เนื้อหาวันที่ : 2009-07-21 12:25:33 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7314 views

เทคนิคการประเมินโครงการลงทุน ตอนที่ 1

เทคนิควิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับการประเมินค่าโครงการลงทุนมี 3 วิธี แต่ละวิธีล้วนแต่มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบแตกต่างกันไป แต่ในทางปฏิบัติจริงมักจะพบว่ากิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการประเมินค่าโครงการลงทุนมากกว่าหนึ่งวิธี ยิ่งไปกว่านั้นกิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไปสำหรับประเภทของโครงการลงทุนที่มีความแตกต่างกันด้วย

ผศ.วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ
wiwatapi@gmail.com

.

.
เทคนิควิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับการประเมินค่าโครงการลงทุนมี 3 วิธีคือ
1.ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)
2.อัตราผลตอบแทนตามมูลค่าทางบัญชี (Book Rate of Return)
3.การลดค่ากระแสเงินสด (Discounted Cash Flow)
.

เทคนิควิธีการแต่ละวิธีล้วนแต่มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบแตกต่างกันไป แต่ในทางปฏิบัติจริงมักจะพบว่ากิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการประเมินค่าโครงการลงทุนมากกว่าหนึ่งวิธี ยิ่งไปกว่านั้นกิจการมักจะเลือกใช้เทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไปสำหรับประเภทของโครงการลงทุนที่มีความแตกต่างกันด้วย

.
ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)

คำถามที่นักลงทุนมักจะถามเสมอเมื่อจะทำการตัดสินใจลงทุนในโครงการใด ๆ คือ ใช้เวลานานเท่าไรจึงจะได้รับเงินทุนคืน เทคนิคของเวลาการคืนทุนจะช่วยตอบคำถามนี้ได้ดี

.

ระยะเวลาคืนทุนของโครงการลงทุนใด ๆ คือ ช่วงของเวลาที่ต้องการเพื่อการสะสมจำนวนเงินที่ได้รับเข้าสุทธิโดยรวมให้มีจำนวนเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ จำนวนรอบเวลาที่ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนครอบคลุมจำนวนเงินที่จ่ายลงทุนคือ เวลาการคืนทุน

.

การคำนวณระยะเวลาคืนทุนจำเป็นต้องทราบจำนวนเงินลงทุนเริ่มแรกของโครงการ และกระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีในแต่ละปีตลอดอายุโครงการลงทุน เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าวแล้วจึงนำมาคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนโดยจำแนกเป็น 2 กรณีคือ

.
กรณีที่ 1 กระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีในแต่ละปีเท่ากัน คำนวณโดยใช้สูตรดังนี้

ระยะเวลาคืนทุน = 

.

กรณีที่ 2 กระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีในแต่ละปีไม่เท่ากัน ในกรณีนี้ให้ทำการบวกทบกระแสเงินสดรับสุทธิในแต่ละปีไปเรื่อย ๆ แต่ละปีที่สามารถบวกทบกระแสเงินสดรับสุทธิในแต่ละปีแล้วไม่เกินจำนวนเงินของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิเริ่มแรกสามารถนับเวลาได้เต็มปี จนกระทั่งในปีใดที่บวกทบกระแสเงินสดรับแล้ว มีจำนวนเงินรวมของกระแสเงินสดรับสุทธิสะสมมากกว่าเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก ในปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่ไม่สามารถคิดเวลาได้เต็มปี เนื่องจากกระแสเงินสดรับสุทธิที่เข้ามาในปีนั้นมีจำนวนมากกว่าที่ต้องการ

.

ดังนั้นในปีดังกล่าวจึงต้องคำนวณหาเศษส่วนเวลาที่เหลือ โดยจะต้องคำนวณหากระแสเงินสดรับส่วนขาดที่ต้องการหารด้วยกระแสเงินสดรับทั้งสิ้นที่เข้ามาในปีที่ไม่สามารถนับเวลาได้เต็มปี สำหรับกระแสเงินสดรับส่วนขาดที่ต้องการเป็นจำนวนเงินที่เมื่อนำมารวมกับกระแสเงินสดรับสุทธิสะสมในช่วงเวลาที่นับได้เต็มปีแล้วจะมีจำนวนเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลงทุนพอดี

.
ระยะเวลาคืนทุน = จำนวนปีที่สามารถคำนวณทบมูลค่ากระแสเงินสดรับได้ทั้งจำนวน + เศษส่วนเวลาที่ไม่สามารถนับได้เต็มปี

เศษส่วนเวลาที่ไม่สามารถนับได้เต็มปี = 

.

ตัวอย่างที่ (1)
สมมติว่าผู้บริหารกำลังพิจารณาลงทุนโครงการลงทุน 2 โครงการมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลการลงทุนทั้งสองโครงการแสดงได้ดังนี้

.

โครงการ ก 

. .
ผลกระทบที่มีต่อกระแสเงินสดจ่ายลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ 

1,270,000 

บาท
มูลค่าที่เหลือโดยประมาณ 

150,000

บาท
ข้อมูลการดำเนินงานรายปี: . .
รายได้ 

2,000,000

บาทต่อปีสำหรับ 4 ปี
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เป็นเงินสด 

1,500,000

บาทต่อปีสำหรับ 4 ปี
ข้อมูลการดำเนินงานอื่นๆ: . .
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉพาะปีที่ 1 

100,000 

บาท
เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน: . .
เงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักร 

200,000

บาท
ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและทำความสะอาดเครื่องจักร 

40,000

บาท
รายจ่ายในการปรับเปลี่ยน โยกย้ายพนักงาน 

300,000

บาท
กระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีที่ไม่เท่ากัน: . .
ปีที่ 1 

364,000

บาท
ปีที่ 2 

444,000 

บาท
ปีที่ 3

444,000 

บาท
ปีที่ 4 

762,000 

บาท

โครงการ ข

. .
เงินที่ต้องจ่ายลงทุนเริ่มแรก 

1,110,000 

บาท
มูลค่าที่เหลือโดยประมาณ 

120,000 

บาท
ข้อมูลการดำเนินงานรายปี:    . .
รายได้ 

1,800,000 

บาทต่อปีสำหรับ 4 ปี
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เป็นเงินสด 

1,320,000 

บาทต่อปีสำหรับ 4 ปี
เมื่อสิ้นสุดโครงการลงทุน: . .
เงินที่ได้รับจากการขายเครื่องจักร 

400,000 

บาท
รายจ่ายในการปรับเปลี่ยน โยกย้ายพนักงาน  

430,000

บาท
.
กิจการมีนโยบายในการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง สมมติให้อัตราภาษีเงินได้เท่ากับ 20%
จากข้อมูลข้างต้นคำนวณระยะเวลาคืนทุนได้ดังนี้
.
โครงการ ก

เมื่อพิจารณาเงินสดรับในแต่ละปีของโครงการลงทุน จะเห็นได้ว่ากระเงินสดรับสุทธิหลังหักภาษีรายปีมีจำนวนที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นในการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนจึงใช้หลักการในกรณีที่ 2 กล่าวคือให้ทำการบวกทบมูลค่ากระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีในแต่ละปีที่เข้ามาให้มีจำนวนเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรก แสดงสะสมมูลค่ากระแสเงินสดรับให้มีจำนวนเท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนได้ดังนี้

.

.

จากการบวกทบเพื่อการสะสมมูลค่าเงินสดรับสุทธิหลังหักภาษีข้างต้น จะเห็นได้ว่าเมื่อระยะเวลาผ่านไป 2 ปี มูลค่าสะสมของกระแสเงินสดรับสุทธิหลังหักภาษีเท่ากับ 1,252,000 บาทซึ่งยังไม่เท่ากับเงินสดจ่ายลงทุนในครั้งแรกคือ 1,270,000 บาท แต่ถ้ารวมเงินสดรับในปีที่ 3 เข้าไปทั้งจำนวนจะมีจำนวนรวมเท่ากับ 2,014,000 บาทซึ่งสูงกว่าเงินสดจ่ายลงทุนในครั้งแรก ดังนั้นเศษของเวลาที่เหลือที่ไม่สามารถนับไปได้เต็มปีจึงต้องคำนวณดังนี้

.
.

ระยะเวลาคืนทุน = จำนวนปีที่สามารถคำนวณทบมูลค่ากระแสเงินสดรับได้ทั้งจำนวน + เศษส่วนเวลาที่ไม่สามารถนับได้เต็มปี
           = 3 ปี + 0.023 ปี
           = 3.023 ปี

.
โครงการ ข

เนื่องจากโครงการ ก ให้ค่ากระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีมาแล้วจึงสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนได้ทันที แต่สำหรับโครงการ ข นั้นในขั้นแรกจะต้องเริ่มทำการคำนวณหากระแสเงินสดรับสุทธิหลังหักภาษีในแต่ละปีก่อนหลังจากนั้นจึงทำการบวกทบมูลค่ากระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีให้ แสดงการคำนวณได้ดังนี้ 

.

.

จากการคำนวณมูลค่าสะสมของเงินสดรับสุทธิหลังภาษีข้างต้นจะเห็นได้ว่าปีที่ 3 เป็นปีที่คืนทุน แต่เนื่องจากมูลค่าสะสมของเงินสดรับสุทธิหลังภาษีมากกว่าเงินสดจ่ายลงทุนจึงไม่สามารถนับรวมเวลาของปีที่ 3 ได้เต็มปี สามารถคำนวณเศษเวลาที่ไม่เต็มปีได้ดังนี้ 

.
.
ระยะเวลาคืนทุน = จำนวนปีที่สามารถคำนวณทบมูลค่ากระแสเงินสดรับได้ทั้งจำนวน + เศษส่วนเวลาที่ไม่สามารถนับได้เต็มปี
           = 2 ปี + 0.561 ปี
           = 2.561 ปี
.

ถ้าพิจารณาจากกระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีของโครงการ ข จะพบว่ากระแสเงินสดรับสุทธิหลังหักภาษีในแต่ละปีมีจำนวนที่เท่ากัน ดังนั้นการคำนวณระยะเวลาคืนทุนจึงสามารถคำนวณได้อีกลักษณะหนึ่งคือ การใช้สูตรกรณีที่ 1 กระแสเงินสดรับสุทธิหลังภาษีในแต่ละปีเท่ากัน ดังนี้

.
.

จากหลักการและแนวคิดของเทคนิคการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ระยะเวลาคืนทุนจะเห็นได้ว่ามีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือทำการคำนวณได้ง่ายจึงเข้าใจได้ไม่ยาก ระยะเวลาคืนทุนที่คำนวณได้สามารถประมาณการได้ถึงช่วงเวลาที่เร็วที่สุดที่กิจการจะได้รับเงินสดคืนเท่ากับที่จ่ายลงทุนไป

.

สำหรับระยะเวลาที่คำนวณได้นั้นสามารถนำมาใช้ประเมินค่าความเสี่ยงของโครงการลงทุนได้ กล่าวคือโครงการที่มีระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่าแสดงว่าโครงการลงทุนนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่า ข้อเท็จจริง 2 ประการที่สนับสนุนประเด็นนี้คือ ประการแรก ระยะเวลาคืนทุนในอนาคตที่นานกว่า มีความเป็นไปได้มากที่ข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายที่ประมาณการไว้อาจจะไม่เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ในครั้งแรก ประการที่สองระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่ามีความเป็นไปได้มากที่ผลิตภัณฑ์หรือการบริการของโครงการนั้นอาจจะล้าสมัย หรือมีคู่แข่งขันที่น่าสนใจมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้กระแสเงินสดที่คาดการณ์ว่าจะได้รับจะเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น

.

ระยะเวลาคืนทุนชี้ให้เห็นถึงสภาพคล่องของเงินทุนที่ได้จากโครงการลงทุนหนึ่ง ๆ กระแสเงินสดรับจากโครงการลงทุนหนึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโครงการลงทุนอื่น ๆ ได้อีก ดังนั้นโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่ามีความเป็นไปได้มากว่าจะไม่มีสภาพคล่องเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่า เช่น โครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุน 4 ปีย่อมมีสภาพคล่องน้อยกว่าโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 3 ปีหรือน้อยกว่านั้น

.

เทคนิคระยะเวลาคืนทุนมุ่งเน้นกับการจ่ายคืนทุนเร็วเป็นสำคัญ กิจการอุตสาหกรรมที่ใช้เทคนิคระยะเวลาคืนทุนในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ล้าสมัยถ้าเลือกโครงการลงทุนที่มีระยะเวลาคืนทุนสั้น ๆ แต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากโครงการลงทุนในลักษณะของพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือการบริหารจัดการสมัยใหม่นั้นบ่อยครั้งที่มักจะใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงทำให้ระยะเวลาคืนทุนที่ได้รับค่อนข้างจะนานกว่า

.

ข้อจำกัดของการใช้เทคนิคระยะเวลาคืนทุน คือความล้มเหลวจากการละเลยในเรื่องของการประเมินความสามารถในการทำกำไรของโครงการและมูลค่าเงินตามเวลา ระยะเวลาคืนทุนจะพิจารณาเฉพาะกระแสเงินสดเมื่อเริ่มโครงการลงทุนและกระแสเงินสดรับรายปีที่เข้ามาจนกระทั่งคืนทุนและละเลยที่จะพิจารณาถึงกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นหลังจากเวลาคืนทุนไปแล้ว

.

ข้อจำกัดประการที่สองคือระยะเวลาคืนทุนไม่ได้พิจารณาในเรื่องของมูลค่าเงินตามเวลาเลย โครงการลงทุน 2 โครงการที่มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากันผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนทั้งสองเท่ากัน หรือแม้ว่าถ้าโครงการหนึ่งจะมีระยะเวลาคืนทุนสั้นกว่าแต่มีรูปแบบของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นแตกต่างกันกล่าวคือโครงการหนึ่งมีกระแสเงินสดรับเข้าในช่วงปีแรก ๆ เป็นจำนวนที่น้อยกว่า

.

ในขณะที่อีกโครงการหนึ่งมีกระแสเงินสดรับเข้าในช่วงปีแรกมากกว่า แต่โครงการที่มีระยะเวลาคืนทุนเร็วกว่ากลับถูกให้ความสำคัญกับการตัดสินใจลงทุนก่อนเป็นลำดับแรกถ้าใช้เทคนิคระยะเวลาคืนทุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

.
ตัวอย่างที่ 2

กิจการแห่งหนึ่งกำลังพิจารณาเพื่อตัดสินใจโครงการลงทุน 2 โครงการซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับกระแสเงินสดที่เกิดขึ้น และระยะเวลาคืนทุนแต่ละโครงการดังนี้

.

.

โครงการลงทุนทั้งสองมีความต้องการเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกด้วยจำนวนที่เท่ากัน แต่โครงการลงทุน ข มีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าโครงการลงทุน ก ถ้าตัดสินใจลงทุนโดยใช้เทคนิคระยะเวลาคืนทุนโครงการ ข จะเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจมากกว่า

.

ในที่นี้จะได้ข้อสรุปว่าโครงการ ข เป็นโครงการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า ถ้าละเลยการพิจารณารูปแบบกระแสเงินสดและเงินสดรับสุทธิของโครงการลงทุนทั้งสองเปรียบเทียบกัน ระยะเวลาคืนทุนละเลยข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่ากระแสเงินสดรับสุทธิของโครงการ ก เท่ากับ 360,000 บาท ในขณะที่กระแสเงินสดรับของโครงการ ข นั้นมีเพียง 240,000 บาทเท่านั้นเมื่อพิจารณาโดยตลอดระยะเวลา 4 ปีของโครงการลงทุนทั้งสอง

.

ยิ่งไปกว่านั้นรูปแบบกระแสเงินสดที่แสดงข้างต้นของโครงการ ก นั้นจะเห็นได้ว่ากระแสเงินสดรับในปีที่ 1 มีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญมากกว่ากระแสเงินสดรับปีที่ 1 ของโครงการ ข ถ้ากิจการนำกระแสเงินสดรับที่เข้ามาในปีที่ 1 ไปลงทุนต่อโดยได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 9% โครงการ ก จะมีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าโครงการ ข แสดงการคำนวณประกอบได้ดังนี้

.

.
จากกระแสเงินสดรับที่คำนวณข้างต้น สามารถนำมาคำนวณระยะเวลาคืนทุนของทั้งสองโครงการได้ดังนี้
โครงการ ก: 1 ปี +    = 1.63 ปี

โครงการ ข: 1 ปี +    = 1.99 ปี

.

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปกับการใช้เทคนิคระยะเวลาคืนทุนซึ่งต้องการระยะเวลาคืนทุนที่สั้นที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากกิจการต้องการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมในการดำเนินงาน หรือเพื่อการบริหารความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่อาจจะมีเกิดขึ้นในอนาคต หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่

.

อย่างไรก็ตามความต้องการในลักษณะดังกล่าวบ่อยครั้งที่อาจจะนำมาสู่การปฏิเสธโครงการลงทุนที่ดีต่อการปรับปรุงการดำเนินงานในระยะยาวเพื่อการสร้างความพร้อมและการปรับตัวให้ทันคู่แข่งขัน รวมทั้งความสามารถในการตอบสนองในการให้การบริการแก่ลูกค้าให้ดีขึ้นได้ ทั้งนี้เนื่องจากโครงการปรับปรุงดังกล่าวอาจจะใช้เงินลงทุนสูง ทำให้มีระยะเวลาคืนทุนที่นานกว่า

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด