เนื้อหาวันที่ : 2009-03-27 11:21:25 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 18692 views

ห่วงโซ่อุปทาน ในกระบวนการบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ (Order Management)

การบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือ Order Management ในการทำงานที่มีลักษณะเป็น Multi-Tiered Value Chain คือการทำงานร่วมกันระหว่างเรากับ Suppliers หรือ Subcontractors จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันทั้งในด้านข้อมูลและการจัดการคำสั่งซื้อนั้น ๆ เป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการจัดการคำสั่งซื้อสามารถตอบวันที่ส่งสินค้าได้ทันที และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ขายว่าไม่มีการตอบรับคำสั่งซื้อเกินกำลังความสามารถในการผลิตและสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามที่กำหนดโดยเมื่อมีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า

บทบาทของ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ในกระบวนการการดำเนินองค์กรธุรกิจอธิบายผ่านกระบวนการทำงานขององค์กรในแง่ของฟังก์ชั่นการทำงาน ในตอนต่อไปนี้เป็นเรื่อง การสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือ Order Management ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางและความสะดวกในการซื้อของลูกค้าได้ ในห่วงโซ่อุปทาน

การบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ (Order Management)

การบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ หรือ Order Management ในการทำงานที่มีลักษณะเป็น Multi-Tiered Value Chain คือการทำงานร่วมกันระหว่างเรากับ Suppliers หรือ Subcontractors จำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันทั้งในด้านข้อมูลและการจัดการคำสั่งซื้อนั้น ๆ เป้าหมายเพื่อลดระยะเวลาการจัดการคำสั่งซื้อ (Inbound Order), สามารถตอบวันที่ส่งสินค้าได้ทันที และสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ขายว่าไม่มีการตอบรับคำสั่งซื้อเกินกำลังความสามารถในการผลิตและสามารถส่งมอบสินค้าได้ตามที่กำหนดโดยเมื่อมีการรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า

 

 ระบบ Order Management จะต้องทำการประมวลผลและส่งข้อมูลแบบ Real Time เปิดใบสั่งซื้อหรือขอซื้อไปให้ Suppliers และ Subcontractors ระบบจะใช้ข้อมูลพื้นฐานของสูตรการผลิต เงื่อนไขและนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนนั้น ๆ รวมถึง Inventory Policy มาคำนวณในการสั่งซื้อแบบ Real Time โดยข้อมูลนี้จะทำการเชื่อมต่อกับข้อมูลของ Suppliers และ Subcontractors เพื่อคำนวณความสามารถในการผลิตและวันที่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า 

เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบทั่วไปของการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการของลูกค้า โดยปกติจะผ่านมายังด่านแรกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายซึ่งจะสามารถบอกระดับราคาได้ ณ ระดับหนึ่ง ซึ่งจะต้องส่งเรื่องให้ในการอนุมัติการเงินและอนุมัติด้านราคาที่ซื้อ จากผู้จัดการฝ่ายตารางซึ่งมีสถานการณ์ด้านการชำระเงินหรือราคาซื้อสินค้าต่างกันไป SCM ในกระบวนการสั่งซื้อสินค้าและบริการ (Order Management)

 

ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางและความสะดวกในการซื้อของลูกค้าได้ ในห่วงโซอุปทานจึงเป็นระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ Suppliers, Manufacturers, Distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

วัตถุประสงค์ของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน เพื่อทำให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ ซึ่งทำให้ Supplier สามารถจัดส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดเวลาโดยไม่มีการติดขัด อย่างไรก็ตามความลังเลต่อการสั่งสินค้าโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้ารวมไปถึงสาเหตุอันเนื่องจากสินค้าหมด Stock ซึ่งสร้างความเสียหายและทำลาย Supply Chain นั้น ๆ ได้ 

 

โดยสาเหตุนั้นมีหลายประการและบ่อยครั้งก็มักจะเป็นสาเหตุประกอบร่วมกันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Bullwhip Effect ผลกระทบในด้านลบที่มีต่อการดำเนินงานของธุรกิจหลายครั้งจะพบในรูปของรายการสินค้าที่มีมากเกินไป ปัญหาเรื่องคุณภาพ ต้นทุนค่าวัตถุดิบที่สูงขึ้น ค่าล่วงเวลา และต้นทุนการขนส่งสินค้าในช่วงก่อนที่จะนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมาใช้งาน การประสานงานของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานไม่สามารถทำให้สำเร็จหรือทำให้การหมุนเวียนข้อมูลระหว่างระบบงานฝ่ายต่าง ๆ ราบรื่นได้

 

ระบบงานองค์กรสามารถสนับสนุนการบูรณาการบางส่วนเพื่อการประมวลผลภายในองค์กรได้ แต่การกระทำดังกล่าวนั้นทำให้สำเร็จยากยิ่งและมีค่าใช้จ่ายสูง องค์กรสามารถใช้ระบบอินทราเน็ต ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างส่วนสนับสนุนกระบวนการห่วงโซ่อุปทานให้สูงขึ้นและสามารถใช้ระบบ Extranet ในการประสานงานกับบริษัทผู้สนับสนุนวัตถุดิบ และบริษัทคู้ค้าได้ใช้ส่วนติดต่อแบบเว็บในการเข้าไปดูระบบของบริษัทผู้สนับสนุนวัตถุดิบเพื่อดูความสามารถของคลังสินค้าและกระบวนการผลิตของบริษัทฯ บริษัทคู่ค้าสามารถใช้เครื่องมือโปรแกรมเว็บ

 

สำหรับการบริหารห่วงโซ่อุปทานสำหรับความร่วมมือแบบออนไลน์พนักงานสามารถเข้าไปดูข้อมูลตารางการผลิตและนำส่งสินค้าเพื่อตรวจดูความก้าวหน้าของสินค้าที่ถูกสั่งซื้อ ทำให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าได้เที่ยงตรงมากขึ้น ค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำมากนี้ได้กระตุ้นให้องค์กรมีการใช้ข้อมูลร่วมกับระบบของบริษัทผู้สนับสนุนวัตถุดิบและบริษัทคู่ค้ามากยิ่งขึ้น

ซึ่งจากรากฐานของ SCM ของกระบวนการบริหารการสั่งซื้อ (Order Management) มีการเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ Suppliers, Manufacturers, Distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า จึงเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงในระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ประกอบด้วย ดังต่อไปนี้

 
ระบบจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management System: OMS) 

จัดกลุ่มคำสั่งซื้อตามลูกค้า และลำดับความสำคัญ แจกจ่ายสต็อกสินค้าตามแหล่งคลังสินค้า และสร้างวันกำหนดส่งตามสัญญา โดยปกติ OMS มักจะอยู่ภายใต้ระบบ ERP

 
ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System: TMS) 

รับคำสั่งซื้อจาก OMS ยืนยันวันกำหนดส่ง กำหนดตัวผู้ขนส่ง และสร้างตารางเวลาการรับสินค้าและจัดส่ง ก่อนที่จะส่งคำสั่งซื้อไปที่ระบบจัดการคลังสินค้า เมื่อคำสั่งซื้อถูกส่งต่อไปแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือ การเตรียมความพร้อมสำหรับบรรจุหีบห่อ และจัดส่ง ระบบ TMS จะติดตามการจัดส่ง การชำระค่าเดินทาง และประสิทธิภาพของผู้ส่ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะส่งทางรถบรรทุก เครื่องบิน หรือเรือก็ตาม ระบบ TMS จะสร้างเอกสารที่ประกบติดไปกับสินค้าจนถึงปลายทาง

 
ระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System: WMS) 

เพื่อรับสินค้าและบรรจุหีบห่อจริง ระบบ WMS ยังได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งขาเข้าจาก TMS และสร้างการไหลเพื่อรับ และผลักดันสต็อกสินค้าใหม่ออกไป 

 

เราจะเห็นการอินทิเกรตกันระหว่าง OMS, TMS และ WMS เพื่อแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ โดยเฉพาะในยุคของอีคอมเมิร์ซ ทำให้เกิดโซลูชันที่เชื่อมโยงหน้าร้านบนเว็บ เข้ากับระบบจัดการคำสั่งซื้อแบบเรียลไทม์ที่อินทิเกรตกับ TMS และ WMS ระบบยุคใหม่นี้ยังเชื่อมโยงกับผู้ให้บริการจัดส่งรายย่อย (3PL) เพื่อให้ขีดความสามารถในการเข้าถึงสต็อกสินค้า สถานะสั่งซื้อ และข้อมูลการจัดส่งในยุคอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแบบเรียลไทม์ และมีความถูกต้อง ส่วนลูกค้าที่เป็นผู้สั่งซื้อ ก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตามสัญญาเกี่ยวกับสต็อกสินค้าที่เขาต้องการสั่ง และวันที่จะได้รับสินค้านั้น 

 

ด้วยขีดความสามารถในการมองเห็นได้ถึงกันหมดในระบบหลักทั้งหมดในซัพพลายเชน ทำให้ธุรกิจไม่เพียงแต่รู้ว่ามีอะไรอยู่ในชั้นวางของในคลังสินค้าเท่านั้น แต่ยังรู้ว่ามีอะไรอยู่ที่ชั้นวางของของซัพพลายเออร์ของพวกเขาบ้าง รวมทั้งมีอะไรกำลังอยู่ในระหว่างเส้นทางไปสู่ลูกค้าด้วย 

 

 

ในโมเดลการผลิตแบบเก่า โรงงานเป็นเกาะอัตโนมัติ คำสั่งซื้อเข้าสู่โรงงานในด้านหนึ่ง และสินค้าสำเร็จออกไปอีกด้านหนึ่ง แต่ในระหว่างทางเข้ากับทางออกนั้น กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในโรงงานเป็นสิ่งที่ซัพพลายเออร์ ลูกค้า และแม้แต่ส่วนอื่นขององค์กรไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากว่าโรงงานเลือกที่จะแชร์ข้อมูลให้คนอื่น ๆ เห็นได้

 

 

อุตสาหกรรมยุคใหม่ตามหลักของ SCM จะมีการอินทิเกรตกันในส่วนต่าง ๆ ของซัพพลายเชน คำสั่งซื้อยังคงเข้ามาทางหนึ่ง และสินค้าสำเร็จก็จะออกไปอีกด้าน แต่ในตอนนี้พันธมิตรทางการค้าจะมองเห็นกิจกรรมภายในได้แบบเรียลไทม์

 

ปัจจุบันจึงมีความนิยมอย่างยิ่งที่ใช้เว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลและการซื้อขายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้มีหลายประเภท เช่น เทคโนโลยีที่น่าสนใจในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่การสื่อสารข้อมูลในรูปแบบมาตรฐานหรือรูปแบบที่ผู้รับอนุญาตเพื่อที่จะสามารถนำไปดำเนินรายการทางด้านธุรกิจตามมาตรฐาน ระหว่างบริษัทหรือระหว่างชุดโปรแกรมกับชุดโปรแกรมของบริษัทได้ 

 

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรต่าง ๆ และดำเนินตามมาตรฐานและขบวนการซึ่งอนุญาตให้ผลลัพธ์จากระบบหนึ่ง ถูกประมวลผลโดยตรงเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าไปยังระบบอื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องให้มนุษย์เป็นผู้ดำเนินการระหว่างขบวนการเหล่านี้เลย

ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ของลูกค้า, ผู้ผลิต และแหล่งผลิต สามารถถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถลดจำนวนการใช้เอกสารที่เป็นกระดาษและลดค่าใช้จ่าย เรื่องค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานผิดพลาดลงได้ การสั่งซื้อหรือคำร้องขอของลูกค้าจะถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของลูกค้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตและเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตเมื่อได้รับคำสั่งซื้อนั้น สามารถพิจารณาได้ว่ามีสินค้าพอหรือไม่  

 

ถ้าต้องผลิตเพิ่มจะทำการส่งคำสั่งซื้อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของแหล่งผลิตอย่างอัตโนมัติเช่นการบริการซั่งซื้อเกี่ยวกับรถยนต์ ได้แก่ ยางรถยนต์สำหรับ รถยนต์นั่ง รถบรรทุก รถบรรทุกเล็ก รถโดยสาร และรถขับเคลื่อน 4 ล้อ เป็นต้น ข่าวประกาศต่าง ๆ ของบริษัทและสามารถติดต่อกับบริษัทได้โดยผ่านทางระบบ E-mail นอกจากผู้ใช้สามารถเข้ามาทำการสมัครเป็นสมาชิกหรือเป็นลูกค้าของบริษัทได้ หากต้องการที่จะทำการซื้อผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ 

 

ส่วนบริษัทที่เป็นลูกค้านั้น ทางบริษัทสามารถทราบถึงรายการวัตถุดิบทั้งหมดของบริษัทคู่ค้าที่มีอยู่ และกำลังการผลิตชิ้นวัตถุดิบต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้บริษัทคู่ค้าสามารถตอบสนองความต้องการวัตถุดิบของทางบริษัทได้อย่างอัตโนมัติเมื่อระดับสินค้าต่ำกว่า Safety Stock โดยใช้เทคโนโลยี Web Services เข้ามาช่วยในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

 

โดยระบบการทำงานนี้ มีส่วนช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่าง ลูกค้า คู่ค้า และบริษัทเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสาร

 

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) จึงเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ในการดำเนินรายการ (Transaction) ทางด้านธุรกิจผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เช่น ระหว่างบริษัท (ธุรกิจกับธุรกิจ) ระหว่างบริษัทกับลูกค้า (ธุรกิจกับผู้บริโภค) ระหว่างธุรกิจกับส่วนงานสาธารณะหรือระหว่างลูกค้ากับส่วนสาธารณะ คนโดยทั่วไปมักคิดว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึงการที่ ผู้บริโภคเข้าไปยังเว็บไซต์ใด ๆ เพื่อทำการซื้อสินค้าแบบออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้วการซื้อขายสินค้าผ่านเว็บไซต์เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ

 

ส่วนหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถช่วยให้การ ดำเนินงานในการซื้อ-ขายของบริษัทใหญ่ ๆ ทำได้ง่ายขึ้นหรือแม้กระทั่งกับบริษัทเล็ก ๆ เองก็มีโอกาสที่จะขายสินค้าในราคาต่ำ ในกลุ่มตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค ได้แก่การซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องเบียดเสียดกับฝูงคนมากมายในห้างสรรพสินค้า, สามารถชื้อสินค้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการเมื่ออยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน และได้รับสินค้าโดยตรงถึงบ้านไม่ต้องขนส่งเอง

 

การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในการสั่งซื้อสินค้า

 

จากตัวอย่าง การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในขบวนการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่จากบริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งในการสั่งซื้อโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มตั้งแต่พนักงานเขียนคำร้องขอเพื่อสั่งซื้อสินค้าและนำไปผ่านการขออนุมัติการสั่งซื้อ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้วจึงนำใบร้องขอนั้นไปทำเป็นแบบสั่งซื้ออย่างเป็นทางการและส่งไปยังผู้ขายสินค้าที่ต้องการ

 

ขบวนการเหล่านี้สามารถสำเร็จได้โดยง่ายเมื่อใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยพนักงานสามารถไปยังเว็บไซต์ของผู้ขายเฟอร์นิเจอร์ และเลือกสินค้าที่ต้องการจากรายการสินค้าในเว็บไซต์นั้น ๆ และทำการสั่งซื้อสินค้าตามราคาที่ตกลงไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ถ้าการสั่งซื้อต้องผ่านการอนุมัติก่อน ผู้อนุมัติจะได้รับการแจ้งให้ทราบถึงการสั่งซื้อนี้

 

จากความสะดวกสบายต่าง ๆ ทั้งในด้านของผู้ดำเนินธุรกิจและในด้านของผู้บริโภค ในปัจจุบัน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้ปัจจุบัน ลูกค้ามีทางเลือกใหม่ด้วยการสั่งซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นยังสามารถค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการได้ผ่านระบบด้วยความรวดเร็ว พร้อมกับติดตามสถานะของคำสั่งซื้อได้ ทั้งหมดนี้ย่อมสร้างโอกาสในการขายสินค้าและบริการมากขึ้น ฝ่ายลูกค้าเองก็มีต้นทุนในการสั่งซื้อที่ถูกแต่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 
ERP ของระบบจัดการคำสั่งซื้อ 

จัดกลุ่มคำสั่งซื้อตามลูกค้า และลำดับความสำคัญ แจกจ่ายสต็อกสินค้าตามแหล่งคลังสินค้า และสร้างวันกำหนดส่งตามสัญญา โดยปกติ ระบบจัดการคำสั่งซื้อ หรือ Order Management System: OMS มักจะอยู่ภายใต้ระบบ ERP 

 

ERP (Enterprise Resource Planning) คือ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

องค์กรธุรกิจประกอบกิจกรรมธุรกิจในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม สร้างมูลค่า ของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบ “มูลค่า” นั้นให้แก่ลูกค้า โดยกระบวนการสร้างมูลค่าจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อย ๆ ดังนั้นกิจกรรมที่สร้างมูลค่านั้น ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของแผนกต่าง ๆ ในองค์กร การเชื่อมโยงของบริษัทเพื่อให้เกิดมูลค่านี้ เรียกว่า ห่วงโซ่ของมูลค่า (Value Chain)

ลักษณะสำคัญของระบบ ERP
การบูรณาการระบบงานต่าง ๆ ของระบบ ERP  

จุดเด่นของ ERP คือ การบูรณาการระบบงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบสินค้า (Material Flow) และการไหลของข้อมูล (Information Flow) ERP ทำหน้าที่เป็นระบบการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่าง ๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

 

การรวมระบบงานต่าง ๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง (Real Time) อย่างทันที เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน

 

การรวมระบบงานของ ERP แบบ Real Time

 
ระบบ ERP มีฐานข้อมูล (Database) แบบสมุดลงบัญชี

การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียวแบบ Real Time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี Database แบบสมุดลงบัญชี ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

 

ทุกวันนี้ SCM ประกอบด้วย ระบบข้อมูลพื้นฐานห้าอย่าง ในระดับองค์กรจะมี ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นศูนย์กลางเส้นประสาทขององค์กร ที่ให้ฟังก์ชันการทำงานหลักที่ต้องการในการทำธุรกิจ อย่างเช่น การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า SCP (Supply Chain Planning) เป็นอีกฟังก์ชันที่ทำงานใน ระดับองค์กรซึ่งการวางแผนมักจะแบ่งเป็นสามระดับ คือ 

  • การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ช่วยประเมินว่าธุรกิจใดที่คุณควรเข้าไป คุณควรวางตำแหน่งโรงงานใหม่ หรือศูนย์กระจายสินค้าไว้ที่ใด โดยการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะทำเป็นรอบไตรมาส หรือรายปี
  • การวางแผนเชิงเทคนิค ทดสอบสิ่งที่คุณต้องทำในสัปดาห์หน้าหรือเดือนหน้า เพื่อปรับการทำงาน อุปกรณ์ และทรัพยากร ให้ดีที่สุด
  • การวางแผนเชิงปฏิบัติการ เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ต้องทำในวันรุ่งขึ้น กะต่อไป หรือแม้แต่ชั่วโมงต่อไป

ERP สามารถรวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า ตั้งแต่การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวแทนขายจนกระทั่งถึงขั้นตอนของการส่งสินค้าและเก็บเงิน โดยจะทำให้บริษัทดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายรวมถึงการสื่อสารกันระหว่างภายในได้ง่ายขึ้น และยังสามารถตรวจสอบสถานการณ์ดำเนินงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนการตั้งแต่ การผลิตการเก็บรักษาสินค้า จนถึงการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าไปยังที่หมายปลายทางที่ต่างกันในเวลาเดียวกันได้ 

ERP สามารถสร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการผลิต ซึ่งบริษัทผู้ผลิตที่ใช้ระบบต่าง ๆ กันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกันได้ โดยที่ ERP ได้เข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานดังกล่าวในกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดียว ทำให้ประหยัดเวลา เพิ่มผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุนต่อหน่วยได้เป็นอย่างดี 

ERP สามารถลดภาระด้านสินค้าคงคลัง ERP จะช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นและยังเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยยอดการสั่งซื้อที่เป็นจริง ทำให้ช่วยลดสินค้าคงคลังได้ และยังช่วยในการวางแผนในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าซึ่งจะช่วยลดสินค้าขั้นสุดท้ายในระบบคงคลังของการขนส่งได้เป็นอย่างดี

SCM จะช่วยในจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการบริหารการสั่งซื้อสินค้าและบริการ (Order Management) ที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ตลอดเวลาผ่านระบบเครือข่าย นอกจากนั้นยังสามารถค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการได้ผ่านระบบด้วยความรวดเร็ว พร้อมกับติดตามสถานะของคำสั่งซื้อได้ ทั้งหมดนี้ย่อมสร้างโอกาสในการขายสินค้าและบริการมากขึ้น ฝ่ายลูกค้าเองก็มีต้นทุนในการสั่งซื้อที่ถูกแต่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้นของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและได้เปรียบคู่แข่ง

ข้อมูลอ้าอิง
  • ประมวลสาระชุดวิชา 32706 การวิเคราะห์ วางแผนและควบคุมทางการตลาด (Marketing Analysis   Planning and Control) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชา วิทยาการจัดการ  พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2550
  • แผนกิจกรรมการศึกษาชุดวิชา 32706 การวิเคราะห์ วางแผนและควบคุมทางการตลาด (Marketing   Analysis Planning and Control) ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2550 หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศิริพร วิษณุมหิมาชัย,การสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าด้วยคุณภาพและคุณค่าในงานบริการ
  • วรโชค ไชยวงศ์, Learn&6 Sigma for Service, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • http://classroom.hu.ac.th
  • Strategy for corporate innovation,Book Fair 2005
  • http://classroom.hu.ac.th/courseware/Marketing/index26.html
  • http://www.hrtothai.com/index.php?Itemid=168&id=1118&option=com_content&task=view

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด