่มีต่อกระแสเงินสด ณ วันสิ้นปี   . 20,000 บาท
รวมกระแสเงินสดรับจากการจำหน่ายสินทรัพย์   . 160,000 บาท
.
การดำเนินงานของโครงการที่มีต่อกระแสเงินสด

การดำเนินงานตามแผนการลงทุนคาดการณ์ว่าจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง หรือเป็นไปได้ทั้งสองกรณี ซึ่งจะส่งผลกระทบทางตรงหรือผลกระทบทางอ้อมต่อกระแสเงินสด สรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรายได้และค่าใช้จ่ายล้วนมีผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางภาษีต่อกระแสเงินสด รูปแบบกระแสเงินสดที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้อาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งหรือสองครั้งระหว่างการดำเนินงานของโครงการลงทุน แต่กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการมักจะเกิดขึ้นทุกๆ ปีหรืออาจจะเกิดขึ้นเป็นประจำตลอดอายุโครงการลงทุนเหล่านั้น

.
ตัวอย่างที่ 6

จากตัวอย่างที่ 3 การลงทุนในโครงการดังกล่าวจะทำให้กิจการมีรายได้ที่เป็นเงินสดรายปีที่ 1- 4 เพิ่มขึ้น 2,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายเป็นเงินสดรายปีที่ 1- 4 เท่ากับ 1,500,000 บาท อย่างไรก็ดีผู้บริหารคาดการณ์ว่าเมื่อเริ่มการดำเนินงานในปีที่ 1 กิจการจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมเฉพาะในปีที่ 1 ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฝึกอบรมพนักงานใหม่ การปรับปรุงการดำเนินงานใหม่อีก 100,000 บาท

.

จากข้อมูลข้างต้น รายได้รายปีที่เป็นเงินสดเพิ่มขึ้น 2,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดเพิ่มขึ้น 1,500,000 บาท ก่อให้เกิดกำไรที่เป็นเงินสดเพิ่มขึ้น 500,000 บาท กิจการมีกำไรเพิ่มขึ้นทำให้เกิดผลกระทบทางภาษี คือทำให้จ่ายค่าภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 100,000 บาท ผลกระทบสุทธิจากรายได้และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจึงเท่ากับ 400,000 บาท เมื่อรวมกับผลกระทบทางภาษีจากค่าเสื่อมราคาซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสดจำนวน 44,000 บาท

.

ทำให้ยอดรวมของกระแสเงินสดรับสุทธิจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเท่ากับ 444,000 บาท แสดงผลกระทบของการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสดได้ดังตารางที่ 12 ส่วนที่ 1 หรือสามารถคำนวณในอีกลักษณะหนึ่งตามที่แสดงในส่วนที่ 2 โดยใน 2 ส่วนแรกนี้จะยังไม่ได้พิจารณาถึงรายการค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1 แต่จะแสดงไว้ในส่วนที่ 3 ดังนี้

.
ตารางที่ 12 ผลกระทบของการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสดรายปี

ส่วนที่ 1 ผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสด

ผลกระทบจากรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด :  . . . . .
รายได้รายปีส่วนที่ได้รับเป็นเงินสดเพิ่มขึ้น 

2,000,000

. . . .
ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสดรายปีเพิ่มขึ้น (ปีที่ 1 - 4) 

1,500,000

. . . .
กระแสเงินสดรับก่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น 

500,000

. . . .
ค่าภาษีเงินได้ (500,000 × 20%) 

100,000

. . . .
กระแสเงินสดรับที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงาน 

400,000

. . . .
ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด : . . . . .
ค่าเสื่อมราคา 

220,000

. . . .
อัตราค่าภาษีเงินได้ 

20%

. . . .
กระแสเงินสดจ่ายลดลงจากภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้ 

44,000

. . . .
สรุปผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสด      . . . . .
ผลกระทบจากรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด 

400,000

. . . .
ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด  

44,000

. . . .
ยอดรวมของกระแสเงินสดรับในแต่ละปี 

444,000

. . . .

ส่วนที่ 2 ทางเลือกของการประเมินค่าผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสด

รายได้   .

2,000,000

. . .
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน : . . . . .
ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด 

1,500,000

. . . .
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด 

220,000

. . . .
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวม   .

1,720,000

. . .
กำไรจากการดำเนินงานก่อนภาษี   .

280,000

. . .
ค่าภาษีเงินได้ (280,000 × 20%)   .

56,000

. . .
กำไรจากการดำเนินงาน   .

224,000

. . .
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด : ค่าเสื่อมราคา   .

220,000

. . .
กระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงาน      .

444,000

. . .

ส่วนที่ 3 ผลกระทบโดยรวมที่มีต่อกระแสเงินสดในแต่ละปี

รายการ     

ปีที่ 0

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

ต้นทุนอุปกรณ์ 

(1,000,000)

. . . .
ต้นทุนการติดตั้ง 

(10,000)

. . . .
ต้นทุนการทดสอบและการปรับปรุง 

(20,000)

. . . .
เงินทุนหมุนเวียนที่ต้องการเพื่อการดำเนินงาน     

(400,000)

. . .

400,000

ผลกระทบที่มีต่อเงินสดจากการจำหน่ายสินทรัพย์ 

160,000

. . . .
กระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงาน   .

444,000

444,000

444,000

444,000

เงินสดจ่ายที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1 เพื่อความพร้อมในการดำเนินงาน (หลังภาษี)   .

80,000

. . .
รวมผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดรับ (กระแสเงินสดจ่าย)  

(1,270,000)

364,000

444,000

444,000

844,000

.

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมในปีที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ก่อให้เกิดผลกระทบทางภาษีกล่าวคือทำให้ประหยัดค่าภาษีเงินได้ไปได้เท่ากับ 20,000 บาท ดังนั้นผลกระทบสุทธิในการนำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์การลงทุนจึงรายงานเงินสดจ่ายที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนิน (หลังภาษี) เท่ากับ 80,000 บาทแสดงในส่วนที่ 3 ของตารางที่ 12

.

การลงทุนในโครงการหนึ่งๆ อาจจะทำให้ค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่จะถูกปันส่วนมีจำนวนเพิ่มขึ้นได้ กล่าวคือสำนักงานใหญ่อาจจะทำการปันส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อมไปยังสาขาต่างๆ ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เคยปันส่วนให้ก่อนการลงทุนได้ พิจารณาตัวอย่างการลงทุนข้างต้น

.

ถ้าสมมติว่าสำนักงานใหญ่มีนโยบายปันส่วนค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เกิดขึ้นจากโครงการลงทุนดังกล่าวให้กับแต่ละสาขาที่อัตรา 0.025 บาทต่อมูลค่าขาย 1 บาท การลงทุนในโครงการนี้ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 1,000,000 บาทต่อปี ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายทางอ้อมของสำนักงานใหญ่จะถูกโอนไปยังสาขาต่างๆ ที่ 25,000 บาท ค่าใช้จ่ายโดยรวมของสาขาจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 25,000 บาทต่อปี

.

อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายโดยรวมของสำนักงานใหญ่เพิ่มขึ้น และถ้าพิจารณารายการค่าใช้จ่ายปันส่วนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไม่ส่งผลทำให้เกิดกระแสเงินสดจ่ายออก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ถูกนำมาพิจารณาในการวิเคราะห์การลงทุน รวมถึงไม่พิจารณาในประเด็นของผลกระทบทางภาษีด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายปันส่วนไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายของกิจการโดยภาพรวมเปลี่ยนแปลงไป

.

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปผลกระทบจากการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสดและการวัดค่าผลกระทบสุทธิที่มีต่อเงินสดเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์ ณ สิ้นสุดอายุโครงการลงทุนได้ดังตารางที่ 13 และตารางที่ 14 ได้ดังนี้

.
ตารางที่ 13 ผลกระทบของการดำเนินงานที่มีต่อกระแสเงินสดรายปี
รายการ  ผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสด
เงินสดรับ  จำนวนเงินสดที่ได้รับ × (1- อัตราภาษี)
เงินสดจ่าย  จำนวนเงินสดที่จ่าย × (1- อัตราภาษี)
ค่าเสื่อมราคาของโครงการ  ภาษีที่ประหยัดได้ : ค่าเสื่อมราคา × อัตราภาษี
ต้นทุนปันส่วน  ไม่มีผลกระทบ
.
ตารางที่ 14 การวัดค่าผลกระทบสุทธิที่มีต่อเงินสดเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน

เงินสดรับที่ได้จากการจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการ

หัก

เงินสดจ่ายสำหรับการเคลื่อนย้าย การทำความสะอาด การปรับแต่ง และอื่นๆ

บวก

ผลขาดทุนจากการจำหน่าย × อัตราภาษี

หรือ หัก

กำไรจากการจำหน่าย × อัตราภาษี

หัก

ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อการปรับแผนการดำเนินงาน และการฝึกอบรม × (1- อัตราภาษี)

บวก

เงินทุนหมุนเวียนได้รับคืน

เท่ากับ

ผลกระทบสุทธิที่มีต่อกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ

.
การจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดโครงการ

ผลกระทบทางตรงที่มีต่อกระแสเงินสด การจำหน่ายสินทรัพย์เมื่ออายุโครงการสินทรัพย์ดำเนินงานสิ้นสุดลงจะทำให้เกิดผลกระทบต่อกระแสเงินสด การจำหน่ายสินทรัพย์ทำให้กระแสเงินสดรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการจำหน่ายสินทรัพย์มักจะทำให้มีค่าใช้จ่ายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นเพื่อการเตรียมสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพพร้อมขาย เช่น การทำความสะอาดสินทรัพย์ การปรับแต่ง

.

เมื่อกิจการจะทำการจำหน่ายสินทรัพย์ดำเนินงานระยะยาวของโครงการที่หมดอายุแล้วอาจจะส่งผลทำให้ความต้องการจำนวนพนักงานลดลง กิจการหลายๆ แห่งมักจะเริ่มลดจำนวนพนักงานที่มีอยู่ประมาณ 2 - 3 ปีก่อนจะสิ้นสุดอายุโครงการลงทุนโดยส่งเสริมให้มีการเกษียณก่อนกำหนด การหยุดรับพนักงานใหม่สำหรับตำแหน่งงานที่ว่างลง

.

การโอนพนักงานไปยังแผนกงานอื่นๆ หรือการนำเทคนิคการบริหารแบบใหม่มาใช้ที่ส่งผลกระทบทำให้กระบวนการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กิจการอาจจะมีค่าใช้จ่ายๆ หลายรายการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และการฝึกอบรมเกิดขึ้นในช่วง 2 - 3 ปีก่อนสิ้นสุดอายุโครงการลงทุน

.

ผลกระทบทางภาษี ผลกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ของโครงการลงทุนที่สิ้นสุดลงล้วนแต่ส่งผลกระทบทางภาษีทั้งสิ้น กิจการจะต้องจ่ายค่าภาษีเมื่อมีผลกำไรจากการขายสินทรัพย์ และจะสามารถประหยัดเงินค่าภาษีเงินได้เมื่อมีผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์

.
เงินทุนหมุนเวียนได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน

เงินทุนหมุนเวียนที่มีความผูกพันจากการดำเนินงานตามโครงการลงทุนจะได้รับคืนมาทั้งหมดหลังจากสิ้นสุดโครงการลงทุนไม่นานนัก เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับคืนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ ได้ จำนวนเงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับคืนถือเป็นกระแสเงินสดรับเข้าของโครงการลงทุนที่สิ้นสุดไปโดยจะไม่มีผลทางภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องเนื่องจากรายการดังกล่าวไม่ใช่รายได้หรือค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดพิจารณาตารางที่ 14 ประกอบ

.
ตัวอย่างที่ 7

จากตัวอย่างที่ 3 กิจการคาดว่าจะขายเครื่องจักรเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการลงทุนปีที่ 4 ได้ประมาณ 200,000 บาท มูลค่าซากสำหรับการตัดค่าเสื่อมราคาเท่ากับ 150,000 บาท ต้นทุนในการขนย้ายและทำความสะอาดเครื่องจักรคาดว่าจะเท่ากับ 40,000 บาท หลังจากการจำหน่ายเครื่องจักรแล้วกิจการจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานเพิ่มเติมก่อนจะทำการปรับโยกย้ายไปทำการในส่วนงานอื่นๆ ต่อไปอีกประมาณ 300,000 บาท จากข้อมูลดังกล่าวสามารถอธิบายถึงผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนได้ดังตารางที่ 15 ต่อไปนี้

.
ตารางที่ 15 แสดงผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดเมื่อจำหน่ายสินทรัพย์ที่สิ้นสุดโครงการลงทุน

รายการ 

กระแสเงินสด  

ส่วนเกิน

กระแสเงินสดสุทธิ

ส่วนที่ 1 เมื่อจำหน่ายเครื่องจักร    .. .. ..
ผลกระทบทางตรง :  .. .. ..
เงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักร 

200,000

.. ..
ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและทำความสะอาดเครื่องจักร 

(40,000)

.. ..
เงินสดรับสุทธิจากการขายเครื่องจักร   .

160,000

160,000

ผลกระทบทางภาษี : . . .
ต้นทุนของเครื่องจักร 

1,030,000

. .
ค่าเสื่อมราคาสะสม 

880,000

. .
มูลค่าตามบัญชีของเครื่องจักร   .

150,000

.
กำไรขาดทุนจากการขายเครื่องจักร   .

10,000

.
ภาษีเงินได้    .

20%

2,000

เงินที่ได้รับสุทธิหลังหักภาษีเงินได้    . .

158,000

ส่วนที่ 2 รายจ่ายอื่นๆ . . .
ผลกระทบทางตรง : . . .
รายจ่ายในการปรับโยกย้ายพนักงาน 

(300,000)

. .
ผลกระทบทางภาษี : . . .
ภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้ 

60,000

. .
กระแสเงินสดจ่ายสุทธิจากการปรับโยกย้ายพนักงาน    . .

(240,000)

ส่วนที่ 3 เงินทุนหมุนเวียนได้รับคืน    . . .
ผลกระทบทางตรง :   . . .
เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับคืน    . .

400,000

ผลกระทบสุทธิของกระแสเงินสดรับเมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน    . .

318,000

.

เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุนแล้วเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ดังนั้นกิจการจะได้รับเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานคืนอีก 400,000 บาท แสดงผลกระทบสุทธิของโครงการลงทุนดังกล่าวโดยภาพรวมทั้งหมดได้ดังตารางที่ 16 ต่อไปนี้

.
ตารางที่ 16 ผลกระทบโดยภาพรวมของโครงการลงทุนที่มีต่อกระแสเงินสด

รายการ

ปีที่ 0

ปีที่ 1

ปีที่ 2

ปีที่ 3

ปีที่ 4

การลงทุนเมื่อเริ่มแรก      . . . . .
ต้นทุนอุปกรณ์ 

(1,000,000)

. . . .
ต้นทุนการติดตั้ง 

(10,000)

. . . .
ต้นทุนการทดสอบและการปรับปรุง 

(20,000)

. . . .
เงินทุนหมุนเวียนที่ต้องการเพื่อการดำเนินงาน  

(400,000)

. . . .
ผลกระทบที่มีต่อเงินสดรับเมื่อจำหน่ายเครื่องจักรเก่า 

160,000

. . . .
ผลกระทบสุทธิที่มีต่อกระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก     

(1,270,000)

. . . .
การดำเนินงาน      . . . . .
รายได้  

2,000,000 

2,000,000

2,000,000

2,000,000

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน      . . . . .
ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด   .

1,600,000

1,500,000

1,500,000

1,500,000

ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด   .

220,000

220,000

220,000

220,000

รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน   .

1,820,000

1,720,000

1,720,000

1,720,000

กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักภาษี   .

180,000

280,000

280,000

280,000

ค่าภาษีเงินได้   .

36,000

56,000

56,000

56,000

กำไรจากการดำเนินงาน   .

144,000

224,000

224,000

224,000

ค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นเงินสด   .

220,000

220,000

220,000

220,000

กระแสเงินสดรับสุทธิจากการดำเนินงาน   .

364,000

444,000

444,000

 444,000

เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน (สุทธิหลังภาษี)  . . . . .
เงินทุนหมุนเวียนที่ได้รับคืน      . . . .

400,000

การจำหน่ายสินทรัพย์เมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ      . . . .

158,000

ค่าใช้จ่ายในการปรับโยกย้ายพนักงาน      . . . .

(240,000)

กระแสเงินสดรับสุทธิเมื่อสิ้นสุดอายุโครงการ      . . . .

318,000

ผลกระทบสุทธิที่มีต่อกระแสเงินสด  

(1,270,000)

364,000

444,000

444,000

762,000

.
.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด