เนื้อหาวันที่ : 2008-10-31 15:46:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 25158 views

เมื่อเพลาหมุนเกิดการเยื้องศูนย์

แกนหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งต่อเข้ากับเพลาของเครื่องจักรกลหมุนจะต้องเชื่อมต่อกันเป็นแนวตรง และได้ระดับต่อกัน เรียกว่า "Alignment" การเชื่อมต่อกันของเพลาทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวหากทำได้ไม่ดีพอก็จะเกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และยังส่งผลต่ออายุการใช้งานสั้นลงด้วย ทั้งนี้หากแกนหมุนของมอเตอร์กับเพลาขับของเครื่องจักรกลหมุนเกิดการเยื้องศูนย์ หรือเรียกว่า “Misalignment” เราจะสังเกตเห็นการสั่นสะเทือนผิดปกติ ได้ยินเสียงดังผิดปกติ และสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติบริเวณชิ้นส่วนกลไกที่มีการเคลื่อนที่ หรือหมุน

แกนหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งต่อเข้ากับเพลาของเครื่องจักรกลหมุนจะต้องเชื่อมต่อกันเป็นแนวตรง และได้ระดับต่อกัน เรียกว่า “Alignment” การเชื่อมต่อกันของเพลาทั้ง 2 ส่วนดังกล่าวหากทำได้ไม่ดีพอก็จะเกิดผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และยังส่งผลต่ออายุการใช้งานสั้นลงด้วย ทั้งนี้หากแกนหมุนของมอเตอร์กับเพลาขับของเครื่องจักรกลหมุนเกิดการเยื้องศูนย์ หรือเรียกว่า Misalignment เราจะสังเกตเห็นการสั่นสะเทือนผิดปกติ ได้ยินเสียงดังผิดปกติ และสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่ร้อนผิดปกติบริเวณชิ้นส่วนกลไกที่มีการเคลื่อนที่ หรือหมุน อย่างเช่น ตลับลูกปืนมอเตอร์ เพลาขับของปั๊มน้ำ หรือตลับลูกปืนของเครื่องจักรหมุน ฯลฯ ทั้งนี้การสั่นสะเทือนผิดปกติในเวลาเพียงไม่นานก็อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบได้

.

การเยื้องศูนย์ (Misalignment)

การเยื้องศูนย์ เกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนกลไกได้อย่างไม่เที่ยงตรง เช่น ชิ้นส่วนมอเตอร์ ที่ต่อเข้ากับปั๊มน้ำ เป็นต้น ทำให้เกิดการเลื่อนตำแหน่งหลังจากประกอบเสร็จ ส่งผลให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้รูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างแกนหมุน กับเพลาซึ่งไม่ได้แนวนั้นแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

  • การเยื้องศูนย์เชิงมุม (Angular Misalignment)
  • การเยื้องศูนย์แนวขนาน  (Parallel Alignment)

การเยื้องศูนย์เชิงมุม เป็นลักษณะการเชื่อมต่อระหว่างแกนหมุนของมอเตอร์ กับเพลาหมุนของเครื่องจักรที่ไม่ได้แนวตรง แต่ทำมุมระหว่างกัน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการติดตั้งระบบไม่ดี หรือเกิดการเลื่อนตำแหน่ง เลื่อนระยะห่าง ทำมุมค่าใดค่า หนึ่ง ระหว่างกัน มีลักษณะดังแสดงในรูปที่ 1

.

.

การเชื่อมต่อที่ไม่ได้แนวแบบเชิงมุมนี้จะสร้างโมเมนต์การโก่งตัวขึ้นที่แกนหมุน และส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนขึ้นในอัตราตั้งแต่ 1 เท่า ไปจนถึง 2 เท่าของความเร็วรอบ และแรงสั่นสะเทือนจะส่งไปยังตลับลูกปืนของเพลาหมุนทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งนี้มุมที่เกิดการการเชื่อมต่อไม่ได้แนวแบบนี้อาจเป็นไปได้ทั้ง 4 แนว คือมุมเอียงซ้าย, ขวา เอียงบน หรือล่าง และถ้าแนวศูนย์กลางของเพลาทั้ง 2 ยื่นออกมากขึ้นจนเกยกัน ก็จะทำความเสียหายกับเครื่องจักรหมุนได้ในทันที

.

ส่วน การเยื้องศูนย์แนวขนาน นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อแนวศูนย์กลางของเพลาทั้ง 2 ขนานกัน แต่ไม่ได้อยู่ในแนวขนานเดียวกัน ดังแสดงในรูปที่ 2 นอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมต่อที่ไม่ดีระหว่างเพลาหมุนซึ่งมีรูปแบบทั้งไม่ได้ขนานและทำมุมเอียงต่อกัน เรียกว่าการเยื้องศูนย์แบบผสม (Combination Misalignment) ก็มีให้เห็นกันทั่วไปดังแสดงในรูปที่ 3 หากความเร็วรอบของเครื่องจักรมีการเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้ระดับการสั่นสะเทือนซึ่งเกิดการความไม่สมดุลของเพลาหมุนเพิ่มขึ้นเป็นกำลังสองเท่าของความเร็วรอบ ยกตัวอย่างเช่น หากความเร็วรอบเพิ่มขึ้น 2 เท่า จะส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นได้ถึง 4 เท่า

.

.

หากการเชื่อมต่อแกนหมุนไม่ได้แนวตรงจะส่งผลให้เครื่องจักรหมุนเกิดการสั่นสะเทือนทำให้ชิ้นส่วนทางกลหลวม และชำรุด อายุการทำงานของตลับลูกปืนสั้นลง ชิ้นส่วนซีล (Seal) รั่ว/หลวม และเป็นสาเหตุให้เครื่องจักรเสียได้ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเพลาอาจช่วยแก้ปัญหาการไม่ได้แนวที่ผิดพลาดเล็กน้อยได้บ้าง เพราะอุปกรณ์เชื่อมต่อเพลาจะช่วยชดเชยระยะผิดพลาดได้

.

อุปกรณ์เชื่อมต่อเพลา (Coupling)

มอเตอร์ขนาดใหญ่ ๆ โดยปกติจะเชื่อมต่อเพลาเพื่อขับโหลดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าคับปลิ้ง (Coupling) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ แบบอ่อน (Flexible) ซึ่งยืดหยุ่นได้ และแบบแข็ง (Rigid)

.

คับปลิ้งชนิดแข็งนั้นจะไม่ชดเชยระยะผิดเพี้ยนของเพลาที่เชื่อมต่อกันได้เลย เพราะการใช้คับปลิ้งแบบนี้ได้นั้นแกนหมุนทั้ง 2 จะต้องถูกวางตำแหน่งอย่างได้แนวและตรงกันพอดี จึงจะสามารถใส่คับปลิ้งแบบแข็งเข้าไปได้ ส่วนคับปลิ้งแบบอ่อนนั้นจะยอมให้มีระยะที่ผิดเพี้ยนได้บ้าง จึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยลดแรงสั่นสะเทือนทางกลที่ส่งหากันระหว่างชิ้นส่วนทางกลของทั้ง 2 ฝั่งด้วย

.

โดยปกติคับปลิ้งชนิดอ่อนจะใช้วัสดุประเภทพีวีซี ยาง และวัสดุซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้เกิดข้อดีอีกอย่างของคับปลิ้งแบบอ่อนที่จะไม่เป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าที่อาจรั่วไหลจากแกนหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าไปยังเครื่องจักรกลหมุนได้

.

.

อย่างไรก็ตาม มีข้อเสียบางอย่างส่งผลไม่ดีต่อการเลือกใช้คับปลิ้งแบบอ่อน เพราะคับปลิ้งแบบอ่อนจะส่งผ่าน และเพิ่มแรงบิดไปยังส่วนของตลับลูกปืนของมอเตอร์ และของเครื่องจักรหมุนได้มากกกว่า ส่งผลให้ตลับลูกปืนรับแรงกลมากขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขับโหลดหนัก ๆ หรือมีการกลับทางหมุนบ่อย ๆ ด้วยเหตุนี้เองทำให้การเลือกใช้คับปลิ้งแบบอ่อนจะต้องพิจารณาในเรื่องของระยะห่างที่ยอมรับได้ (Tolerance)

.

สำหรับการเชื่อมต่อด้วยคับปลิ้งเพื่อกำหนดระยะดังกล่าวให้พอดี ไม่เกินจากย่านที่กำหนด ทั้งนี้ความเสียหายจากการที่เกิดระยะระหว่างคับปลิ้งกับเพลามากเกินไปจะส่งผลมากขึ้นเมื่อมอเตอร์หมุนเร็ว จะทำให้ตลับลูกปืนแตก ซีลกันรั่วชำรุด เพลาหมุนติดขัด และเกิดการแตกร้าวของตัวถังเครื่องจักรตามมาได้

.

คับปลิ้งแบบอ่อน ที่ใช้กันในงานอุตสาหกรรม ได้แก่คับปลิ้ง 4 แบบด้วยกันคือ Mechanically Flexible Coupling, Elastomeric Coupling, Metallic Membrane Coupling และ Miscellaneous Coupling ทั้งนี้แต่ละชนิดมีลักษณะต่างกัน และใช้งานต่างกันดังนี้

.
  • Mechanically Coupling เป็นคับปลิ้งแบบที่ใช้ชิ้นส่วนของลูกกลิ้งหมุน หรือข่อต่อโลหะเป็นตัวเชื่อมเพลาหมุน และในการใช้งานจะต้องมีสารหล่อลื่นที่ตัวคับปลิ้งอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น คับปลิ้งแบบใช้เฟืองเกียร์ (Gear Coupling) ซึ่งเหมาะกับงานที่มีแรงบิดสูง หรือแบบกริด (Grid Coupling) ซึ่งคล้ายกับแบบเกียร์ แต่ต่างกันที่จะใช้ในงานที่มีแรงบิดน้อยกว่า นอกจากนี้ยังมีแบบที่ใช้โซ่โลหะ และ Universal Joint แบบที่ใช้ในรถยนต์ เป็นต้น
  • Elastomeric Coupling โดยทั่วไปแบบนี้จะอาศัยความยืดหยุ่นของวัสดุประเภทยาง หรือพลาสติก เป็นชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดการยืดหยุ่นในระหว่างการขับเพลาหมุน แต่การใช้งานจะต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนสูง ซึ่งเกิดจากค่าความสูญเสียของวัสดุจากผลของฮีสเตอร์รีซีส (Hysteresis) และต้องระวังเรื่องของสารเคมีที่จะทำปฏิกิริยากับยาง และพลาสติก จนทำให้คุณสมบัติของคับปลิ้งเสียไป
  • Metallic Membrane Coupling อาศัยความยืดหยุ่นจากแผ่นโลหะบาง ๆ หรือไดอะเฟรม (Diaphragms) ยกตัวอย่างเช่น คับปลิ้งแบบ Disc ซึ่งใช้แผ่นโลหะรูปทรง 6 เหลี่ยม ดังแสดงในรูปที่ 5 ทั้งนี้แบบไดอะเฟรม จะต้านทานต่อแรงบิดได้ดีกว่าแบบ disc
  • Miscellaneous Coupling เป็นแบบที่อาศัยความยืดหยุ่นจากการผสมผสานของกลไกทางกลของคับปลิ้งชนิดต่าง ๆ ที่กล่าวมา กับกลไกของสปริงแบบต่าง ๆ เช่น Spring Coupling, Spiral Spring Coupling หรือ Slider Block Coupling เป็นต้น

.

คับปลิ้งแบบอ่อน เป็นชิ้นส่วนสำคัญในระบบส่งกำลังทางกล แต่การออกแบบ และใช้งานคับปลิ้งซึ่งมีระยะยืดหยุ่น หรือระยะช่องว่างด้วยคุณสมบัติการยืดหยุ่นของคับปลิ้งแบบนี้ก็อาจสร้างปัญหาในงานได้ ในขณะที่หากเลือกใช้คับปลิ้งแบบอ่อน ได้อย่างไม่เหมาะสม เช่น ระยะช่องว่างมากเกินไป หรือการยืดหยุ่นของคับปลิ้งสูง ก็อาจเกิดผลกระทบต่อการทำงานของเพลาหมุนได้ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะมีคับปลิ้งแบบอ่อนเลือกใช้มากมายหลายชนิดตามที่ได้กล่าวมา การใช้งานคับปลิ้งแบบอ่อน ซึ่งมีความยืดหยุ่น จะเกิดลักษณะการทำงาน 3 ลักษณะดังนี้

.

  • ขับเคลื่อนได้อย่างลงตัวและพอดี เป็นลักษณะที่เกิดขึ้นจากการเลือกใช้คับปลิ้งที่มีความยืดหยุ่นเหมาะกับความเร็วรอบในการหมุนของเพลาและแกนหมุน
  • ยอมให้เกิดการเอียงของเพลาหมุนได้บ้าง สำหรับเพลาขับ และแกนหมุนที่อาจเกิดการไม่ตรงแนวระหว่างกัน หรือเพลาเอียงเล็กน้อยในขณะเริ่มหมุนที่แรงบิดสูง
  • เกิดการเคลื่อนที่ไปมาของเพลาขับ ในขณะหมุน คับปลิ้งแบบอ่อน จะช่วยรักษาการขับเคลื่อนต่อไปได้

โดยปกตินั้นหากเราสามารถใช้คับปลิ้งแบบอ่อนเพื่อส่งแรงหมุนทางกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยแก้ปัญหาการไม่ตรงแนวระหว่างกันของเพลาขับทั้ง 2 ได้ ทั้งนี้เพราะความสูญเสียทางกลที่เกิดในตัวคับปลิ้งมีค่าต่ำ และหากเลือกชนิดที่ประสิทธิภาพสูงก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มาก

.

ระยะห่างที่ยอมรับได้

ระยะห่างที่ยอมรับได้ของการไม่ได้แนวระหว่างเพลา สำหรับมอเตอร์ขนาดต่าง ๆ แสดงอยู่ในตารางที่ 1
.

ตารางที่ 1 ระยะห่างที่ยอมรับได้ของการไม่ได้แนวระหว่างเพลาสำหรับมอเตอร์

.

.

ในทางปฏิบัตินั้นเราจัดระยะและแนวของเพลา ให้ตรงได้ยาก หากไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย อย่างเช่น Dial Indicator หรือเครื่องจัดแนวตรงด้วยเลเซอร์ (Laser Alignment Tools) เครื่องดังกล่าวนี้จะช่วยจัดแนวของเพลาให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีหลักการง่าย ๆ เริ่มจากการจัดแนวของเครื่องจักรหมุนก่อน ยกตัวอย่างเช่น ปั๊มน้ำ ซึ่งมีการเชื่อมต่อระบบท่อน้ำเอาไว้เรียบร้อยแล้ว จากนั้นติดตั้งคับปลิ้งกับเพลา แล้วจึงค่อยเลื่อนและจัดแนวแกนหมุนของมอเตอร์เข้าไป

.

เมื่อทุกอย่างเชื่อมต่อกันเป็นอย่างดีแล้ว จะต้องทำการทดสอบหมุนเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำให้อุณหภูมิของเครื่องจักรทั้ง 2 อิ่มตัว แล้วจึงค่อยหยุดเดินเครื่อง และทดสอบวัดแนวเชื่อมต่อของเพลาอีกครั้ง เพื่อดูว่ามีการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ สาเหตุก็เพราะว่า เพลาโลหะที่วางเชื่อมต่อกันนั้นอาจเกิดการขยายตัว และหดตัวเมื่ออุณหภูมิของโลหะสูงขึ้น และเย็นลงตามลำดับ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นผลมาจากคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของโลหะนั่นเอง เราจึงควรทดสอบการหมุนของเครื่องจักรด้วยสภาพแวดล้อมของอุณหภูมิของการใช้งานจริงด้วย

.

ผลกระทบจากจากอุณหภูมิ และความร้อน

อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้แท่งโลหะขยายตัวได้ ด้วยอัตราที่กำหนดจากสัมประสิทธิ์เฉพาะของการขยายตัว และโดยปกติของการใช้งานอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องจักรกลหมุน จะได้รับอิทธิพลความร้อนจากสภาพแวดล้อม เช่น ความร้อนจากเตาหลอมโลหะ, ความร้อนจากหม้อต้มไอน้ำ ความร้อนที่สะสมและส่งผ่านออกจากขดลวดมอเตอร์ และความร้อนจากของเหลวที่ปั๊มน้ำสูบ/อัดอยู่ตลอดเวลา เมื่อความร้อนส่งผ่านมายังชิ้นส่วนของแกนหมุนโลหะ และคับปลิ้งโลหะ จะส่งผลให้โลหะเกิดการขยายตัวยาวขึ้นจนส่งผลกับระยะ และแนวของการเชื่อมต่อระหว่างเพลาได้ ซึ่งผลกระทบนี้เรียกว่า ผลกระทบที่เกิดจาก Thermal Growth

.

เมื่อชิ้นส่วนโลหะได้รับความร้อน จะทำให้เกิดการขยายตัว ด้วยอัตราที่กำหนดจากค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้นของโลหะชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น แท่งโลหะ เมื่อได้รับความร้อน จะยืดออกด้วยความยาวเล็กน้อย (0.0005 นิ้ว) ทั้งนี้ระยะการขยายตัวของโลหะ คำนวณได้ด้วยสมการดังนี้

.

ตารางที่ 2 สัมประสิทธิ์การขยายตัวเชิงเส้น ของโลหะชนิดต่าง ๆ

.

 .

ยกตัวอย่างเช่น มอเตอร์ตัว หนึ่ง เริ่มเดินเครื่องที่ระดับอุณหภูมิ 70°F โดยถูกต่อเพื่อขับปั๊มน้ำ ในขณะใช้งานอุณหภูมิของมอเตอร์สูงขึ้นเป็น 120°F ภายใต้สภาวะการทำงานปกติ ตัวถังของมอเตอร์ซึ่งทำจากเหล็กหล่อมีค่า C เท่ากับ 0.0000059 และระยะห่างจากฐานยึดของมอเตอร์ไปยังศูนย์กลางของเพลาวัดได้ 15 นิ้ว จะสามารถคำนวณระยะที่เปลี่ยนไปของเพลาอันเนื่องมาจากผลของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นได้ดังนี้

.

ระยะที่เพิ่มขึ้น = T x L x C 

                       = (120 °F -70 °F) x 15 นิ้ว x 0.0000059 (นิ้ว/นิ้ว.°F) = 0.0044 นิ้ว

.

จากตัวเลขที่คำนวณได้ แสดงให้เห็นว่ามอเตอร์จะขยายตัวขึ้น 0.0044 นิ้ว หรือ 4.4 Mils ทั้งนี้ถ้าการขยายตัวเกิดขึ้นที่ด้านปลายทั้ง 2 ของตัวมอเตอร์ ก็จะส่งผลให้เพลาหมุนเกิดการไม่ตรงแนวแบบขนาน (Parallel Misalignment) เป็นระยะ 4.4 mils ส่วนการเลื่อนระยะเชิงมุมจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการติดตั้งเพลาสำหรับงานนี้จึงต้องลดระยะเพลาของมอเตอร์ถอยออกจากเพลาของปั๊มด้วยระยะ 4.4 mils เพื่อชดเชยกับการขยายตัวดังกล่าว

.

ระดับการไม่ตรงแนวของเพลาหมุนที่มากเกิน 2 มิล สำหรับเครื่องจักรหมุนความเร็วรอบ 3600 rpm ในสภาวะการทำงานปกติจะสร้างแรงมากพอส่งตรงไปยังตลับลูกปืนจนทำให้เกิดการหลวม ร้าว หรือแตกหักได้ ทั้งนี้ตลับลูกปืนแบบ Ball และแบบ Roller ซึ่งมีการคำนวณอายุการใช้งานเอาไว้เรียกว่า L10 Life ของตลับลูกปืน ค่าดังกล่าวนี้จะใช้เพื่อวิเคราะห์ถึงอายุการใช้งานของตลับลูกปืนเมื่อเกิดแรงกระทำจากการหมุนไม่ตรงแนวของเพลา โดยคำนวณได้จากสมการดังนี้

.

L10 = Hours of Life = (16700/rpm) x [(Dynamic capacity x Load rating)] 

                                                                                     Force

.

สมการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นจากการวิจัยนักวิทยาศาสตร์ 2 คนคือ Lundberg และ Palmgren ในปี ค.ศ. 1940 จนถึงปี 1950 นับเวลาได้ 10 ปี ด้วยเหตุนี้เองจึงให้เครดิตกับงานวิจัยนี้ด้วยการกำหนดตัวแปร L10 โดยสรุปแล้ว สำหรับตลับลูกแบบ Ball: L10 = (C/P)3 x 106 และสำหรับตลับลูกปืนแบบ Roller จะคำนวณได้จากสมการ L10 = (C/P)10/3 x 106

.

โดย L10   แทนอายุการใช้งานของตลับลูกปืนที่ระดับความน่าเชื่อถือลดลงเหลือ 90

       C    คือพิกัดโหลดไดนามิกพื้นฐาน เป็นระดับโหลดที่คิดในการหมุน 1 ล้านรอบ ซึ่งจะหาข้อมูลได้จากแคตาลอกของตลับลูกปืน 

       P     คือโหลดสมมูลไดนามิกที่กระทำบนตลับลูกปืน

โดยสรุปจากตัวเลขการคำนวณทั่วไปแล้ว เมื่อเกิดแรงกระทำบนตลับลูกปืนมากขึ้นจะส่งผลให้อายุการใช้งานตลับลูกปืนลดลง ยกตัวอย่างเช่น หากแรงที่กระทำบนตลับลูกปืนเพิ่มขึ้น 3 เท่า จะส่งผลให้อายุการใช้งานของตลับลูกปืนลดลงถึง 27 เท่า

.

การป้องกันการเยื้องศูนย์

การเยื้องศูนย์ของเพลาหมุน สามารถป้องกัน และแก้ไขได้ด้วยการตรวจเช็คระบบเครื่องจักรเป็นระยะ ๆ ตามตารางการซ่อมบำรุง ทั้งนี้ก็ขึ้นกับประเภทของเครื่องจักรและชั่วโมงการทำงานด้วย นอกจากนี้การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะกับงาน ก็เป็นอีกวิธี หนึ่ง ที่ช่วยให้การสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นกระทบต่อการเยื้องศูนย์ลดลงได้ ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้มอเตอร์, ตลับลูกปืน, คับปลิ้ง หรือสายพาน ทั้งนี้การเลือกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอาจพิจารณาจากข้อแนะนำของผู้ผลิตอุปกรณ์ดังกล่าว

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด