เนื้อหาวันที่ : 2009-06-22 19:15:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 18976 views

ซัพพลายเชนในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment)

ห่วงโซ่อุปทานเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆที่รวมถึงการก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการให้แก่ลูกค้าทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดในแต่ละจุดเชื่อมโยงทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดสำหรับความสามารถโดยรวม การไหลของข้อมูลในกระบวนการโซ่อุปทานจะมีความสัมพันธ์กันทั้งประบวนการทั้งในด้านของลูกค้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย การจัดจำหน่ายเมื่อลูกค้ามีความต้องการสินค้ามากขึ้นสินค้าจะถูกจัดจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสินค้าที่ลูกค้ามีความต้องการสูง การบริหารวัสดุหรือสินค้าคงคลังให้สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทัน โดยการการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลาจึงมีความสำคัญ

บูรณะศักดิ์ มาดหมาย 
Buranasak_madmaiy@yahoo.com

.

.

ห่วงโซ่อุปทานเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างองค์กร ทรัพยากร และกิจกรรมต่างๆที่รวมถึงการก่อให้เกิดคุณค่าในรูปของสินค้าสำเร็จรูปหรือบริการให้แก่ลูกค้าทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดในแต่ละจุดเชื่อมโยงทำให้คุณค่าเกิดมากที่สุดสำหรับความสามารถโดยรวม

.

การไหลของข้อมูลในกระบวนการโซ่อุปทานจะมีความสัมพันธ์กันทั้งประบวนการทั้งในด้านของลูกค้า  ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย เริ่มตั้งแต่การแสดงความต้องการของลูกค้าในการซื้อสินค้าจากผู้ผลิตจะเกิดกระบวนการเชื่อมโยงภายในตั้งแต่การจัดจำหน่ายเมื่อลูกค้ามีความต้องการสินค้ามากขึ้นสินค้าก็จะถูกจัดจำหน่ายหมดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสินค้าที่ลูกค้ามีความต้องการสูง

.

อาจเป็นทั้งการสร้างการส่งเสริมการขายของผู้จัดจำหน่ายเองหรือการบริการ ฯลฯ ข้อมูลก็จะถูกส่งไปยังผู้ผลิตสินค้าเพื่อให้เร่งผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของลูกค้า ข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรมดังกล่าวจะถูกส่งไปยังผู้ผลิตหรือจัดจำหน่ายวัตถุดิบเพื่อสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบเพื่อมาใช้ในการผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ เป็นการไหลของข้อมูลจากลูกค้าไปจนถึง ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า/วัตถุดิบ

.

เมื่อข้อมูลต่างๆไหลมาจนถึง Suppliers แล้วก็จะสนองความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตโดยการส่งมอบสินค้า/วัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าตามความต้องการ เพื่อจะถูกส่งไปยังในช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคตามที่ต้องการได้

.

ฉะนั้น เพื่อการบริหารวัสดุหรือสินค้าคงคลังให้สามารถสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทัน โดยการการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) กับ demand ที่เกิดขึ้นของผู้บริโภคในกระบวนการโซ่อุปทาน การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) จึงมีส่วนสำคัญเพื่อที่จะให้มีการ เติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) ให้ทันกับการสั่งซื้อของลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการ

.

เนื่องจากความต้องการของลูกค้ามีไม่จำกัด และผู้ผลิตเองก็ไม่สามารถประมาณการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพราะความต้องการของลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อลูกค้าแต่ละคนและสามารถลที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

.

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในด้านความต้องการของลูกค้าแล้ว การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้เช่นกัน ซึ่งอาจแบ่งกลุ่มของปัจจัยต่างๆ ได้เป็นการเติมเต็มสินค้าคงคลังให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment)     คือระบบการเติมเต็มสินค้าจาก Reserve Location ไปยัง Selective Location ซึ่งเวลาในการเติมเต็มสินค้าจะต้องสอดคล้องกับเวลาของการจัดสินค้า

.

การกำหนดจำนวนที่ต้องเติม เวลาในการเติมสินค้าให้เหมาะสมเพื่อมิให้เกิดปัญหาตามมาย่างคาดไม่ถึงและอาจทำให้คลังสินค้าไมสามารถจ่ายสินค่าได้เลย ถ้านักบริหารสินค้าคงคลังขาดการประเมินในสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งข้อมูลการเติมสินค้าอาจมีหลายด้านด้วยกัน เช่นประเภทการเติม จำนวนครั้งที่เติมต่อวัน ประเภทสินค้า เวลาในการเติม จำนวนสินค้าที่ต่ำที่สุดที่ Selective Location ที่ต้องเติม                       

.

.
การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อการ Replenishment   

เมื่อ การเติมเต็มสินค้าคงคลังให้เพียงพอตลอดเวลา (Replenishment) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินค้าคงหลัง นั้นคือ ความพยายามที่จะสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้ทันกับเวลาที่ต้องการ และบริหารสินค้าคงเหลือง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยแก้ปัญหาสินค้าค้างสต็อกและปัญหาเรื่องสินค้าอื่นๆ อีกด้วย การบริหารสินค้าคงคลัง จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain )  

.

บทบาทของสินค้าคงคลังในซัพพลายเชน  สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำสุด โดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ โดยปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนและวัสดุต่างๆ ที่เรียกรวมกันว่าสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิดนอกจากนั้นการที่สินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันเวลา

.

จึงเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น

.

การจัดซื้อสินค้าคงคลังมาในคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการโดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดการสินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ   

.

1.สามารถมีสินค้าคงคลังบริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอ และทันต่อการความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้
2.สามารถลดระดับการลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงด้วย

.

แต่วัตถุประสงค์สองข้อนี้จะขัดแย้งกันเอง เพราะการลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำที่สุดมักจะต้องใช้วิธีลดระดับสินค้าคงคลังให้เหลือแค่เพียงพอใช้ป้อนกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้โดยไม่หยุดชะงัก แต่ระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำเกินไปก็ทำให้บริการลูกค้าไม่เพียงพอหรือไม่ทันใจลูกค้าในทางตรงกันข้ามการถือสินค้าคงคลังไว้มากเพื่อผลิตหรือส่งให้ลูกค้าได้เพียงพอและทันเวลาเสมอทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังสูงขึ้น

.

ดังนั้นการบริหารสินค้าคงคลังโดยรักษาความสมดุลของวัตถุประสงค์ทั้งสองข้อนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย และเนื่องจากการบริหารการผลิตในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลักสำคัญ ซึ่งการบริการลูกค้าที่ดีก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดี ซึ่งทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุดด้วยจึงดูเหมือนว่าการมีสินค้าคงคลังในระดับสูงจะเป็นประโยชน์กับกิจการในระยะยาวมากกว่า

.

เพราะจะรักษาลูกค้าและส่วนแบ่งตลาดได้ดี  แต่อันที่จริงแล้วต้นทุนสินค้าคงคลังที่สูง ซึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงด้วยมีผลด้วยมีผลให้ไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งในด้านราคาได้  จึงต้องทำให้ต้นทุนต่ำ คุณภาพดี และบริการที่ดีด้วยในขณะเดียวกัน

.

สินค้าคงคลัง (Inventory) เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจ โดยนับเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิด นอกจากนั้นการมีสินค้าคงคลังที่เพียงพอยังเป็นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ทันเวลา จึงเห็นได้ว่าสินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น

.

การจัดซื้อสินค้าคงคลังมาในคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการ โดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องตามหลักการการจัดซื้อที่ดีที่สุด (Best Buy) เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง โดยรูปแบบของสินค้าคงคลัง (Forms of Inventories)

.

- วัตถุดิบ (Raw Material) คือสิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาใช้ในการผลิต
- งานระหว่างทำ (Work-in-Process) คือชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตในขั้นตอนต่อไป โดยที่ยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบทุกขั้นตอน

.

- วัสดุซ่อมบำรุง (Maintenance/Repair/Operating Supplies) คือชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักรที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิมเสียหรือหมดอายุการใช้งาน
- สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) คือปัจจัยการผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการผลิตครบถ้วนพร้อมที่จะนำไปขายให้ลูกค้าได้

.

.

ในรูปแบบของสินค้าคงคลัง (Forms of Inventories) ข้างต้นเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วจะสามารถจัดการกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันเวลา เนื่องจากการจัดคลังสินค้าจะทำให้

- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลา ทั้งในและนอกฤดูกาล โดยธุรกิจต้องเก็บสินค้าคงคลังไว้ในคลังสินค้า
- รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ฯลฯ ให้สม่ำเสมอได้ โดยจะเก็บสินค้าที่ขายไม่หมดในช่วงขายไม่ดีไว้ขายตอนช่วงขายดีซึ่งช่วงนั้นอาจจะผลิตไม่ทันขาย
- ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อครั้งละมากๆ

.

- ป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคา และผลกระทบจากเงินเฟ้อเมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น
- ป้องกันของขาดมือด้วยสินค้าเผื่อขาดมือ (Safety Stock) เมื่อเวลารอคอยล่าช้าหรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกะทันหัน
- ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงักเพราะของขาดมือจนเกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้คนง่านว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด ผลิตไม่ทันคำสั่งของลูกค้า                 

.
ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง
1. ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System หรือ Perpetual System)

เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของ ทำให้บัญชีคุมยอดแสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของสินค้าคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมสินค้าคงคลังรายการที่สำคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้ แต่ระบบนี้เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายด้านงานเอกสารค่อนข้างสูง และต้องใช้พนักงานจำนวนมากจึงดูแลการรับจ่ายได้ทั่วถึง ในปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในข้อนี้ โดยการใช้รหัสแท่ง (Bar Code)        

.
2. ระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)

เป็นระบบสินค้าคงคลังที่มีวิธีการลงบัญชีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ตรวจนับและลงบัญชีทุกปลายสัปดาห์หรือปลายเดือน เมื่อของถูกเบิกไปก็จะมีการสั่งซื้อเข้ามาเติมให้เต็มระดับที่ตั้งไว้ ระบบนี้จะเหมาะสมกับสินค้าที่มีการสั่งซื้อ และเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ร้านขายหนังสือของมหาวิทยาลัยจะ           

.

มีการสำรวจยอดหนังสือเมื่อเปิดเทอมแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อดูว่าหนังสือในร้านและโกดังเหลือเท่าใดยอดหนังสือที่ต้องเตรียมสำหรับเทอมหน้าจะเท่ากับยอดคงเหลือบวกกับจำนวนนักศึกษาที่ต้องลงทะเบียนเรียนโดยประมาณ เป็นต้นการเลือกใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบต่อเนื่องและระบบสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นงวด

.

.
3. ระบบการจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดเอบีซี (ABC)

ระบบนี้เป็นวิธีการจำแนกสินค้าคงคลังออกเป็นประเภทโดยพิจารณาปริมาณและมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์ เพื่อลดภาระในการดูแล ตรวจนับ และควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่มากมายซึ่งถ้าควบคุมทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกัน จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น เพราะในบรรดาสินค้าคงคลังทั้งหลายของแต่ละธุรกิจมักเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

.
A  เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณน้อย (5-15% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง (70-80% ของมูลค่าทั้งหมด)
B  เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณปานกลาง (30% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) และมีมูลค่ารวมปานกลาง (15% ของมูลค่าทั้งหมด)
C  เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณมาก (50-60% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ (5-10% ของมูลค่าทั้งหมด) 
.

.

ตัวอย่าง ฝ่ายซ่อมบำรุงในโรงงานเอสเอสไอ รับผิดชอบในการสำรองอะไหล่ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรซึ่งได้เก็บประวัติการใช้งานที่ผ่านมา มีหมายเลขชิ้นส่วน ราคาต่อหน่วย และการใช้งาน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ 

.

.
ซึ่งสามารถหาชั้นของอะไหล่โดยคูณระหว่างต้นทุนต่อหน่วยกับอุปสงค์ต่อปี และจัดชั้นได้ดังนี้

.

.
การจำแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดABC จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังแตกต่างกันดังต่อไปนี้

A ควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่าย และมีการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชีอยู่บ่อยๆ (เช่น ทุกสัปดาห์) การควบคุมจึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บของไว้ในที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนสินค้าและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้

.

B ควบคุมอย่างเข้มงวดปานกลาง ด้วยการลงบัญชีคุมยอดบันทึกเสมอเช่นเดียวกับ A ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับ A แต่ความถี่น้อยกว่า (เช่น ทุกสิ้นเดือน) และการควบคุม B จึงควรใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A

.

C ไม่มีการจดบันทึกหรือมีก็เพียงเล็กน้อย สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบใช้ได้ตามสะดวกเนื่องจากเป็นของราคาถูกและปริมาณมาก ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวด จะทำให้มีค่าใช้จายมากซึ่งไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้ป้องกันไม่ให้สูญหาย การตรวจนับ C จะใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวดคือเว้นสักระยะจะมาตรวจนับดูว่าพร่องไปเท่าใดแล้วก็ซื้อมาเติม หรืออาจใช้ระบบสองกล่อง ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้ของในกล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อของเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจะทำให้ไม่มีการขาดมือเกิดขึ้น

.

ข้อมูลอ้างอิง

• http://e-learning.mfu.ac.th
• http://www.phrae.mju.ac.th
• http://www.sirikitdam.egat.com
• http://www.pwstation.com
• http://www.nppointasia.com
• http://classroom.hu.ac.th
• เอกสารการออกแบบระบบบริหารคลังสินค้า,สมาคมสมองกลฝังตัวไทย สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ บริษัท Identify จำกัด
• เอกสารประกอบการสัมมนา สัมมนาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ,มานิตา  ศฤงคารินทร์,มกราคม  พ.ศ.  2549

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด