เนื้อหาวันที่ : 2009-07-10 17:42:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4260 views

การประยุกต์ใช้ Microsoft Tag ในงานธุรกิจอุตสาหกรรม

Microsoft Tag เป็นเทคโนโลยีและบริการสำหรับเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่านทางการชี้บ่ง (Identify) คล้าย Bar Code แต่แทนรหัสด้วยสีและการจัดรูปแบบรหัสสีเป็น Combination ซึ่งทำงานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต เน้นรองรับวิถีชีวิต (Life Style) ในอนาคต โดยสิ่งชี้บ่ง (ID) จะเก็บอยู่ที่ตัวป้าย (Tag) และข้อมูลสารสนเทศจะเก็บอยู่ที่ Microsoft Data Center

พงศกร ภูแสนคำ: i-popoos@microsoft.com
รัตนากรณ์ กรณ์ศิลป: rknksp@gmail.com  

.

Microsoft Tag เป็นเทคโนโลยีและบริการสำหรับเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่านทางการชี้บ่ง (Identify) คล้าย Bar Code แต่แทนรหัสด้วยสีและการจัดรูปแบบรหัสสีเป็น Combination ซึ่งทำงานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต เน้นรองรับวิถีชีวิต (Life Style) ในอนาคต โดยสิ่งชี้บ่ง (ID) จะเก็บอยู่ที่ตัวป้าย (Tag) และข้อมูลสารสนเทศจะเก็บอยู่ที่ Microsoft Data Center ข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเก็บได้ประกอบด้วย

.

1. URL สำหรับเชื่อมโยงไปยังสิ่งที่จัดเก็บบนอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์, วิดีโอ, เพลง เป็นต้น
2. Free Text ข้อความภาษาใด ๆ จำนวน 200 ตัวอักษร
3. vCard หรือ นามบัตรซึ่งใช้แลกเปลี่ยนกันบนอินเตอร์เน็ต
4. Dialer เบอร์โทรศัพท์สำหรับโทรออก

.

ซึ่งข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนี้ ผู้สร้าง Tag สามารถแก้ไขได้ ทำให้ Tag สามารถใช้ซ้ำกับข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ หรือในงานอื่น ๆ ได้อีกตลอดระยะเวลาของการใช้งาน

.

การเก็บ ID ของ Microsoft Tag จะใช้รหัสสี CMYK จำนวน 4 สี ทำให้ 1 ตำแหน่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 4 บิต เมื่อนำรหัสสีมาจัดเรียงตามรูปแบบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ก็จะได้ชุดของรหัสสีขึ้นมาเป็นชุด ๆ

.

จากภาพด้านล่าง จะเป็น Microsoft Tag ในรูปแบบแนวขนานซึ่งใช้รหัสสีจำนวน 60 ตำแหน่ง เมื่อคำนวณความเป็นไปได้ทั้งหมดของรหัสที่สามารถแทนได้คือ 
    460 = 1,329,228,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000 รหัส 

.

.

นอกจากการจัดเรียงรหัสสีในรูปแบบแนวขนานแล้ว Microsoft ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ Tag เองได้อีกด้วย ตามภาพทางขวามือจะเป็น Tag ที่ออกแบบให้เป็นรูปบอลลูน ซึ่งมีความสวยงามและน่าใช้เพิ่มขึ้น

.

การอ่านข้อมูลจาก Microsoft Tag จะใช้โปรแกรม Microsoft Tag Reader ซึ่งทำงานบนโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องถ่ายภาพและสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูกมากในปัจจุบัน ทำให้มีความคุ้มค่าต่อการนำมาใช้งาน ระบบโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งาน Microsoft Tag Reader ได้แก่ Windows Mobile, J2ME, Symbian S60, Blackberry และ iPhone เรียกได้ว่าแทบจะครอบคลุมโทรศัพท์มือถือทุกค่ายในประเทศไทย

.

ในการทำงาน ผู้ใช้ระบบจะใช้กล้องถ่ายภาพของโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Tag Reader ไว้แล้ว บันทึกภาพ (Capture) ป้าย Microsoft Tag ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ สิ่งของ สิ่งพิมพ์ สถานที่ ฯลฯ แล้วโปรแกรม Microsoft Tag Reader จะจัดการติดต่อ Microsoft Data Center เพื่อส่งข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้กลับมาให้ที่โทรศัพท์มือถือ ในกรณีข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้เป็น URL ระบบจะเชื่อมไปยังเว็บไซต์ ณ ตำแหน่งที่กำหนดโดยอัตโนมัติ ในลักษณะนี้จะสามารถสร้าง Application ให้มือถือเชื่อมต่อเข้ามาทำงานบนเว็บไซต์ได้ทันที

.

.

ในปัจจุบัน Microsoft Tag อยู่ในระยะต้นแบบ Beta ซึ่งหลังประกาศใช้จริง ถ้าใครยังใช้ต้นแบบอยู่ จะยังใช้ฟรีได้ 2 ปี สำหรับการใช้จริง จะมีค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากเน้นไปถึงการใช้ในระดับรายบุคคล และเน้นจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ได้เน้นสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายจึงน่าจะต้องถูกจำกัดไม่ให้สูงมาก อย่างไรก็ดี อาจมีการพิจารณาในรายที่ใช้ในลักษณะกิจการ (คือผู้ที่ใช้ Tag เป็นจำนวนมาก) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งแยกออกไป   

.

.

หลังจากประกาศใช้จริง Microsoft Tag มีโอกาสจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสมัยใหม่ ที่ใคร ๆ ก็รู้จักและมีโปรแกรมอ่านติดตั้งไว้ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งงานประเภทที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นบุคคลทั่วไป (เช่น การใช้ในเอกสารการตลาด) ก็ต้องพึ่งกระแสความนิยม ในการที่ผู้ใช้จะติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag แต่สำหรับการใช้ในกิจการ

.

หรือระหว่างกิจการต่อกิจการ สามารถกำหนดให้บุคลากรของบริษัทติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag เพื่อใช้งาน Application ต่าง ๆ ที่ได้จัดทำเพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานของบริษัท หรืออบรมให้บุคลากรของลูกค้าติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag เพื่อใช้งาน Application ต่าง ๆ ที่ทางบริษัทได้จัดทำเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าได้ โดยไม่ต้องพึ่งกระแสความนิยมเป็นหลัก

.

ในส่วนนี้จึงได้กลายเป็นโอกาสของการพัฒนา Application ธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะใช้ประโยชน์จาก Microsoft Tag กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตัวอย่างของ Application ได้นำมาแสดงสำหรับการใช้ Tag กับผลิตภัณฑ์ กระบวนการ โครงการ (กลุ่ม Application ธุรกิจอุตสาหกรรม) รวมทั้งงานการตลาดและการขาย (กลุ่ม Application ธุรกิจโดยรวม) มีดังนี้    

.
ตัวอย่าง Application สำหรับผลิตภัณฑ์

1. ใช้สำรองป้ายรหัสปกติที่มีอยู่ (ตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 ระบุว่า หากป้ายเสียหาย สูญหาย เสื่อมสภาพ หรือเลอะเลือนอ่านไม่ออก ก็จะต้องยังคงมีวิธีระบุ ID ของสิ่งที่ใช้ป้ายชี้บ่งได้)
  รหัสไม่จำเป็นต้องเป็นรหัสประจำชิ้นผลิตภัณฑ์ แต่เป็นรหัสประจำกลุ่มหรือชุดที่ทำงานร่วมกันของผลิตภัณฑ์ก็ได้            

.

.
2. เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ เชื่อมไปยังโปรแกรมและฐานข้อมูลเว็บไซต์ แล้วทำสิ่งต่อไปนี้ได้

- ผู้ผลิตสามารถอ่านหรือ Update ข้อมูลคุณภาพ การตรวจสภาพ การบำรุงรักษา ประวัติการติดตั้ง ประวัติการทำงาน แนบภาพหรือวิดีโอการทำงานกับผลิตภัณฑ์ สภาพผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน ทั้งจากไซต์งานและจากสำนักงานใหญ่ รวมทั้งยังสามารถใช้เฝ้าตรวจในการติดตามความทนทานของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย โดยข้อมูลสามารถเข้าถึงได้จากหลายฝ่ายที่ทำงานร่วมกันโดยทันที

.

- ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สามารถเชื่อมต่อไปดูรายละเอียดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไหน เชื่อมเข้าดูข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิค (Specifications) วิธีใช้ วิธีบำรุงรักษา ตัวอย่างปัญหาและวิธีการแก้ไข ที่บริษัทผู้ผลิตเขียนแนะนำไว้ได้ และหาเบอร์ฮอตไลน์สอบถามวิธีแก้ปัญหา หรือสั่งซ่อมสั่งอะไหล่ได้ (ถ้าติดบนเครื่องจักรอุปกรณ์ก็มีประโยชน์ กรณีนาน ๆ ไปหนังสือคู่มือเครื่องหาย)
     ฯลฯ     

.
ตัวอย่าง Application สำหรับกระบวนการ

1. ใช้ติดบนป้ายชี้บ่งกระบวนการ เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้ว สามารถทำสิ่งต่อไปนี้
     - บันทึกรายละเอียดงาน รายละเอียดปัญหาของการทำงานในครั้งนั้น ๆ และแนบภาพถ่ายหรือวิดีโอสภาพแวดล้อมของกระบวนการ หรือการทำงานในขณะนั้น ส่งไปยังเว็บไซต์ศูนย์กลางในกรณีต้องการใช้ข้อมูลทันทีทันใด

.

2. กรณีที่ผู้ควบคุมงานต้องทำงานอยู่ที่กระบวนการ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการ แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ณ จุดนั้น ก็สามารถเชื่อมดูจากมือถือผ่านทาง Tag ที่ติดบนป้ายชี้บ่งกระบวนการได้

.

3. ผู้ควบคุมงานจะสามารถดูรายละเอียดงาน เห็นภาพการทำงานหรือสภาพปัญหาได้ทุกกระบวนการ ทุกโรงงานสาขา ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สะดวกในการวิเคราะห์ปัญหาและประสิทธิผลของมาตรการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันอยู่คนละที่ ซึ่งหากสามารถทราบรายละเอียดการปรับเปลี่ยนค่ากำหนด (Parameter) ของกระบวนการและผลการปรับเปลี่ยนค่านั้น ๆ ในเวลาใกล้เคียงกัน แล้วจะทำให้สรุปผลได้ ในลักษณะนี้สามารถนำสำเนา Tag มาติดบนแผนที่กระบวนการ แล้วไล่ดูรายละเอียดทั้งหมด ได้จากทุกแห่งหน

.

4. สำหรับผู้ตรวจประเมินกระบวนการ ซึ่งเดินตรวจทุกกระบวนการ สามารถบันทึกผลการตรวจประเมินพร้อมภาพหรือวิดีโอ ผ่านทางมือถือที่แต่ละกระบวนการ แล้วสามารถรวบรวมสิ่งที่พบมาทำสรุปได้โดยภาพหรือวิดีโอของกระบวนการต่าง ๆ ไม่ปะปนกัน
ฯลฯ

.
ตัวอย่าง Application สำหรับโครงการ

1. ใช้ติดบนป้ายหน้าไซต์เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ (คล้ายป้ายในภาพ “ขายบ้าน”) แล้ว สามารถทำสิ่งต่อไปนี้
     - บันทึกรายละเอียดงาน รายละเอียดปัญหาของการทำงานในครั้งนั้น ๆ และแนบภาพถ่ายหรือวิดีโอการ สำรวจไซต์งาน หรือการทำงานในขณะนั้น ส่งไปยังเว็บไซต์ศูนย์กลาง
     - เชื่อม GPS บังคับแสดงจุดปฏิบัติงาน ทำให้ควบคุมได้ ว่ามีการไปทำงาน ณ จุดที่รายงานว่าไปปฏิบัติงานจริง ๆ (กรณีที่ใช้ Feature นี้ โทรศัพท์มือถือต้องมี GPS ในตัว)

.

.

2. ผู้ควบคุมงานที่บริษัทจะสามารถเห็นการทำงานและความคืบหน้าได้ทุกโครงการทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์
3. สามารถจัดให้ลูกค้าระดับผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่ เห็นความคืบหน้าของโครงการได้เช่นกัน โดยสามารถคัดกรองให้ดูเฉพาะบางส่วนได้ 
ฯลฯ    

.
ตัวอย่าง Application สำหรับงานการตลาดและการขาย

1. ใช้พิมพ์บนโปสเตอร์ ป้ายออกงานแสดงสินค้า โฆษณาในนิตยสารสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์บนนามบัตร ซึ่งเมื่อ บันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วจะสามารถเข้าเว็บไซต์บริษัทเพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทันที หรือ บันทึกภาพ Tag เก็บไว้ดูภายหลังก็ได้

.
.

2. ใช้พิมพ์บนเอกสารบริษัท ซึ่งเมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ แล้วจะสามารถทำสิ่งต่อไปนี้
     - หากพิมพ์บนแคตาลอก ผู้ดูสามารถเข้าเช็คสต็อกรายการที่ต้องการ และส่งใบแจ้งให้เสนอราคาทางเว็บบอร์ด ซึ่งหากผู้สนใจต้องการซื้ออย่างจริงจัง ก็สามารถเปิดให้ลงทะเบียน เพื่อส่งใบสั่งซื้อออนไลน์ 
     - หากพิมพ์บนใบเสนอราคา ผู้ซื้อสามารถเปิดใบสั่งซื้อออนไลน์ โดยใช้ Password ที่กำหนดให้ เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทลูกค้าที่ตกลงเปิดใบสั่งซื้อออนไลน์ (ซึ่งอาจตกลงยืนยันทางเอกสารอีกทีก็แล้วแต่จะกำหนด)
     ฯลฯ                      

.
ขั้นตอนการนำ Tag มาใช้งาน

ในสภาพความเป็นจริงของการใช้งาน ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศจะพบ Tag ตามผลิตภัณฑ์ สิ่งของ สิ่งพิมพ์ สถานที่ ฯลฯ ซึ่งผู้ใช้ก็จะต้องบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วโทรศัพท์มือถือก็จะเชื่อมไปสู่ข้อมูลสารสนเทศโดยทันทีตามที่กล่าวมาแล้ว ในหัวข้อขั้นตอนการนำ Tag มาใช้งานนี้จึงจะขออธิบายถึงการอ่าน Tag ก่อน ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ Tag ในฐานะผู้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสารสนเทศ หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ เจ้าของกระบวนการ ซึ่งเป็นผู้สร้าง Tag ไปติดไว้ตามที่ต่าง ๆ จะมีขั้นตอนอธิบายถึงการสร้าง Tag ในอันดับต่อไป

.
* การอ่าน Tag

ในการอ่าน Microsoft Tag ผู้ใช้จะต้องเริ่มต้นด้วยการ Download โปรแกรม Microsoft Tag Reader และติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือ โดยเปิด Web Browser ไปที่ http://gettag.mobi ระบบจะเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ 

.

จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถอ่าน Microsoft Tag ได้โดยการเปิดโปรแกรม Microsoft Tag Reader แล้วบันทึกภาพ Tag ด้วยโปรแกรมนี้ ค่าที่ Microsoft Tag Reader อ่านได้จาก Tag จะถูกส่งไปที่ Microsoft Data Center เพื่อค้นหาข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้แบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แล้วส่งกลับมาแสดงบนจอภาพมือถือ

.
* การสร้าง Tag

กรณีที่ผู้ใช้ต้องการสร้าง Microsoft Tag เอง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยบริการที่ Microsoft มีมาให้ เริ่มจากผู้ใช้ต้องมี Windows Live ID ซึ่งสามารถขอได้ฟรีจาก https://signup.live.com จากนั้นก็เปิด Web Browser ไปที่ http://tag.microsoft.com และ Login ด้วย Windows Live ID ในขั้นตอนนี้ผู้ใช้ก็จะเข้าสู่หน้าต่างสำหรับจัดการ Microsoft Tag ซึ่งผู้ใช้สามารถ สร้าง แก้ไข และลบ Tag ได้ นอกจากความสามารถพื้นฐานดังกล่าวแล้ว Microsoft ยังมีบริการจัดทำสถิติของการเรียกใช้งาน Tag นั้น ๆ ให้ด้วย โดยแสดงเป็น Report ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ

.

ภาพนี้คือ หน้าต่างแรกหลังจากที่ Login เข้ามา จะพบกับรายการของ Tag ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ได้สร้างไว้ จากหน้าต่างนี้ผู้ใช้สามารถเลือกที่จะ สร้าง แก้ไข และลบ Microsoft Tag ได้

.

.
กรณีเลือกสร้าง Tag ใหม่ จะมาที่หน้าต่างดังแสดงในภาพ สำหรับข้อมูลที่ต้องกรอกประกอบด้วย
Tag Title:   ตั้งชื่อ Tag โดยให้เกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศที่จะเข้าถึงหรืองานที่จะทำ
Tag Type: เลือกชนิดของ Tag ว่าเป็นประเภทใด ระหว่าง URL, Free Text, vCard และ Dialer
Tag Notes: กรอกคำอธิบายที่จะถูกเก็บไว้ที่โทรศัพท์มือถือหลังจากการเรียกใช้งานครั้งแรก
Start Date (GMT):  ระบุวันที่ซึ่งกำหนดให้ Tag เริ่มทำงาน
End Date (GMT):  ระบุวันที่ซึ่งกำหนดให้ Tag หมดอายุ ทำให้ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลจาก Tag นั้น ๆ อีกต่อไป
URL: กรณีที่ Tag Type เป็นแบบ URL ก็ให้กรอก URL (เช่น ลิงก์ของเว็บไซต์ ลิงก์ของไฟล์วิดีโอ ลิงก์ของไฟล์เพลง ฯลฯ)
.
บทบาทของ Microsoft Tag สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในอนาคต

ระบบการทำงานของ Microsoft Tag เป็นไปตามแนวโน้มโลกในการเข้าถึงข้อมูลทุกหนแห่ง หรือ UBICOMP (Ubiquitous Computing) ซึ่งมี Tag อิเล็กทรอนิกส์ (RFID, Microsoft Tag ฯลฯ) เป็นองค์ประกอบสำคัญ 

.

การใช้โทรศัพท์มือถือแทนเครื่องอ่านเฉพาะกิจราคาแพง จะทำให้ Microsoft Tag สามารถใช้แทน Tag อิเล็กทรอนิกส์อื่นในบางงานได้โดยมีต้นทุนต่ำกว่า

.

นอกจากนั้น การใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกับอินเตอร์เน็ตก็เป็นการรองรับวิถีชีวิตในอนาคต ปัจจุบันจะสังเกตได้ว่าผู้ใช้โทรศัพท์จะนิยมใช้โทรศัพท์มือถือ โดยบางครั้งจะใช้แทนโทรศัพท์พื้นฐานทั้ง ๆ ที่มีโทรศัพท์พื้นฐานอยู่ใกล้ ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะความสามารถในการเคลื่อนย้ายที่ได้ (Mobility) ซึ่งความต้องการเคลื่อนย้ายที่ได้ของมนุษย์เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว

.

ในขณะที่ปัจจุบันมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความสามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ของมนุษย์มากขึ้น หากระบบการทำงานสามารถเคลื่อนย้ายที่ตามผู้ปฏิบัติงานได้ ระบบนั้นก็จะเหมาะกับวิถีชีวิตในอนาคต ระบบงานที่ใช้ Microsoft Tag เพิ่มความสามารถเคลื่อนย้ายที่ในการทำงานจึงมีโอกาสจะได้รับความนิยมสูง

.

การประยุกต์ใช้ Microsoft Tag ในงานธุรกิจอุตสาหกรรม จึงควรเลือกประเภทงานที่จะได้รับประโยชน์จากต้นทุนต่ำและความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายที่ได้สูงของผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศ เป็นเงือนไขอันดับต้น

.

.

ผู้สนใจปรึกษาทางด้านรายละเอียดของ Microsoft Tag เทคโนโลยี และการใช้งานโดยรวม สามารถติดต่อ คุณพงศกร ภูแสนคำ: i-popoos@microsoft.com
     ผู้สนใจปรึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ Microsoft Tag ในธุรกิจอุตสาหกรรม สามารถติดต่อ คุณรัตนากรณ์ กรณ์ศิลป: rknksp@gmail.com
     ผู้สนใจขอรับบริการพัฒนางานต้นแบบใหม่ ๆ สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Microsoft Innovation Center ได้ที่
http://micthailand.net

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด