เนื้อหาวันที่ : 2008-02-26 12:13:44 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 7599 views

ปัจจัยการวัดประสิทธิผลการดำเนินงาน

ปัจจุบันผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจกับการบริหารทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยเหตุนี้การประเมินผลิตภาพการดำเนินงานจึงเป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจ เนื่องจากผลิตภาพไม่เพียงแค่บ่งชี้ถึงประสิทธิผลทางการเงินแต่ยังได้แสดงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยทั่วไปแนวคิดการวัดผลิตภาพตามมุมมองทางเศรษฐศาสตร์แสดงด้วยสัดส่วนผลิตผลจากกระบวนการเทียบกับปัจจัยนำเข้า

ปัจจุบันผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจกับการบริหารทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำหรับแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยเหตุนี้การประเมินผลิตภาพการดำเนินงานจึงเป็นประเด็น หนึ่ง ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจ เนื่องจากผลิตภาพไม่เพียงแค่บ่งชี้ถึงประสิทธิผลทางการเงินแต่ยังได้แสดงถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยทั่วไปแนวคิดการวัดผลิตภาพตามมุมมองทางเศรษฐศาสตร์แสดงด้วยสัดส่วนผลิตผลจากกระบวนการเทียบกับปัจจัยนำเข้า (Input) โดยเฉพาะประสิทธิภาพจากอัตราการใช้เครื่องจักร (Machine Utilization) และประสิทธิผลหรือความสามารถบรรลุผลได้ตามเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้การประเมินผลิตภาพการดำเนินงานจึงมุ่งวัดผลิตผล (Output) แล้วจึงพิจารณาปัจจัยสร้างมูลค่าเพิ่มประกอบด้วย วัตถุดิบ แรงงาน และปัจจัยสนับสนุนการผลิต เช่น จำนวนชั่วโมงการทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์จับยึด เป็นต้น

.

สำหรับมาตรวัดปัจจัยนำเข้าได้มุ่งประเมินวัดผลจากปัจจัยต้นทุน ประกอบด้วย

  • แรงงาน (Labor) ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายฝึกอบรม ค่าล่วงเวลา สวัสดิการและค่าตอบแทน 
  • ต้นทุนค่าวัสดุ (Material) ประกอบด้วยต้นทุนการจัดหาจัดซื้อ ชิ้นส่วน อะไหล่
  • การว่าจ้างตามสัญญา (Contracts) ประเมินจากค่าใช้จ่ายการว่าจ้างผู้รับจ้างภายนอก (Contractor) เช่น การดูแลบำรุงรักษาและงานตรวจซ่อมใหญ่ (Overhaul) เป็นต้น โดยสัญญาว่าจ้างได้ครอบคลุมเฉพาะส่วนงานที่รับผิดชอบเป็นครั้งคราวหรืออาจดำเนินการจ้างเป็นพนักงานด้วยสัญญาจ้างงานตามโครงการ
  • ค่าเช่าอุปกรณ์ (Equipment Rentals) เป็นค่าเช่าอุปกรณ์สำหรับการขนถ่าย เช่น เครน,Forklift เป็นต้น
  • ค่าใช้จ่ายสำหรับงานบำรุงรักษา (Maintenance Overhead) โดยทั่วไปประเมินจากค่าใช้จ่ายบุคลากรบำรุงรักษา ประกอบด้วย วิศวกรฝ่ายวางแผน  และบุคลากรส่วนงานสนับสนุน 

 

 .

รูปที่ 2 การเชื่อมโยงระบบจัดการข้อมูลต้นทุน

 .

ตัวอย่าง การวัดปัจจัยนำเข้ากับผลิตผลตามประเภทธุรกิจ

 .

.

โดยทั่วไปผู้ประกอบการทุกรายได้มุ่งเป้าหมายด้วยการสร้างผลกำไรสูงสุด ดังคำกล่าว "The goal of a firm is to make profit" ดังนั้นการวัดผลประกอบการจึงจำแนกได้เป็น

.
                 1.      การวัดผลทางการเงิน (Financial Measurements) แสดงผลประกอบการโดยรวมขององค์กรจากรอบการดำเนินงานที่ผ่านมา ประกอบด้วย
  • กำไรสุทธิ (Net Profit) โดยวัดผลจากกำไรหลังหักต้นทุนค่าใช้จ่าย
  • ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) หรือ ROI โดยวัดผลตอบแทนที่ได้รับเทียบกับเงินที่ได้ลงทุน เช่น หากธุรกิจสร้างผลกำไร 10 ล้านบาท ซึ่งได้ลงทุน 100 ล้านบาท แสดงว่ากิจการได้รับผลตอบแทน 10% จากการลงทุน 
  •  กระแสเงินสด (Cash flow) เป็นเงินสดที่ใช้สำหรับดำเนินงานประจำวันเพื่อให้เกิดสภาพคล่องซึ่งเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ แม้ว่าธุรกิจจะมีผลกำไรและผลตอบแทนสูงก็ตาม แต่หากขาดกระแสเงินสดก็อาจก่อให้เกิดภาวะล้มละลายได้
.

ปัจจุบันการใช้ตัวชี้วัดทางการเงินเป็นการมองผลกำไรระยะสั้น (Short-term Profitability) ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการวัดผลที่แท้จริง ดังนั้นจึงควรพิจารณาตัวชี้วัดทาง Non-financials เช่น ระยะทางเคลื่อนย้าย พื้นที่การจัดเก็บ ความซับซ้อนผลิตภัณฑ์และความเบี่ยงเบนทางคุณภาพ

.

ตัวอย่าง มาตรวัดทาง Non-financials

.

2.      การวัดผลการดำเนินงาน (Operational Measurements) โดยผลลัพธ์จากการวัดผลได้ถูกใช้สนับสนุนฝ่ายบริหารสำหรับระบุแผนปฏิบัติงานอนาคต ซึ่งประกอบด้วย

.

 .

·      รายได้หรือผลกำไรจากการขายสินค้า (Throughput) ตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของ Porter ได้กล่าวถึงส่วนต่างระหว่างรายได้กับต้นทุนหรือผลกำไร (Profit Margin) ที่เกิดจากผลการดำเนินงานได้ขึ้นกับความสามารถบริหารกิจกรรมห่วงโซ่คุณค่าให้มีความเชื่อมโยงระหว่างกันหรืออาจกล่าวได้ว่าผลตอบแทนจากการดำเนินงานขององค์กร โดยคิดจากกำไรขั้นต้น คือ ราคาขายค่าวัตถุดิบ สำหรับค่าแรงงานได้ถูกจำแนกไว้ในส่วนต้นทุนดำเนินงาน

·      สินค้าคงคลัง (Inventory) คือ เงินทุนที่ถูกใช้เพื่อลงทุนในกิจกรรมการผลิตแต่ยังไม่เกิดการสร้างรายได้จากการขายซึ่งแสดงด้วยสินค้าสำเร็จรูปหรืองานระหว่างผลิต (Work-in-process) และสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น เครื่องจักร โรงงาน ที่ดิน และอาคาร

·      ต้นทุนดำเนินงาน (Operating Expenses) คือ เงินทุนที่ถูกใช้สำหรับแปรสภาพสินค้าคงคลังให้เป็น Throughput ประกอบด้วย ค่าแรงงานทางตรงและทางอ้อม ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าบริหารจัดการ ค่าน้ำ  ค่าไฟฟ้า และค่าโสหุ้ยการผลิต

.

.

ดังนั้นหากต้องการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจจะต้องทำการเพิ่ม Throughput ในขณะเดียวกันก็ทำการลดสินค้าคงคลังและต้นทุนดำเนินงานลง ด้วยเหตุนี้ Throughput จึงเป็นมาตรวัดผลการดำเนินงาน (Operational Metrics) ซึ่งแสดงด้วยอัตราส่วน ดังนี้

.

1.       ผลิตผลหรือผลตอบแทนเทียบกับต้นทุนดำเนินงาน (T/OE) เป็นการวัดผลิตภาพโดยรวม (Total Productivity) โดยแสดงผลตอบแทนทางการเงินที่ได้รับจากต้นทุนดำเนินงาน หากผลลัพธ์แสดงด้วยอัตราส่วนที่สูงและเกิดต้นทุนดำเนินงานต่ำ นั่นหมายถึง เกิดผลกำไรขั้นต้นสูงและเกิดความสูญเปล่าจากการดำเนินงานต่ำ

.

2.       ผลิตผลหรือผลตอบแทนเทียบกับสินค้าคงคลัง (T/I) แสดงด้วยความเร็วการหมุนรอบสินค้าคงคลัง นั่นคือ อัตราส่วน T/I ได้ใช้วัดประสิทธิผลการแปลงระดับสินค้าคงคลังให้เกิดเป็นผลตอบแทนและหากอัตราส่วนดังกล่าวสูงขึ้น นั่นคือ ผลิตภัณฑ์ได้มีความรวดเร็วในการเข้าสู่ตลาดหรือสามารถตอบสนองต่อตลาดได้รวดเร็วด้วยช่วงเวลานำการผลิตที่สั้น

.

รูปที่ 5 องค์ประกอบสำหรับวัดผลตอบแทน

.

ปัจจุบันองค์กรชั้นนำหลายแห่งได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการวัดผลด้วย Throughput แทนอัตราการใช้ทรัพยากร (Utilization) และแนวคิดประสิทธิภาพ (Efficiency Concept) โดย Dr.Eliyahu M.Goldratt ได้เสนอแนวทางวัดผลแบบ Dollar-days นั่นคือ Inventory Dollar-days และ Throughput Dollar-days ซึ่งใช้วัดมูลค่าสินค้าคงคลังและระยะเวลาที่ถูกจัดเก็บ ดังนั้นการวัดผลจึงแสดงด้วยผลคูณมูลค่าสินค้าคงคลังกับจำนวนวันที่ถูกจัดเก็บ เช่น แผนก A มีมูลค่าสินค้าคงคลังเฉลี่ย 2 ล้านบาท โดยมีช่วงเวลาจัดเก็บในคลังสินค้าเฉลี่ย 5 วัน ตามหลักการของ Dollar-days แผนก A ได้มีต้นทุนการจัดเก็บ 10 ล้าน (Dollar Days) ตัวเลขนี้เรายังไม่สามารถบอกได้ว่ามีค่าสูงหรือต่ำ แต่ผู้บริหารควรประเมินระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ (Acceptable Level) สำหรับเป้าหมายผู้ประกอบการทั่วไปต้องการสร้างผลกำไรสุทธิด้วยการลด Dollar-days เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนและกระแสเงินสด

.

.

หากพิจารณาการวัดผลตามมุมมองทางการเงินจะพบว่า การประหยัดต้นทุนดำเนินงานจะส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิ (Net Profit) และผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) หรือ ROA เหมือนกัน แต่การวัดผลระหว่าง T, I และ OE ได้มีมุมมองแตกต่างกัน นั่นคือ ค่า Throughput ได้มีผลกับความเปลี่ยนแปลงกำไรสุทธิและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ซึ่งมีความไว (Sensitivity) สูงกว่าความเปลี่ยนแปลงปัจจัยต้นทุนดำเนินงานและสินค้าคงคลังหรือระดับการลงทุน ดังนั้นการวัดผลการดำเนินงานจึงใช้ตัววัดผลหลัก ประกอบด้วย

.

รูปที่ 6 การเชื่อมโยงปัจจัยประเมินสมรรถนะโดยรวม

.

กำไรสุทธิ (Net Profit)                      = Throughput - Operating Expense

ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI)      = (Throughput - Operating Expense)/Inventory

ผลิตภาพ (Productivity)                 = Throughput/Operating Expense

อัตราการหมุน (Turnover)           = Throughput/Inventory

.

จากความสัมพันธ์ระหว่างตัววัดผลประกอบการได้แสดงว่าหากต้องการบรรลุเป้าหมายจะต้องดำเนินการเพิ่ม Throughput ด้วยการลดระดับสินค้าคงคลังและต้นทุนดำเนินงาน หากเกิดการปรับเปลี่ยนมาตรวัดด้วย Throughput Inventory และ Operating Expense ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงกับมาตรวัดผลทางการเงิน นั่นคือ ผลกำไรสุทธิและผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Assets) แสดงด้วยความสัมพันธ์ดังนี้

                Net Profit = (Throughput - Operating Expense) 

                ROA = (Throughput - Operating Expense) / Investment

.

ดังนั้นมาตรวัดสำคัญที่สุด ประกอบด้วย T/OE = Throughput ratio และ T/I = Throughput Return on Capital Employed โดยอัตราส่วนนี้ได้มีความสัมพันธ์กับอัตราหมุนสินทรัพย์ (Asset Turnover) นั่นหมายถึง Throughput เหมาะสำหรับการวัดผลมากกว่ายอดขาย เนื่องจาก Throughput คือ ปัจจัยสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเงิน หรืออาจกล่าวว่า “Throughput is the financial value-added portion of sales" นั่นเอง 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด