เนื้อหาวันที่ : 2006-11-09 10:05:32 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7190 views

การวิเคราะห์คุณค่าการผลิต

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงจากพนักงานแต่ละคน แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม แต่สิ่งที่เหนือกว่านั่นคือ การมุ่งปรับปรุงผลิตภาพอย่างทั่วทั้งโรงงาน ดังนั้นการวิเคราะห์คุณค่าการผลิต MVA จึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนการผลิตหรือการเคลื่อนไหวที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ หากการเคลื่อนไหวไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์

สำหรับข้อเสนอแนะการปรับปรุงจากพนักงานแต่ละคน (Individual Improvement Suggestions) แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม แต่สิ่งที่เหนือกว่านั่นคือ การมุ่งปรับปรุงผลิตภาพอย่างทั่วทั้งโรงงาน ดังนั้นการวิเคราะห์คุณค่าการผลิต (Manufacturing Value Analysis) หรือ MVA จึงเป็นแนวทางสำคัญสำหรับวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนการผลิตหรือการเคลื่อนไหว(Motion)ที่เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ หากการเคลื่อนไหวไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์แล้วก็จะเรียกว่า การเกิดความสูญเปล่าขึ้นและควรดำเนินการขจัดออก ซึ่งหากดำเนินการตามแนวทางนี้อย่างมีประสิทธิผลก็จะส่งผลต่อการยกระดับผลิตภาพทั่วทั้งโรงงานด้วยต้นทุนต่ำ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพของแรงงานและเครื่องจักรด้วยการใช้เครื่องมือ อย่าง แผ่นปรับปรุงการปฏิบัติการ เพื่อมุ่งเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพขึ้นสองเท่า ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจึงไม่เพียงแค่เกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิตเท่านั้น แต่จะมีความเกี่ยวข้องและประสานงานกับฝ่ายงานสนับสนุน เช่น ฝ่ายธุรการ โดยมุ่งการปรับปรุงอย่างทั่วทั้งองค์กร (Companywide Improvement) ซึ่งการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงนี้จะต้องใช้ความตั้งใจและความพยายามในการวิเคราะห์ปรับปรุงอย่างเต็มที่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพที่มีขั้นตอนการพัฒนา ดังนี้

 .

1.ในขั้นแรกจะมีการจัดทำระบบข้อเสนอแนะจากพนักงาน (Employee Suggestion System) เพื่อการปรับปรุงงานที่ทำประจำวัน ซึ่งเป็นแนวคิดส่วนตัวของแต่ละคน ดังนั้นผลลัพธ์ของการดำเนินการอาจไม่ส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพโดยรวมขององค์กรมากนัก

 .

2.การจัดทีมงานปรับปรุง (Improvement Team) เพื่อเริ่มดำเนินการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ (Systematic Approach) เช่น การแสดงรายการปัญหาหรือความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น และการประยุกต์ใช้คำถาม 5W1H ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าและตรวจสอบสภาพปัจจุบันที่นำไปสู่แนวทางแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเป็นการป้องกันไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดซ้ำขึ้นอีก รวมถึงการศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันในเชิงปริมาณด้วยการวัดเวลา

 .

 .

สิ่งสำคัญของการวิเคราะห์และวัดผลจากสภาพปัจจุบันไม่ควรมุ่งแค่การจับเวลาอย่างเดียว แต่ต้องทำการศึกษาลักษณะของงานก่อนแล้วจึงทำความเข้าใจกระบวนการทั้งหมด และใช้เทคนิคทางวิศวกรรมอุตสาหการเพื่อขจัดกิจกรรมสูญเปล่าออกจากกระบวนการ ทำให้เกิดรูปแบบการทำงานที่ง่ายขึ้นหรือที่เรียกว่า Work Simplification โดยนักวิเคราะห์จะต้องทำการศึกษากระบวนการหรือลำดับขั้นตอนของงานที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เพื่อหาวิธีการทำงานใหม่และขจัดการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผลลัพธ์ของการปรับปรุงงานจะนำไปสู่การลดต้นทุน และก่อให้เกิดผลิตภาพ ดังนี้

 .

.

รูปที่ 1 ตัวอย่างใบบัน ทึกเวลาปฏิบัติงาน

. 

- ลดความเหนื่อยล้า อันเกิดจากขั้นตอนการทำงานที่ง่ายขึ้น

- ลดความผิดพลาดและความสูญเสียอันเนื่องจากความซับซ้อนของงาน

- ทำให้เกิดความพึงพอใจในงานต่อผู้ปฏิบัติการ

- เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติการ

 .

สำหรับแนวทางวิเคราะห์สภาพการทำงานปัจจุบันและเสนอแนะการปรับปรุงนั้น สิ่งสำคัญจะต้องมองประเด็นปัญหาหลักและดำเนินการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ  โดยพัฒนาวิธีการใหม่ด้วยการใช้แนวทางจากคำถาม IE เทคนิค (ECRS) ที่ประกอบด้วย

 .

- การขจัดออก (Elimination) เป็นการขจัดงานหรือขั้นตอนที่ทำให้เกิดความสูญเปล่า

- การรวมเข้าด้วยกัน (Combine) เป็นการรวมขั้นตอนที่เกี่ยวข้องหรือการปฏิบัติที่คล้ายกันรวมเป็นขั้นตอนเดียวกัน

- การจัดลำดับใหม่ (Rearrange) นำข้อมูลการวิเคราะห์มาจัดลำดับขั้นตอนระบบงานใหม่

- การทำให้ง่ายขึ้น (Simplify) เพื่อให้เกิดขั้นตอนและการทำงานที่สะดวกขึ้น

 .

.

 .

รูปที่ 2 แสดงกระบวนการและขั้นตอนการปรับปรุง

 .

สำหรับการพัฒนาแผ่นงานปรับปรุงการปฏิบัติงาน (Operation Sheet) เพื่อระบุประเภทความสูญเปล่าและกิจกรรมการปรับปรุงที่จำเป็น โดยมีการแสดงรายละเอียดของการปฏิบัติงานเป็นองค์ประกอบย่อยของงาน (Work Elements) ที่สามารถใช้สำหรับวิเคราะห์เพื่อระบุความสูญเปล่าและปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ทีมงานสามารถใช้วางแผนการแก้ปัญหาและประเมินถึงผลกระทบในขั้นต่อไป รวมถึงการระบุผู้รับผิดชอบและกำหนดการเสร็จสิ้นของการแก้ปัญหาอย่างชัดเจน แต่โดยทั่วไปทีมงานมักพบปัญหาการใช้แผ่นงานปรับปรุงการปฏิบัติงาน ดังเช่น

 .

- ไม่สามารถระบุประเด็นปัญหา (Problem Points) ได้อย่างครบถ้วน

- ขาดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

- ขาดการกำหนดความรับผิดชอบและการระบุกำหนดการเสร็จสิ้นอย่างชัดเจน

 .

 

 .

รูปที่ 3 ตัวอย่างแผ่นบันทึกเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงาน (Operation Improvement Sheet)

 .

นอกจากนี้ยังสามารถใช้แผนภาพการไหลกระบวนการ เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการไหลของงานที่ก่อให้เกิดความสูญเปล่า โดยมีการจัดทำรายละเอียดปัจจัยนำเข้า (Input) รวมทั้งมาตรวัดของแต่ละกระบวนการเพื่อค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

 .

รูปที่ 4 ตัวอย่างแผนภาพการไหลกระบวนการ

 .

1.ในขั้นตอนนี้ทางทีมงานจะนำผลลัพธ์จากการบันทึกในแผ่นปรับปรุงการปฏิบัติงาน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในแต่ละองค์ประกอบของงานและระบุวิธีการแก้ไขในแต่ละองค์ประกอบย่อย (Work Element) อย่างชัดเจน โดยมุ่งการปรับปรุงแรงงาน (Labor-saving Improvement) และประสิทธิภาพเครื่องจักร เช่น ลดเวลาการว่างงาน ดังนั้นการใช้แนวทาง MVA  ทีมงานควรมีการวางแผนแก้ปัญหา ด้วยการมุ่งเป้าหมายลดเวลาสะสมของการดำเนินกิจกรรมลง 50% โดยเฉพาะการพัฒนาแนวทางที่มุ่งเน้นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การตั้งเครื่องให้สามารถทำงานในช่วงของการหยุดพักกลางวัน การปรับปรุงเครื่องจักรที่กระบวนการคอขวด     

 .

.

รูปที่ 5 ตารางการจำแนกความ สูญเปล่าและแนวทางแก้ไข

 .

                           

.

รูปที่ 6 กราฟแสดงผลลัพธ์สำหรับการติดตามและควบคุม

 

 

 

 

 .

1.ปัญหาความสูญเปล่าในกระบวนการได้ถูกขจัดออกและสามารถลดเวลาสะสมของการปฏิบัติงานลงได้ตามเป้าหมายที่ระบุไว้ในทุกกระบวนการ นั่นหมายถึง องค์กรสามารถเพิ่มผลิตภาพขึ้นเป็นสองเท่า นอกจากนี้ยังมีการประสานงานระหว่างฝ่ายงานอย่างมีประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร จึงมีการกำหนดมาตรฐานการทำงาน (Working Standard) ในรูปของระเบียบวิธีปฏิบัติงาน (Standard of Procedure) หรือ SOP อย่างชัดเจนและแสดงเป็นเอกสารในรูป คู่มือการทำงาน (Manual) เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใจและดำเนินตามแนวทางอย่างถูกต้อง ดังนั้นในทุกพื้นที่ปฏิบัติงานจึงควรมีคู่มือหรือมาตรฐานการทำงานเพื่อให้ทำงานตามระเบียบวิธีการที่แสดงไว้ 

.
สรุป

ปัจจุบันแนวทางวิเคราะห์คุณค่าการผลิต (MVA) ได้ถูกใช้สำหรับการระบุความสูญเปล่าและมุ่งขจัดกิจกรรมที่เกิดความสูญเปล่าหรือไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงานและเครื่องจักรด้วยการใช้เครื่องมือ อย่าง แผ่นปรับปรุงการปฏิบัติการ เพื่อมุ่งเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพขึ้นสองเท่าทั่วทั้งโรงงาน ดังนั้นการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดของการปรับปรุงอย่างทั่วทั้งองค์กร (Companywide Improvement)

 .
เอกสารอ้างอิง

1.Malcolm Smith, New Tools for Management Accounting, Longman Australia Pty Ltd., 1994.

2. Warren , Reeve, Fess, Financial & Managerial  Accounting, South-Western, 7th ed., 2002.

3.Iwao Kobayashi, 20 Keys to Workplace Improvement, Productivity Press,1995.

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด